"เผดิมชัย" เผยครม.ไฟเขียวปรับขึ้นค่าจ้าง 40% ทุกจังหวัด เรื่มมีผลวันที่ 1 เม.ย.ปีหน้าตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง ส่งผลให้ 7 จังหวัดกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดค่าจ้างพุ่งขึ้นเป็นวันละ 300 บาท
วันนี้ (22 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องการประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราตั้งแต่วันละ 63-85 บาทโดยเฉลี่ยปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น 40 % โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากขณะนี้สถานประกอบการในหลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการฟื้นฟูกิจการประมาณ 3-6 เดือน จึงให้เลื่อนการใช้บังคับเป็นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีระยะเวลาในการปรับตัวหรือฟื้นฟูกิจการ
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า เมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ จะทำให้อัตราค่าจ้าง 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร เพิ่มเป็น 300 บาทต่อวัน ส่วนอีก 70 จังหวัดที่เหลือให้ปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในในวันที่ 1 ม.ค.2556 และในปี 2557 และปี 2558 ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดไว้ที่วันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวนอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2557และปี 2558 ได้ตามความเหมาะสม
"ในที่ประชุมครม.ไม่ได้มีการทักท้วงใดๆในเรื่องนี้เพราะการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทเป็นนโยบายของรัฐบาล" รมว.แรงงาน กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ จะทำให้อัตราค่าจ้างแต่ละจังหวัดเพิ่มเป็นดังนี้ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร 300 บาทต่อวัน
จังหวัดชลบุรี 274.4 บาทต่อวัน จังหวัดฉะเชิงเทรา และสระบุรี 270.2 บาทต่อวัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 266 บาทต่อวัน จังหวัดระยอง 264.6 บาทต่อวัน จังหวัดพังงา 260.4 บาทต่อวัน จังหวัดระนอง 259 บาทต่อวัน จังหวัดกระบี่ 257.6 บาทต่อวัน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี 256.2 บาทต่อวัน จังหวัดลพบุรี 254.8 บาทต่อวัน
จังหวัดกาญจนบุรี 253.4 บาทต่อวัน จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี 252 บาทต่อวัน จังหวัดจันทบุรี และเพชรบุรี 250.6 บาทต่อวัน จังหวัดสงขลา และสิงห์บุรี 246.4 บาทต่อวัน จังหวัดตรัง 245 บาทต่อวัน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่างทอง 243.6 บาทต่อวัน จังหวัดเลย ชุมพร พัทลุง สตูล และสระแก้ว 242.2 บาทต่อวัน จังหวัดสมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สุราษฎร์ธานี 240.8 บาทต่อวัน จังหวัดนราธิวาส อุบลราชธานี และอุดรธานี 239.4 บาทต่อวัน จังหวัดนครนายก และปัตตานี 238 บาทต่อวัน
จังหวัดหนองคาย ตราด ลำพูน บึงกาฬ 236.6 บาทต่อวัน จังหวัดกำแพงเพชร และอุทัยธานี 235.2 บาทต่อวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท และสุพรรณบุรี 233.8 บาทต่อวัน จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร 232.4 บาทต่อวัน
จังหวัดชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย และหนองบัวลำภู 231 บาทต่อวัน จังหวัดนครพนม 229.6 บาทต่อวัน จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ 228.2 บาทต่อวัน จังหวัดตาก และสุรินทร์ 226.8 บาทต่อวัน จังหวัดน่าน 225.4 บาทต่อวัน จังหวัดศรีสะเกษ 224 บาทต่อวัน และจังหวัดพะเยา 222.6 บาทต่อวัน
วันนี้ (22 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องการประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราตั้งแต่วันละ 63-85 บาทโดยเฉลี่ยปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น 40 % โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากขณะนี้สถานประกอบการในหลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการฟื้นฟูกิจการประมาณ 3-6 เดือน จึงให้เลื่อนการใช้บังคับเป็นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีระยะเวลาในการปรับตัวหรือฟื้นฟูกิจการ
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า เมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ จะทำให้อัตราค่าจ้าง 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร เพิ่มเป็น 300 บาทต่อวัน ส่วนอีก 70 จังหวัดที่เหลือให้ปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในในวันที่ 1 ม.ค.2556 และในปี 2557 และปี 2558 ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดไว้ที่วันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีความผันผวนอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2557และปี 2558 ได้ตามความเหมาะสม
"ในที่ประชุมครม.ไม่ได้มีการทักท้วงใดๆในเรื่องนี้เพราะการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทเป็นนโยบายของรัฐบาล" รมว.แรงงาน กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 40% ทั่วประเทศ จะทำให้อัตราค่าจ้างแต่ละจังหวัดเพิ่มเป็นดังนี้ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร 300 บาทต่อวัน
จังหวัดชลบุรี 274.4 บาทต่อวัน จังหวัดฉะเชิงเทรา และสระบุรี 270.2 บาทต่อวัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 266 บาทต่อวัน จังหวัดระยอง 264.6 บาทต่อวัน จังหวัดพังงา 260.4 บาทต่อวัน จังหวัดระนอง 259 บาทต่อวัน จังหวัดกระบี่ 257.6 บาทต่อวัน จังหวัดนครราชสีมา และปราจีนบุรี 256.2 บาทต่อวัน จังหวัดลพบุรี 254.8 บาทต่อวัน
จังหวัดกาญจนบุรี 253.4 บาทต่อวัน จังหวัดเชียงใหม่ และราชบุรี 252 บาทต่อวัน จังหวัดจันทบุรี และเพชรบุรี 250.6 บาทต่อวัน จังหวัดสงขลา และสิงห์บุรี 246.4 บาทต่อวัน จังหวัดตรัง 245 บาทต่อวัน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอ่างทอง 243.6 บาทต่อวัน จังหวัดเลย ชุมพร พัทลุง สตูล และสระแก้ว 242.2 บาทต่อวัน จังหวัดสมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สุราษฎร์ธานี 240.8 บาทต่อวัน จังหวัดนราธิวาส อุบลราชธานี และอุดรธานี 239.4 บาทต่อวัน จังหวัดนครนายก และปัตตานี 238 บาทต่อวัน
จังหวัดหนองคาย ตราด ลำพูน บึงกาฬ 236.6 บาทต่อวัน จังหวัดกำแพงเพชร และอุทัยธานี 235.2 บาทต่อวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท และสุพรรณบุรี 233.8 บาทต่อวัน จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด และสกลนคร 232.4 บาทต่อวัน
จังหวัดชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย และหนองบัวลำภู 231 บาทต่อวัน จังหวัดนครพนม 229.6 บาทต่อวัน จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ 228.2 บาทต่อวัน จังหวัดตาก และสุรินทร์ 226.8 บาทต่อวัน จังหวัดน่าน 225.4 บาทต่อวัน จังหวัดศรีสะเกษ 224 บาทต่อวัน และจังหวัดพะเยา 222.6 บาทต่อวัน