กรมควบคุมโรค ชี้แจง “เชื้อไวรัสไอโอวา” ไม่รุนแรงเท่าหวัด 2009 ย้ำชัด ลักษณะอาการคล้ายหวัดใหญ่ทั่วไป แนะประชาชนดูแลสุขภาพ
วานนี้ (14 ธ.ค.) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์โรคไข้หวัดไอโอวา 2011 ในสหรัฐอเมริกา ที่พบผู้ป่วย 18 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต ว่า จากการติดตามข้อมูลพบว่า ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อดังกล่าว ปรากฏว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ที่มีการพัฒนาและผสมพันธุ์ออกมาจาก 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สารพันธุกรรมจากไวรัสที่เกิดในหมู ไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดใหญ่ H3N2 ซึ่งจากการสืบประวัติพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับหมู มีเพียงผู้ป่วยรายหลัง 3 รายที่ไม่มีประวัติ อย่างไรก็ตาม สำหรับความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ไอโอวา 2011 ไม่ได้แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังรุนแรงกว่า ดังนั้น จึงไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกเพราะมีการรักษาคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
“หากถามว่ามีโอกาสมาถึงประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นไปได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องควบคุมให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบัน คร.มีระบบการเฝ้าระวังที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ในแถบภูมิภาคนี้ รวมทั้งยังได้คณะทำงานยุทธศาสตร์และวิชาการเพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในการดูแลเรื่องนี้” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
ขณะที่นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อไอโอวา 2011 ไม่ได้รุนแรง ขณะที่เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความรุนแรงกว่า โดยข้อมูลผู้ป่วยในปี 2009 พบราว 120,000 ราย ปี 2010 พบ 110,000 ราย และปี 2011 พบผู้ป่วย 50,000 ราย โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต 313 ราย ดังนั้น ในปีหน้ายังต้องเฝ้าระวังโรคนี้ รวมไปถึงไข้หวัดใหญ่ทั่วไป โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคม ประชาชนจะมีการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ ทั้งการไปเที่ยวพักผ่อน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะมีการรวมตัวกัน ตรงนี้อาจติดเชื้อหวัดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญทุกคนต้องดูแลตัวเอง หากเริ่มป่วยต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
วานนี้ (14 ธ.ค.) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์โรคไข้หวัดไอโอวา 2011 ในสหรัฐอเมริกา ที่พบผู้ป่วย 18 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต ว่า จากการติดตามข้อมูลพบว่า ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อดังกล่าว ปรากฏว่า เป็นไข้หวัดใหญ่ที่มีการพัฒนาและผสมพันธุ์ออกมาจาก 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สารพันธุกรรมจากไวรัสที่เกิดในหมู ไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้หวัดใหญ่ H3N2 ซึ่งจากการสืบประวัติพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสกับหมู มีเพียงผู้ป่วยรายหลัง 3 รายที่ไม่มีประวัติ อย่างไรก็ตาม สำหรับความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ไอโอวา 2011 ไม่ได้แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังรุนแรงกว่า ดังนั้น จึงไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกเพราะมีการรักษาคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
“หากถามว่ามีโอกาสมาถึงประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นไปได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องควบคุมให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบัน คร.มีระบบการเฝ้าระวังที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ในแถบภูมิภาคนี้ รวมทั้งยังได้คณะทำงานยุทธศาสตร์และวิชาการเพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในการดูแลเรื่องนี้” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
ขณะที่นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เชื้อไอโอวา 2011 ไม่ได้รุนแรง ขณะที่เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความรุนแรงกว่า โดยข้อมูลผู้ป่วยในปี 2009 พบราว 120,000 ราย ปี 2010 พบ 110,000 ราย และปี 2011 พบผู้ป่วย 50,000 ราย โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิต 313 ราย ดังนั้น ในปีหน้ายังต้องเฝ้าระวังโรคนี้ รวมไปถึงไข้หวัดใหญ่ทั่วไป โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคม ประชาชนจะมีการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ ทั้งการไปเที่ยวพักผ่อน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะมีการรวมตัวกัน ตรงนี้อาจติดเชื้อหวัดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญทุกคนต้องดูแลตัวเอง หากเริ่มป่วยต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา