การบริหารอุทกภัยเกิดเป็นปัญหารายวันและมีความขัดแย้งตลอดเวลา ทั้งความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชน หรือระหว่างผู้บริหารภาครัฐด้วยกันเอง จนกล่าวได้ว่าการบริหารอุทกภัยครั้งนี้ขาดเอกภาพมาตั้งแต่ต้น ดังจะเห็นได้จากกรณีมีการปรับการทำงานในศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหรือศปภ.หลายครั้ง และแม้แต่การแถลงข่าวก็ใช้คนหลายคน เปลี่ยนตัวโฆษกก็หลายคนเช่นกัน การใช้ข่าวขาดความชัดเจนตลอดจนมีข้อผิดพลาดในด้านข้อมูล
กรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นได้แก่มุมมองในปัญหาระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าฯ กทม.ที่นายกฯ ระบุว่าผู้ว่าฯ กทม.มักไม่เชื่อข้อมูลจากศปภ.ที่ระบุว่า น้ำที่มาจากทางเหนือไหลเข้าสู่พื้นที่กทม.จะหมดลงแล้ว โดยนายกฯ เห็นว่าข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากการมองกันคนละมุม
นายกรัฐมนตรีมักให้ความหวังล่วงหน้าซึ่งยากแก่การทำนายอยู่เสมอ เช่น ให้ช่วยกันจับตาดูว่าหลังจากวันที่ ๓๑ ตุลาคมจะทำให้กรุงเทพฯ พ้นจากวิกฤติหรือไม่ และที่ว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงช่วงวันลอย กระทงอีกรอบหนึ่ง ซึ่งยิ่งลักษณ์ก็กล่าวในทำนองว่าที่สอบถามมาตัวเลขน้ำไม่สูงมากนักและน่าจะระบายน้ำลงได้เร็วกว่านี้ ส่วนหลังวันที่ ๓๑ ตุลาคม จะสามารถบอกได้ว่าสถานการณ์น้ำจะพ้นวิกฤติได้หรือยังนั้น ข้อมูล ยังไม่อาจสรุปได้เพราะการแก้ปัญหาตามจุดต่างๆ หากเป็นไปตามแผนก็น่าจะวางใจได้ระดับหนึ่งและจะดูผลได้จากประตูระบายน้ำต่างๆ ด้วย เพราะบางส่วนกำลังซ่อมแซมอยู่ บางแห่งชาวบ้านทะเลาะกันเรื่องเปิดปิดประตูระบายน้ำ เมื่อปัญหาจบแล้วก็จะได้ประเมินภาพรวมต่อไปว่าสถานการณ์น้ำจะพ้นวิกฤติหรือไม่
สำหรับปัญหาด้านภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทญี่ปุ่นที่จมน้ำใน นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ มีกว่า ๕๐๐ บริษัทนั้น นายกรัฐมนตรีมีแผนที่จะขอความร่วมมือไปยังสถานทูตญี่ปุ่นใน ๒ ส่วน คือ จะอนุญาตให้นำเครื่องจักรต่างๆ ที่เป็นอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเข้ามาในลักษณะของฟาสต์แทร็คที่เร็วขึ้น และยกเว้นภาษีอากรและขอผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในการเร่งกู้เครื่องจักรให้เร็ว ในส่วนของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) จะให้เงินกู้กับบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทไทย-ญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศไทย เราได้มีการเตรียมการสั่งให้มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อระดมการกู้ในส่วนของนิคมให้ฟื้นโดยเร็ว จะเริ่มเตรียมทีมในการกอบกู้ในการฟื้นฟูเรื่องต่างๆ หลังจากน้ำลดลง ในแต่ละจังหวัดด้วย
ส่วนการใช้มาตรการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่น นายกฯ ว่าได้คุยกับนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจต่อกระทรวงการต่างประเทศและได้ชี้แจงผ่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นไปแล้วด้วย ในส่วนนี้จะมีการชี้แจงแผนระยะยาวแต่เบื้องต้นในเรื่องของแผนการกอบกู้กับภาคอุตสาหกรรมรวมถึงจะมีนโยบายในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ลงทุนทุกราย
ส่วนการเตรียมงบประมาณที่จะฟื้นฟูกอบกู้หลังน้ำลดนั้นอย่างน้อย นายกฯ ก็กล่าวว่ามีแน่ๆประมาณ ๘ หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมในสินเชื่อที่ได้ขอความร่วมมือในส่วนของธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์อีกทั้งหมดประมาณ ๓ แสนกว่าล้านบาท อันนี้จะเป็นวงเงินสินเชื่อพิเศษ ซึ่งนายกฯ กล่าวว่าจะนำมาดูแลช่วยเหลือทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือรายย่อย ก็จะทบทวนช่วยเหลือดูแลและยังไม่รวมในสิ่งที่จะดูแลในระยะยาวแบบบูรณาการอีกด้วย
สำหรับการเร่งระบายน้ำกอบกู้นิคมอุตสาหกรรมนั้น ต้องทยอยทำเบื้องต้นเร็วที่สุด ๓ เดือน แต่ ๓เดือน คือการเร่งระบายน้ำเพื่อที่จะเข้ามาทำการกอบกู้ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางหรือส่วนต่างๆ อย่างนิคมอุตสาหกรรมก็ได้พูดคุยกันถึงแผนป้องกัน เป็นต้น
ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งคือ เรื่องกับกองทัพครับ โดยพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ไปให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ยอมรับว่าทหารลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนตามที่นายกฯ สั่งการ แต่ตนกำลังมีความรู้สึกไม่พอใจในการบริหารงานของศปภ.ที่ยังมีความซ้ำซ้อน และส่งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมล่าช้า รวมทั้งให้มีความชัดเจนเรื่องการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นขยาย พื้นที่เป็นวงกว้าง หากจะให้ทหารเข้าไปดูแลในทุกพื้นที่ จะทำให้การทำงานไม่เต็มที่ เพราะทหารต้องรับผิดชอบในการอพยพผู้คนและยังต้องช่วยในการกู้หรือซ่อมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหรือคันกั้นน้ำต่างๆ ขณะเดียวกันได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเสริมกำลังตำรวจในจุดที่มีความขัดแย้งภายในชุมชนด้วย
ครับ จะเห็นได้ว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะพุ่งไปยังศปภ.ที่บ่งบอกถึงการทำงานซึ่งหละหลวมและขาดเอกภาพอีกทั้งยังเห็นถึงการแบ่งงานภายในศปภ.ที่ยังไม่ดีพอ
อย่างไรก็ตาม เรารู้สึกเห็นใจในการทำงานของศปภ.ไม่น้อยที่มีโครงสร้างหลวมๆ และมีการจัดตั้งที่มีที่มาจากหลายภาคส่วนที่ต่างๆ กัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจนักที่เป็นองค์กรที่ไร้ความเป็นเอกภาพตั้งแต่ต้น อีกทั้งการสร้างเครือข่ายก็ทำได้ไม่ง่ายนัก และการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาร่วมก็ต้องมาทำงานในลักษณะเป็นงานอาสาสมัครมากกว่าทำงานในลักษณะมืออาชีพ ปัญหาจึงมีอยู่มาก
กรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นได้แก่มุมมองในปัญหาระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าฯ กทม.ที่นายกฯ ระบุว่าผู้ว่าฯ กทม.มักไม่เชื่อข้อมูลจากศปภ.ที่ระบุว่า น้ำที่มาจากทางเหนือไหลเข้าสู่พื้นที่กทม.จะหมดลงแล้ว โดยนายกฯ เห็นว่าข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากการมองกันคนละมุม
นายกรัฐมนตรีมักให้ความหวังล่วงหน้าซึ่งยากแก่การทำนายอยู่เสมอ เช่น ให้ช่วยกันจับตาดูว่าหลังจากวันที่ ๓๑ ตุลาคมจะทำให้กรุงเทพฯ พ้นจากวิกฤติหรือไม่ และที่ว่าน้ำทะเลจะหนุนสูงช่วงวันลอย กระทงอีกรอบหนึ่ง ซึ่งยิ่งลักษณ์ก็กล่าวในทำนองว่าที่สอบถามมาตัวเลขน้ำไม่สูงมากนักและน่าจะระบายน้ำลงได้เร็วกว่านี้ ส่วนหลังวันที่ ๓๑ ตุลาคม จะสามารถบอกได้ว่าสถานการณ์น้ำจะพ้นวิกฤติได้หรือยังนั้น ข้อมูล ยังไม่อาจสรุปได้เพราะการแก้ปัญหาตามจุดต่างๆ หากเป็นไปตามแผนก็น่าจะวางใจได้ระดับหนึ่งและจะดูผลได้จากประตูระบายน้ำต่างๆ ด้วย เพราะบางส่วนกำลังซ่อมแซมอยู่ บางแห่งชาวบ้านทะเลาะกันเรื่องเปิดปิดประตูระบายน้ำ เมื่อปัญหาจบแล้วก็จะได้ประเมินภาพรวมต่อไปว่าสถานการณ์น้ำจะพ้นวิกฤติหรือไม่
สำหรับปัญหาด้านภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทญี่ปุ่นที่จมน้ำใน นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ มีกว่า ๕๐๐ บริษัทนั้น นายกรัฐมนตรีมีแผนที่จะขอความร่วมมือไปยังสถานทูตญี่ปุ่นใน ๒ ส่วน คือ จะอนุญาตให้นำเครื่องจักรต่างๆ ที่เป็นอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเข้ามาในลักษณะของฟาสต์แทร็คที่เร็วขึ้น และยกเว้นภาษีอากรและขอผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความชำนาญในการเร่งกู้เครื่องจักรให้เร็ว ในส่วนของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) จะให้เงินกู้กับบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทไทย-ญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศไทย เราได้มีการเตรียมการสั่งให้มีการเตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อระดมการกู้ในส่วนของนิคมให้ฟื้นโดยเร็ว จะเริ่มเตรียมทีมในการกอบกู้ในการฟื้นฟูเรื่องต่างๆ หลังจากน้ำลดลง ในแต่ละจังหวัดด้วย
ส่วนการใช้มาตรการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนญี่ปุ่น นายกฯ ว่าได้คุยกับนักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความมั่นใจต่อกระทรวงการต่างประเทศและได้ชี้แจงผ่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นไปแล้วด้วย ในส่วนนี้จะมีการชี้แจงแผนระยะยาวแต่เบื้องต้นในเรื่องของแผนการกอบกู้กับภาคอุตสาหกรรมรวมถึงจะมีนโยบายในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ลงทุนทุกราย
ส่วนการเตรียมงบประมาณที่จะฟื้นฟูกอบกู้หลังน้ำลดนั้นอย่างน้อย นายกฯ ก็กล่าวว่ามีแน่ๆประมาณ ๘ หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมในสินเชื่อที่ได้ขอความร่วมมือในส่วนของธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์อีกทั้งหมดประมาณ ๓ แสนกว่าล้านบาท อันนี้จะเป็นวงเงินสินเชื่อพิเศษ ซึ่งนายกฯ กล่าวว่าจะนำมาดูแลช่วยเหลือทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือรายย่อย ก็จะทบทวนช่วยเหลือดูแลและยังไม่รวมในสิ่งที่จะดูแลในระยะยาวแบบบูรณาการอีกด้วย
สำหรับการเร่งระบายน้ำกอบกู้นิคมอุตสาหกรรมนั้น ต้องทยอยทำเบื้องต้นเร็วที่สุด ๓ เดือน แต่ ๓เดือน คือการเร่งระบายน้ำเพื่อที่จะเข้ามาทำการกอบกู้ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางหรือส่วนต่างๆ อย่างนิคมอุตสาหกรรมก็ได้พูดคุยกันถึงแผนป้องกัน เป็นต้น
ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งคือ เรื่องกับกองทัพครับ โดยพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ไปให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ยอมรับว่าทหารลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนตามที่นายกฯ สั่งการ แต่ตนกำลังมีความรู้สึกไม่พอใจในการบริหารงานของศปภ.ที่ยังมีความซ้ำซ้อน และส่งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมล่าช้า รวมทั้งให้มีความชัดเจนเรื่องการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นขยาย พื้นที่เป็นวงกว้าง หากจะให้ทหารเข้าไปดูแลในทุกพื้นที่ จะทำให้การทำงานไม่เต็มที่ เพราะทหารต้องรับผิดชอบในการอพยพผู้คนและยังต้องช่วยในการกู้หรือซ่อมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหรือคันกั้นน้ำต่างๆ ขณะเดียวกันได้ส่งทหารเข้าไปช่วยเสริมกำลังตำรวจในจุดที่มีความขัดแย้งภายในชุมชนด้วย
ครับ จะเห็นได้ว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะพุ่งไปยังศปภ.ที่บ่งบอกถึงการทำงานซึ่งหละหลวมและขาดเอกภาพอีกทั้งยังเห็นถึงการแบ่งงานภายในศปภ.ที่ยังไม่ดีพอ
อย่างไรก็ตาม เรารู้สึกเห็นใจในการทำงานของศปภ.ไม่น้อยที่มีโครงสร้างหลวมๆ และมีการจัดตั้งที่มีที่มาจากหลายภาคส่วนที่ต่างๆ กัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจนักที่เป็นองค์กรที่ไร้ความเป็นเอกภาพตั้งแต่ต้น อีกทั้งการสร้างเครือข่ายก็ทำได้ไม่ง่ายนัก และการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาร่วมก็ต้องมาทำงานในลักษณะเป็นงานอาสาสมัครมากกว่าทำงานในลักษณะมืออาชีพ ปัญหาจึงมีอยู่มาก