นายแพทย์คำรณ ไชยศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 14 ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่ จ.สุรินทร์ ว่า การระบาดของโรคไข้เลือกออกในภาพรวมของประเทศไทย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 37,728 คน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 27 ราย อัตราป่วยสูงสุดพบที่ภาคกลาง รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
สำหรับในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนสิงหาคม 2554 พบผู้ป่วยรวม 1,921 ราย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดบุรีรัมย์ พบผู้ป่วยสูงสุด 948 ราย ชัยภูมิ 499 ราย นครราชสีมา 429 ราย และจังหวัดสุรินทร์ 45 ราย
ทั้งนี้ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ง่ายในน้ำใส นิ่ง และภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กะลามะพร้าว แจกันดอกไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน จะมีน้ำขังในภาชนะต่างๆ มากขึ้น จึงขอให้ประชาชนใช้หลักการ 3 ร. 5 ป. เร่งป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ในโรงเรียน โรงเรือนที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล และเน้นการปรับพฤติกรรม 5 ป. คือ ปิด ฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย
นอกจากนี้ นายแพทย์คำรณ ยังได้ฝากให้ผู้ปกครองสังเกตอาการของลูกหลานเมื่อเป็นไข้ หากถูกยุงลายที่มีไข้เลือดออกกัด จะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดกระบอกตา หน้าแดง หรือหลังมีไข้ 2-3 วัน มักมีจุดแดงใต้ผิวหนัง อาจมีเลือดกำเดาออก ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา อาจเกิดภาวะช็อกได้ หากทานยาลดไข้แล้ว ไข้ไม่ลดให้รีบนำส่งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที
สำหรับในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนสิงหาคม 2554 พบผู้ป่วยรวม 1,921 ราย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดบุรีรัมย์ พบผู้ป่วยสูงสุด 948 ราย ชัยภูมิ 499 ราย นครราชสีมา 429 ราย และจังหวัดสุรินทร์ 45 ราย
ทั้งนี้ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ง่ายในน้ำใส นิ่ง และภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กะลามะพร้าว แจกันดอกไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน จะมีน้ำขังในภาชนะต่างๆ มากขึ้น จึงขอให้ประชาชนใช้หลักการ 3 ร. 5 ป. เร่งป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ในโรงเรียน โรงเรือนที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล และเน้นการปรับพฤติกรรม 5 ป. คือ ปิด ฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นที่เพาะพันธ์ของยุง และปฏิบัติตนเองจนเป็นนิสัย
นอกจากนี้ นายแพทย์คำรณ ยังได้ฝากให้ผู้ปกครองสังเกตอาการของลูกหลานเมื่อเป็นไข้ หากถูกยุงลายที่มีไข้เลือดออกกัด จะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดกระบอกตา หน้าแดง หรือหลังมีไข้ 2-3 วัน มักมีจุดแดงใต้ผิวหนัง อาจมีเลือดกำเดาออก ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา อาจเกิดภาวะช็อกได้ หากทานยาลดไข้แล้ว ไข้ไม่ลดให้รีบนำส่งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที