“วิทยา” คาดสิ้นเดือน พ.ย.นิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งในอยุธยาฟื้นตัว “สุภาพ” ยืนยันบริษัทญี่ปุ่นไม่ทิ้งไทย ขณะที่ “เผดิมชัย” ชี้ สถานการณ์เลิกจ้างไม่น่าห่วง ด้านสวัสดิการสังคมฯเผยแรงงานกลับเข้าโรงงานแล้ว 4.7 หมื่นคน
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน” (บิ๊กคลีนนิงเดย์) และมีแรงงานจากโรงงานต่างๆ ในนิคมฯ เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
นายสุภาพ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมทำให้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ได้รับผลกระทบ โดยมีสถานประกอบการได้รับความเดือดร้อน 838 แห่ง แรงงานได้รับความเดือดร้อน 6.6 แสนคน ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งฟื้นฟู และสถานประกอบการไม่สามารถเปิดกิจการได้ภายใน 4 เดือน จะมีผลทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยเสียหายหลายแสนล้านบาท ส่งผลกระทบถึงรายได้ประชาชน และการจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่ยืนยันว่าจะไม่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เร่งฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นานาประเทศ ซึ่งวันนี้ได้เริ่มกิจกรรมฟื้นฟูที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินเป็นแห่งแรก และนิคมอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร คาดว่า จะฟื้นฟูและเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้
นายเผดิมชัย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การเลิกจ้างยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะสถานการณ์น้ำท่วมลดลง ทำให้สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดกิจการได้เหมือนเดิม ซึ่งในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและแรงงาน ได้ร่วมทำกิจกรรมฟื้นฟูสถานประกอบการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย
นายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานประกอบการทั้งหมด 5,346 แห่ง ลูกจ้าง 373,590 คน ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด โดยสวัสดิการฯ ได้ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เจรจากับสถานประกอบการที่ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ช่วยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กลับมาเปิดกิจการ 254 แห่ง ลูกจ้าง 47,251 คน ทั้งนี้ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินซึ่งมีสถานประกอบการ 90 แห่ง แรงงาน 7.6 หมื่นคน คาดว่า จะกลับมาทำงานได้ทั้งหมด
นางบุญมี ลาไป วัย 38 ปี ลูกจ้างรายวันของบริษัท ไทยโพรเกรส การ์เม้นต์ จำกัด ซึ่งผลิตชุดชั้นใน ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน กล่าวว่า ดีใจที่น้ำลดลง และนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินได้รับการฟื้นฟู ทำให้โรงงานที่ตนทำงานอยู่จะกลับมาเปิดกิจการได้ ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค.54 ได้หยุดงานไปเพราะน้ำท่วม ทำให้โรงงานหยุดกิจการชั่วคราว แต่ก็ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้อัตรา 75% ของค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐดูแลเรื่องความเป็นอยู่ เช่น ที่พักอาศัยที่เสียหาย เครื่องอุปโภคบริโภค
นายซึกาสะ ฟูรูดาเตะ ผู้บริหารบริษัท เอ็นโอเค พริซิชั่นคอมโพเนนท์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนักเช่นนี้อีก รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการออกเอกสาร เพื่อนำแรงงานไทยไปทำงานกับบริษัทแม่ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน เนื่องจากที่ผ่านมามีความล่าช้าในการดำเนินเรื่อง อีกทั้งบริษัทต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ทำให้จำเป็นต้องส่งแรงงานไปทำงานที่บริษัทแม่ในประเทศต่างๆ
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน” (บิ๊กคลีนนิงเดย์) และมีแรงงานจากโรงงานต่างๆ ในนิคมฯ เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
นายสุภาพ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมทำให้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ได้รับผลกระทบ โดยมีสถานประกอบการได้รับความเดือดร้อน 838 แห่ง แรงงานได้รับความเดือดร้อน 6.6 แสนคน ซึ่งหากรัฐบาลไม่เร่งฟื้นฟู และสถานประกอบการไม่สามารถเปิดกิจการได้ภายใน 4 เดือน จะมีผลทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยเสียหายหลายแสนล้านบาท ส่งผลกระทบถึงรายได้ประชาชน และการจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นรายใหญ่ยืนยันว่าจะไม่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น
นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เร่งฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นานาประเทศ ซึ่งวันนี้ได้เริ่มกิจกรรมฟื้นฟูที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินเป็นแห่งแรก และนิคมอุตสาหกรรมที่เหลืออีก 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร คาดว่า จะฟื้นฟูและเปิดดำเนินการได้ภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้
นายเผดิมชัย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การเลิกจ้างยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะสถานการณ์น้ำท่วมลดลง ทำให้สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดกิจการได้เหมือนเดิม ซึ่งในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและแรงงาน ได้ร่วมทำกิจกรรมฟื้นฟูสถานประกอบการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย
นายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสถานประกอบการทั้งหมด 5,346 แห่ง ลูกจ้าง 373,590 คน ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งหมด โดยสวัสดิการฯ ได้ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์เจรจากับสถานประกอบการที่ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ช่วยจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ กลับมาเปิดกิจการ 254 แห่ง ลูกจ้าง 47,251 คน ทั้งนี้ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินซึ่งมีสถานประกอบการ 90 แห่ง แรงงาน 7.6 หมื่นคน คาดว่า จะกลับมาทำงานได้ทั้งหมด
นางบุญมี ลาไป วัย 38 ปี ลูกจ้างรายวันของบริษัท ไทยโพรเกรส การ์เม้นต์ จำกัด ซึ่งผลิตชุดชั้นใน ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน กล่าวว่า ดีใจที่น้ำลดลง และนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินได้รับการฟื้นฟู ทำให้โรงงานที่ตนทำงานอยู่จะกลับมาเปิดกิจการได้ ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค.54 ได้หยุดงานไปเพราะน้ำท่วม ทำให้โรงงานหยุดกิจการชั่วคราว แต่ก็ได้จ่ายเงินค่าจ้างให้อัตรา 75% ของค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐดูแลเรื่องความเป็นอยู่ เช่น ที่พักอาศัยที่เสียหาย เครื่องอุปโภคบริโภค
นายซึกาสะ ฟูรูดาเตะ ผู้บริหารบริษัท เอ็นโอเค พริซิชั่นคอมโพเนนท์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมหนักเช่นนี้อีก รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการออกเอกสาร เพื่อนำแรงงานไทยไปทำงานกับบริษัทแม่ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน เนื่องจากที่ผ่านมามีความล่าช้าในการดำเนินเรื่อง อีกทั้งบริษัทต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ทำให้จำเป็นต้องส่งแรงงานไปทำงานที่บริษัทแม่ในประเทศต่างๆ