น้ำท่วม พบคนถูกไฟดูดพุ่ง 102 ราย เหตุเกิดในบ้านกว่า 73% กรมควบคุมโรค จ่อทำบทเรียนทบทวนแผนป้องกัน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยสถานการณ์การเสียชีวิตจากการถูกไฟดูดในช่วงน้ำท่วม ว่า ได้รับรายงานตัวเลขที่น่าตกใจ ว่า ภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน จำนวนผู้เสียชีวิตถึง 102 ราย ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุด เนื่องจากในหลายพื้นที่ประชาชนระดับน้ำเริ่มลดลง จึงมีประชาชนเข้าไปสำรวจบ้านเรือนของตนเองมากขึ้น ส่วนบางรายน้ำลดลงระดับหนึ่ง ทำให้สามารถเข้าอยู่อาศัยในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณชั้นสองของบ้านได้ ซึ่งแม้ว่าชั้นสองจะไม่ถูกน้ำท่วม แต่บางครั้งการที่บ้านถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น มีไฟรั่ว เนื่องจากสายไฟ เบรกเกอร์ได้รับความเสียหาย เมื่อเปิดกระแสไฟฟ้าใช้ พอไปสัมผัสกับสวิตช์ไฟ หรือ เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น โดยไม่ได้ระวังก็ทำให้ถูกไฟดูดได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วจากเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ซึ่งประชาชนที่ไม่รู้เดินเข้าไปใกล้บริเวณที่มีไฟฟ้ารั่ว ก็อาจจะถูกไฟดูดได้เช่นเดียวกัน
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไฟดูดที่เพิ่มขึ้นมากขนาด ที่ต้องบอกว่าติดอันดับต้นๆ ของโลกสำหรับผู้เสียชีวิตจากไฟดูดในช่วงอุทกภัย ทำให้ต้องมาทบทวนบทเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากไปกว่านี้ และภายหลังน้ำลดแล้ว อาจจะต้องมีการสำรวจเพื่อทำวิจัยทางวิชาการ ในการวางมาตรการตัดกระแสไฟฟ้า หรือให้ความรู้กับประชาชน หรือมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งที่รัดกุม เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดต่อไป รวมทั้งอาจจะต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปสำรวจ ซ่อมแซม และแก้ไขระบบไฟฟ้าทั้งในบ้านเรือน และในชุมชน เพราะหากมีการฟื้นฟูบ้านที่ถูกน้ำท่วม แค่ทำความสะอาด หรือ ซ่อมแซมบ้าน แต่ไม่มีการตรวจระบบไฟฟ้าก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้อีกในอนาคต
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยอดรวมของผู้ที่ถูกไฟช็อต ไฟดูดเสียชีวิต จากสถานการณ์น้ำท่วมนั้นอยู่ที่ 102 ราย โดยเพศชายมีอัตราการตายมากกว่าเพศหญิงเป็น 3 ต่อ 1 ทั้งนี้ พบว่า 73% ของผู้เสียชีวิตถูกไฟดูดไฟช็อตในบ้านและที่พักอาศัยของตนเอง ขณะที่ 15% เกิดนอกบ้าน เช่น กรณีเดินออกจากบ้านแล้วลุยน้ำไปซื้อของ เป็นต้น โดยพื้นที่ที่มีเกิดเหตุไฟดูด ไฟช็อตมากที่สุด คือ นนทบุรี ปทุมธานี กทม.และอยุธยา ตามลำดับ
“อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯและทางการไฟฟ้านครหลวง ก็ได้ออกมาตรการเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ และขอย้ำว่า ช่วงน้ำลดก็ยังเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่เช่นกัน จึงควรติดตามประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง” นพ.ภาสกร กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยสถานการณ์การเสียชีวิตจากการถูกไฟดูดในช่วงน้ำท่วม ว่า ได้รับรายงานตัวเลขที่น่าตกใจ ว่า ภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน จำนวนผู้เสียชีวิตถึง 102 ราย ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุด เนื่องจากในหลายพื้นที่ประชาชนระดับน้ำเริ่มลดลง จึงมีประชาชนเข้าไปสำรวจบ้านเรือนของตนเองมากขึ้น ส่วนบางรายน้ำลดลงระดับหนึ่ง ทำให้สามารถเข้าอยู่อาศัยในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณชั้นสองของบ้านได้ ซึ่งแม้ว่าชั้นสองจะไม่ถูกน้ำท่วม แต่บางครั้งการที่บ้านถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น มีไฟรั่ว เนื่องจากสายไฟ เบรกเกอร์ได้รับความเสียหาย เมื่อเปิดกระแสไฟฟ้าใช้ พอไปสัมผัสกับสวิตช์ไฟ หรือ เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น โดยไม่ได้ระวังก็ทำให้ถูกไฟดูดได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วจากเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ซึ่งประชาชนที่ไม่รู้เดินเข้าไปใกล้บริเวณที่มีไฟฟ้ารั่ว ก็อาจจะถูกไฟดูดได้เช่นเดียวกัน
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไฟดูดที่เพิ่มขึ้นมากขนาด ที่ต้องบอกว่าติดอันดับต้นๆ ของโลกสำหรับผู้เสียชีวิตจากไฟดูดในช่วงอุทกภัย ทำให้ต้องมาทบทวนบทเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากไปกว่านี้ และภายหลังน้ำลดแล้ว อาจจะต้องมีการสำรวจเพื่อทำวิจัยทางวิชาการ ในการวางมาตรการตัดกระแสไฟฟ้า หรือให้ความรู้กับประชาชน หรือมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งที่รัดกุม เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดต่อไป รวมทั้งอาจจะต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปสำรวจ ซ่อมแซม และแก้ไขระบบไฟฟ้าทั้งในบ้านเรือน และในชุมชน เพราะหากมีการฟื้นฟูบ้านที่ถูกน้ำท่วม แค่ทำความสะอาด หรือ ซ่อมแซมบ้าน แต่ไม่มีการตรวจระบบไฟฟ้าก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้อีกในอนาคต
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยอดรวมของผู้ที่ถูกไฟช็อต ไฟดูดเสียชีวิต จากสถานการณ์น้ำท่วมนั้นอยู่ที่ 102 ราย โดยเพศชายมีอัตราการตายมากกว่าเพศหญิงเป็น 3 ต่อ 1 ทั้งนี้ พบว่า 73% ของผู้เสียชีวิตถูกไฟดูดไฟช็อตในบ้านและที่พักอาศัยของตนเอง ขณะที่ 15% เกิดนอกบ้าน เช่น กรณีเดินออกจากบ้านแล้วลุยน้ำไปซื้อของ เป็นต้น โดยพื้นที่ที่มีเกิดเหตุไฟดูด ไฟช็อตมากที่สุด คือ นนทบุรี ปทุมธานี กทม.และอยุธยา ตามลำดับ
“อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯและทางการไฟฟ้านครหลวง ก็ได้ออกมาตรการเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอย่างเต็มที่ และขอย้ำว่า ช่วงน้ำลดก็ยังเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่เช่นกัน จึงควรติดตามประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง” นพ.ภาสกร กล่าว