กรมควบคุมโรค พบยุงรำคาญมากสุด พาหะนำเชื้อไข้สมองอักเสบ แต่ยืนยันไม่พบการระบาด มีวัคซีนป้องกันอยู่แล้ว ขณะที่ช่วงน้ำท่วมห่วงยุงลาย ก่อไข้เลือดออก พบผู้ป่วยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันรวม 6 หมื่น
นพ.วิชัย สติมัย ผอ.สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับยุงที่พบในประเทศไทยนั้นมี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.ยุงรำคาญ ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากยุงชนิดนี้จะบินไกลถึง 1-2 กิโลเมตร ซึ่งสามารถจำแนกยุงรำคาญที่มักพบในไทยได้ 3 ชนิด คือ 1.ยุงรำคาญ (Culex gelidus) มักพบตามท่อน้ำ ชอบบินข้างหู กัดเจ็บ แต่ไม่นำโรค แม้ในบางประเทศเคยมีรายงานการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดดังกล่าวกัด แต่ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดนี้กัด 2.ยุงรำคาญ (Culex quiquefasciatus) เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง แต่พบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 1 และ 3.ยุงรำคาญ (Culex Tritaeniorhynchus) ซึ่งพบว่ายุงชนิดนี้เป็นพาหะนำเชื้อไข้สมองอักเสบ เจอี แต่เนื่องจากประเทศไทยมีมาตรการในการให้วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบชนิดนี้อยู่แล้ว จึงไม่พบการระบาดของโรคนี้ โดยยุงชนิดนี้มักพบตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ม้า เป็นต้น
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า 2.ยุงลาย พบประมาณ 10% ซึ่งลูกน้ำยุงลายสามารถเติบโตได้ในแหล่งน้ำนิ่ง และเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แต่ธรรมชาติของยุงลายจะบินไม่ไกล ประมาณ 100-200 ม.ดังนั้น จึงไม่ควรมีแหล่งน้ำขังอยู่ภายในบ้าน หากเลี่ยงไม่ได้ควรที่จะหาทางลดการสัมผัสกับยุงโดยการจุดยากันยุง นอนกางมุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันยังเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยต้องไปพักที่ศูนย์พักพิงจำนวนมาก ทำให้อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ ทางกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงมีการเฝ้าระวังตามศูนย์พักพิงต่างๆ ซึ่งขณะนี้พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้น แต่ยังอยู่ในจำนวนที่น้อย ซึ่งยังไม่ถือเป็นนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ทางสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงยังต้องจำเป็นแนะนำวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามศูนย์พักพิงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับยุงชนิดที่ 3 และ 4 คือ ยุงเสือ และยุงก้นป่อง โดยทั้งสองชนิดรวมกันมีรายงานการพบไม่10 % ซึ่งในส่วนของยุงเสือ จะพบตามผักตบชวา ซึ่งเป็นพาหะทำให้เกิดโรคเท้าช้าง ขณะที่ยุงก้นป่อง มีรายงานว่าพบตามแหล่งน้ำทิ้งบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดการระบากของโรคมาลาเรีย เพราะการระบาดของโรคนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อยุงก้นป่องไปกัดคนที่เป็นมาลาเรียแล้วไปกัดคนอื่นต่อเท่านั้น
"สำหรับตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึงปัจจุบันพบ 64,000 ราย เสียชีวิต 56 ราย ขณะที่ปี 2553 พบผู้ป่วย 100,000 ราย เสียชีวิต 100 ราย ซึ่งไม่แตกต่างหรือน่ากังวลนัก” นพ.วิชัย กล่าว ว่าราย เสียชีวิตแล้ว 56 ราย
นพ.วิชัย สติมัย ผอ.สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับยุงที่พบในประเทศไทยนั้นมี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1.ยุงรำคาญ ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากยุงชนิดนี้จะบินไกลถึง 1-2 กิโลเมตร ซึ่งสามารถจำแนกยุงรำคาญที่มักพบในไทยได้ 3 ชนิด คือ 1.ยุงรำคาญ (Culex gelidus) มักพบตามท่อน้ำ ชอบบินข้างหู กัดเจ็บ แต่ไม่นำโรค แม้ในบางประเทศเคยมีรายงานการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดดังกล่าวกัด แต่ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้สมองอักเสบจากการโดนยุงชนิดนี้กัด 2.ยุงรำคาญ (Culex quiquefasciatus) เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง แต่พบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 1 และ 3.ยุงรำคาญ (Culex Tritaeniorhynchus) ซึ่งพบว่ายุงชนิดนี้เป็นพาหะนำเชื้อไข้สมองอักเสบ เจอี แต่เนื่องจากประเทศไทยมีมาตรการในการให้วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบชนิดนี้อยู่แล้ว จึงไม่พบการระบาดของโรคนี้ โดยยุงชนิดนี้มักพบตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ม้า เป็นต้น
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า 2.ยุงลาย พบประมาณ 10% ซึ่งลูกน้ำยุงลายสามารถเติบโตได้ในแหล่งน้ำนิ่ง และเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แต่ธรรมชาติของยุงลายจะบินไม่ไกล ประมาณ 100-200 ม.ดังนั้น จึงไม่ควรมีแหล่งน้ำขังอยู่ภายในบ้าน หากเลี่ยงไม่ได้ควรที่จะหาทางลดการสัมผัสกับยุงโดยการจุดยากันยุง นอนกางมุ้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันยังเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยต้องไปพักที่ศูนย์พักพิงจำนวนมาก ทำให้อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ ทางกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงมีการเฝ้าระวังตามศูนย์พักพิงต่างๆ ซึ่งขณะนี้พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้น แต่ยังอยู่ในจำนวนที่น้อย ซึ่งยังไม่ถือเป็นนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ทางสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงยังต้องจำเป็นแนะนำวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามศูนย์พักพิงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับยุงชนิดที่ 3 และ 4 คือ ยุงเสือ และยุงก้นป่อง โดยทั้งสองชนิดรวมกันมีรายงานการพบไม่10 % ซึ่งในส่วนของยุงเสือ จะพบตามผักตบชวา ซึ่งเป็นพาหะทำให้เกิดโรคเท้าช้าง ขณะที่ยุงก้นป่อง มีรายงานว่าพบตามแหล่งน้ำทิ้งบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดการระบากของโรคมาลาเรีย เพราะการระบาดของโรคนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อยุงก้นป่องไปกัดคนที่เป็นมาลาเรียแล้วไปกัดคนอื่นต่อเท่านั้น
"สำหรับตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึงปัจจุบันพบ 64,000 ราย เสียชีวิต 56 ราย ขณะที่ปี 2553 พบผู้ป่วย 100,000 ราย เสียชีวิต 100 ราย ซึ่งไม่แตกต่างหรือน่ากังวลนัก” นพ.วิชัย กล่าว ว่าราย เสียชีวิตแล้ว 56 ราย