ก.แรงงานลุ้น ครม.เคาะงบกว่า 1.2 พันล้าน ขยายโครงการบรรเทาเลิกจ้าง 2 แสนคน แนะลูกจ้างถอยคนละก้าว หลังโอดเงินบรรเทาเลิกจ้าง 2 พันบาทไม่ถึงมือลูกจ้าง ขณะที่แรงงานน้ำท่วมกลับภูมิลำเนาในภาคอีสานหันไปรับจ้างเกี่ยวข้าวได้วันละ 300-350 บาท
วันนี้ (25 พ.ย.) น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมว่า ก่อนหน้านี้ได้มีข้อเสนอจากภาคเอกชน ขอให้รัฐช่วยจ่ายค่าจ้าง 50% เป็นเวลา 3 เดือนแต่รัฐบาลไม่สามารถทำตามข้อเสนอนี้ได้ เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการบรรเทาการเลิกจ้างโดยช่วยจ่ายค่าจ้างแทนนายจ้างให้แก่แรงงานคนละ 2 พันบาท เป็นเวลา 3 เดือน แต่สถานประกอบการต้องลงนามความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานว่าจะรักษาสภาพการจ้างงานและจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง
ทั้งนี้ หลังจากเปิดโครงการได้มีสถานประกอบการในจังหวัดต่างๆสมัครเข้าร่วม 198 แห่ง ลูกจ้าง 132,022 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งดูแลลูกจ้าง 1 แสนคน และใช้งบ 606 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงเสนอรัฐบาลขอเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในโครงการอีก 2 แสนคน วงเงิน 1,212 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฟื้นฟูช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิตที่มีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“ส่วนกรณีกลุ่มแรงงานมองว่าเงิน 2 พันบาทที่ช่วยบรรเทาการเลิกจ้างเป็นการช่วยนายจ้างและไม่ได้ถึงมือลูกจ้างนั้น ขณะนี้สถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมนั้นสินค้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เสียหาย ทำให้ต้องกู้เงินมาฟื้นฟูกิจการ ขณะที่เงินประกันภัยก็คงไม่ได้มาในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อสถานประกอบการจ่ายค่าจ้าง 75% เพื่อรักษาลูกจ้างไว้ ก็ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ จึงอยากให้ถอยคนละก้าวเพราะเมื่อนายจ้างอยู่ไม่ได้ ปัญหาเลิกจ้างก็จะตามมาซึ่งคนที่เดือดร้อนก็คือลูกจ้าง ” โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าว
น.ส.ส่งศรี กล่าวด้วยว่า จากการที่ตนลงพื้นที่และพูดคุยกับนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) พบว่า แรงงานที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมเดินทางกลับภูมิลำเนาในภาคอีสาน เช่น จ.ขอนแก่น จ.อุบลราชธานี และไปเกี่ยวข้าวมีรายได้วันละ 300-350 บาท ซึ่งได้ค่าจ้างมากกว่าทำงานโรงงานที่ได้วันละกว่า 160 บาท เนื่องจากตอนนี้เป็นหน้าเกี่ยวข้าวต่อเนื่องไปจนถึงเดือน ม.ค.ปีหน้า ส่วนแรงงานที่เกี่ยวข้าวไม่เป็น ก็ไปทำงานโรงงานในพื้นที่เพื่อให้มีรายได้ เชื่อว่าเมื่อสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมเปิดกิจการ แรงงานกลุ่มนี้จะกลับเข้าทำงานตามเดิม
วันนี้ (25 พ.ย.) น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมว่า ก่อนหน้านี้ได้มีข้อเสนอจากภาคเอกชน ขอให้รัฐช่วยจ่ายค่าจ้าง 50% เป็นเวลา 3 เดือนแต่รัฐบาลไม่สามารถทำตามข้อเสนอนี้ได้ เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการบรรเทาการเลิกจ้างโดยช่วยจ่ายค่าจ้างแทนนายจ้างให้แก่แรงงานคนละ 2 พันบาท เป็นเวลา 3 เดือน แต่สถานประกอบการต้องลงนามความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานว่าจะรักษาสภาพการจ้างงานและจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง
ทั้งนี้ หลังจากเปิดโครงการได้มีสถานประกอบการในจังหวัดต่างๆสมัครเข้าร่วม 198 แห่ง ลูกจ้าง 132,022 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งดูแลลูกจ้าง 1 แสนคน และใช้งบ 606 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงเสนอรัฐบาลขอเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในโครงการอีก 2 แสนคน วงเงิน 1,212 ล้านบาท ซึ่งเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมาก็ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฟื้นฟูช่วยเหลือเยียวยาด้านคุณภาพชีวิตที่มีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
“ส่วนกรณีกลุ่มแรงงานมองว่าเงิน 2 พันบาทที่ช่วยบรรเทาการเลิกจ้างเป็นการช่วยนายจ้างและไม่ได้ถึงมือลูกจ้างนั้น ขณะนี้สถานประกอบการที่ถูกน้ำท่วมนั้นสินค้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เสียหาย ทำให้ต้องกู้เงินมาฟื้นฟูกิจการ ขณะที่เงินประกันภัยก็คงไม่ได้มาในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อสถานประกอบการจ่ายค่าจ้าง 75% เพื่อรักษาลูกจ้างไว้ ก็ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ จึงอยากให้ถอยคนละก้าวเพราะเมื่อนายจ้างอยู่ไม่ได้ ปัญหาเลิกจ้างก็จะตามมาซึ่งคนที่เดือดร้อนก็คือลูกจ้าง ” โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าว
น.ส.ส่งศรี กล่าวด้วยว่า จากการที่ตนลงพื้นที่และพูดคุยกับนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) พบว่า แรงงานที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมเดินทางกลับภูมิลำเนาในภาคอีสาน เช่น จ.ขอนแก่น จ.อุบลราชธานี และไปเกี่ยวข้าวมีรายได้วันละ 300-350 บาท ซึ่งได้ค่าจ้างมากกว่าทำงานโรงงานที่ได้วันละกว่า 160 บาท เนื่องจากตอนนี้เป็นหน้าเกี่ยวข้าวต่อเนื่องไปจนถึงเดือน ม.ค.ปีหน้า ส่วนแรงงานที่เกี่ยวข้าวไม่เป็น ก็ไปทำงานโรงงานในพื้นที่เพื่อให้มีรายได้ เชื่อว่าเมื่อสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมเปิดกิจการ แรงงานกลุ่มนี้จะกลับเข้าทำงานตามเดิม