กสร.เผย แรงงานกลับเข้าทำงานแล้ว 3.1 แสนคน ถูกเลิกจ้าง 9.5 พันคน ขณะที่รัฐบาลทบทวนเกณฑ์จ่ายเงินบรรเทาเลิกจ้าง อาจเปลี่ยนมาจ่ายให้ลูกจ้างแทน คาด ได้ข้อยุติสัปดาห์นี้
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงปัญหาแรงงานประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง ว่า ก่อนหน้านี้ มีแรงงานใน 32 จังหวัด จำนวนกว่า 1 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งนี้ ข้อมูลของ กสร.ณ วันที่ 28 พ.ย.มีสถานประกอบการใน 13 จังหวัดประสบภัยน้ำท่วม 14,981 แห่ง แรงงานได้รับผลกระทบ 676,127 คน แรงงานถูกเลิกจ้าง 9,572 คน และมีสถานประกอบการเปิดกิจการแล้ว 13,647 แห่ง และแรงงานกลับเข้าทำงานแล้ว 317,802 คน ทำให้มีแรงงานได้รับผลกระทบลดลงเหลือกว่า 7 แสนคน
ทั้งนี้ กสร.กำลังรวบรวมข้อมูลของนายจ้างและลูกจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วมผ่านเว็บไซต์ที่ www.labour.go.th ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ย.มีนายจ้างในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามาลงทะเบียน 104 ราย และลูกจ้าง 2,836 ราย ซึ่ง กสร.จะประสานงานให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกัน เพื่อให้ได้ข้อยุติ ว่า ลูกจ้างต้องการทำงานและจะมีการจ้างงานต่อไปหรือไม่ หากมีการเลิกจ้างก็ขอให้มีการจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด หากนายจ้างไม่จ่ายเงินชดเชย ทาง กสร.ก็มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างช่วยเหลือ และกระทรวงแรงงานได้จัดหาตำแหน่งงานว่างไว้รองรับกว่า 1 แสนอัตรา
นายปกรณ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้ช่วยจ่ายเงินค่าจ้างแทนนายจ้างรายละ 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณรองรับก้อนแรก 606 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายแรงงาน 1 แสนคน ขณะนี้มีสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมากทำให้ยอดแรงงานกลุ่มเป้าหมายเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.1 แสนคน
ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มเติมอีกกว่า 1.2 พันล้านบาท มีกลุ่มเป้าหมายแรงงาน 2 แสนคน ทำให้ภาพรวมกลุ่มเป้าหมายแรงงานเพิ่มเป็น 3 แสนคน และงบรองรับกว่า 1.8 พันล้านบาท นอกจากนี้ กสร.ยังมีโครงการเพื่อนช่วยเหลือที่ให้แรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมไปทำงานในพื้นที่อื่นชั่วคราว 2-3 เดือน ตอนนี้มีสถานประกอบการใน 46 จังหวัด เข้าร่วม 592 แห่ง ต้องการลูกจ้างเข้าทำงาน 70,784 คน และมีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการ 11,069 คนในสถานประกอบการ 89 แห่ง
“ขณะนี้รัฐบาลกำลังทบทวนเกณฑ์การจ่ายเงินบรรเทาเลิกจ้าง จากเดิมที่จะจ่ายให้แก่นายจ้าง อาจจะเปลี่ยนเป็นจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยตรงคาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้ คาดว่า หลังน้ำลด แรงงานที่ถูกเลิกจ้างจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานประกอบการต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูกิจการนานกว่า 6 เดือน และต้องจัดซื้อเครื่องจักรใหม่ แต่ก็มีตำแหน่งงานรองรับ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกต้องการแรงงานกว่า 1 แสนคน หากแรงงานยอมย้ายถิ่นฐาน ก็จะมีงานทำ” รองอธิบดี กสร.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ บริษัท ฟูจิ ชินเซจิ (ประเทศไทย) ในนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี ซึ่งผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์ได้ประกาศจะเลิกจ้างพนักงานประมาณ 300 คน โดยจะจ่ายเงินชดเชยและเงินสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงาน
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงปัญหาแรงงานประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้าง ว่า ก่อนหน้านี้ มีแรงงานใน 32 จังหวัด จำนวนกว่า 1 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งนี้ ข้อมูลของ กสร.ณ วันที่ 28 พ.ย.มีสถานประกอบการใน 13 จังหวัดประสบภัยน้ำท่วม 14,981 แห่ง แรงงานได้รับผลกระทบ 676,127 คน แรงงานถูกเลิกจ้าง 9,572 คน และมีสถานประกอบการเปิดกิจการแล้ว 13,647 แห่ง และแรงงานกลับเข้าทำงานแล้ว 317,802 คน ทำให้มีแรงงานได้รับผลกระทบลดลงเหลือกว่า 7 แสนคน
ทั้งนี้ กสร.กำลังรวบรวมข้อมูลของนายจ้างและลูกจ้างที่ประสบภัยน้ำท่วมผ่านเว็บไซต์ที่ www.labour.go.th ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 28 พ.ย.มีนายจ้างในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เข้ามาลงทะเบียน 104 ราย และลูกจ้าง 2,836 ราย ซึ่ง กสร.จะประสานงานให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกัน เพื่อให้ได้ข้อยุติ ว่า ลูกจ้างต้องการทำงานและจะมีการจ้างงานต่อไปหรือไม่ หากมีการเลิกจ้างก็ขอให้มีการจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด หากนายจ้างไม่จ่ายเงินชดเชย ทาง กสร.ก็มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างช่วยเหลือ และกระทรวงแรงงานได้จัดหาตำแหน่งงานว่างไว้รองรับกว่า 1 แสนอัตรา
นายปกรณ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างนั้น รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้ช่วยจ่ายเงินค่าจ้างแทนนายจ้างรายละ 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณรองรับก้อนแรก 606 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายแรงงาน 1 แสนคน ขณะนี้มีสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมากทำให้ยอดแรงงานกลุ่มเป้าหมายเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.1 แสนคน
ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มเติมอีกกว่า 1.2 พันล้านบาท มีกลุ่มเป้าหมายแรงงาน 2 แสนคน ทำให้ภาพรวมกลุ่มเป้าหมายแรงงานเพิ่มเป็น 3 แสนคน และงบรองรับกว่า 1.8 พันล้านบาท นอกจากนี้ กสร.ยังมีโครงการเพื่อนช่วยเหลือที่ให้แรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมไปทำงานในพื้นที่อื่นชั่วคราว 2-3 เดือน ตอนนี้มีสถานประกอบการใน 46 จังหวัด เข้าร่วม 592 แห่ง ต้องการลูกจ้างเข้าทำงาน 70,784 คน และมีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการ 11,069 คนในสถานประกอบการ 89 แห่ง
“ขณะนี้รัฐบาลกำลังทบทวนเกณฑ์การจ่ายเงินบรรเทาเลิกจ้าง จากเดิมที่จะจ่ายให้แก่นายจ้าง อาจจะเปลี่ยนเป็นจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยตรงคาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้ คาดว่า หลังน้ำลด แรงงานที่ถูกเลิกจ้างจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานประกอบการต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูกิจการนานกว่า 6 เดือน และต้องจัดซื้อเครื่องจักรใหม่ แต่ก็มีตำแหน่งงานรองรับ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกต้องการแรงงานกว่า 1 แสนคน หากแรงงานยอมย้ายถิ่นฐาน ก็จะมีงานทำ” รองอธิบดี กสร.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ บริษัท ฟูจิ ชินเซจิ (ประเทศไทย) ในนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี ซึ่งผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์ได้ประกาศจะเลิกจ้างพนักงานประมาณ 300 คน โดยจะจ่ายเงินชดเชยและเงินสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงาน