สธ.เดินเครื่องฟื้นฟูพื้นที่ 42 จังหวัดหลังน้ำลด แนะวิธีแก้ปัญหาส้วมตัน ส้วมเหม็นหลังน้ำท่วม ให้ใช้อีเอ็มแทนน้ำยาล้างห้องน้ำ เพื่อถนอมจุลินทรีย์มีประโยชน์ไว้
วันนี้ (16 พ.ย.) ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมบุคลากรจังหวัดในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 17 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์ จำนวน 500 คน เพื่อบูรณาการกิจกรรมการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด ร่วมกันระหว่างชุมชน องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ในโครงการท้องถิ่นไทย รวมใจ รวมพลัง ขจัดพิบัติภัย จากนั้นเดินทางไปที่ อำเภอบางระกำ เพื่อเปิดโครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ประสบอุทกภัย ตามโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำลดทุกพื้นที่แล้ว
นายแพทย์วิชัย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 นี้ เป็นปีที่มีความรุนแรงที่สุด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พื้นที่ทำมาหากินในวงกว้าง ไม่อาจประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 64 จังหวัด ขณะนี้ยังเหลือพื้นที่ประสบภัย 22 จังหวัด ที่เหลือ 42 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่างฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ รวมทั้งขวัญกำลังใจของผู้ประสบภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดภาคเหนือ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดรายตำบลทุกพื้นที่มี 5 ด้าน ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล โดยฟื้นฟูสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 548 แห่ง 2.การฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัย 3.ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและน้ำดื่ม 4.เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อหลังน้ำลด ที่สำคัญเช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ไข้เลือดออก โรคตาแดง 5.ฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความสะอาดบ้านเรือน บ่อน้ำกินน้ำใช้ กำจัดขยะสิ่งปฏิกูล โดยจะประกาศรับรองพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยทุกด้านภายใน 45 วัน
“ห้องน้ำห้องส้วมในบ้านเรือน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแล เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับสิ่งขับถ่าย คาดว่าจะได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 ล้านครัวเรือน ปัญหาที่พบ คือส้วมอุดตัน ราดน้ำไม่ลง ส้วมเต็มเพราะน้ำเข้าไปท่วม มีกลิ่นเหม็น แนะนำให้ขัดทำความสะอาดและใช้อีเอ็มชนิดน้ำหรือชนิดผงละลายน้ำราดลงในโถส้วม เพื่อให้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายสิ่งสกปรกที่อยู่ในส้วม กลิ่นจะลดลงเห็นผลภายใน 1-2 วัน ไม่ควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำหรือน้ำยาดับกลิ่นราดลงในโถส้วมเนื่องจาก สารเคมีจะไปทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ทำให้การย่อยสลายช้าและไม่ได้ผล ” นายแพทย์วิชัย กล่าว
นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทุกวัน จนถึงวันนี้พบผู้ป่วยจากน้ำท่วมรวม 1,905,019 ราย อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ผื่นคัน โดยพบผู้ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคฉี่หนูประปรายในบางพื้นที่ ยังไม่มีปัญหาการแพร่ระบาด ส่วนการดูแลสุขภาพจิต ได้ตรวจคัดกรองผู้ประสบภัยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง และผู้ป่วยจิตเวชเดิมไปแล้ว 117,434 คน พบผู้มีความเครียดสูงสะสม 6,514 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 พบผู้ที่มีอารมณ์เศร้าสะสม 7,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายรวมสะสม 1,355 ราย คิดเป็น 1 ใน 6 ของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีผู้ประสบภัยที่ต้องติดตามดูแลพิเศษทั้งหมด 2,147 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะดูแลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ
วันนี้ (16 พ.ย.) ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมบุคลากรจังหวัดในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 17 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์ จำนวน 500 คน เพื่อบูรณาการกิจกรรมการฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด ร่วมกันระหว่างชุมชน องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ในโครงการท้องถิ่นไทย รวมใจ รวมพลัง ขจัดพิบัติภัย จากนั้นเดินทางไปที่ อำเภอบางระกำ เพื่อเปิดโครงการฟื้นฟูสุขภาพผู้ประสบอุทกภัย ตามโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำลดทุกพื้นที่แล้ว
นายแพทย์วิชัย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 นี้ เป็นปีที่มีความรุนแรงที่สุด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พื้นที่ทำมาหากินในวงกว้าง ไม่อาจประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ มีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 64 จังหวัด ขณะนี้ยังเหลือพื้นที่ประสบภัย 22 จังหวัด ที่เหลือ 42 จังหวัด สถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่างฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ รวมทั้งขวัญกำลังใจของผู้ประสบภัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดภาคเหนือ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดแผนฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดรายตำบลทุกพื้นที่มี 5 ด้าน ได้แก่ 1.การรักษาพยาบาล โดยฟื้นฟูสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 548 แห่ง 2.การฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้ประสบภัย 3.ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและน้ำดื่ม 4.เฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อหลังน้ำลด ที่สำคัญเช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ไข้เลือดออก โรคตาแดง 5.ฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความสะอาดบ้านเรือน บ่อน้ำกินน้ำใช้ กำจัดขยะสิ่งปฏิกูล โดยจะประกาศรับรองพื้นที่ที่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยทุกด้านภายใน 45 วัน
“ห้องน้ำห้องส้วมในบ้านเรือน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแล เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับสิ่งขับถ่าย คาดว่าจะได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 2 ล้านครัวเรือน ปัญหาที่พบ คือส้วมอุดตัน ราดน้ำไม่ลง ส้วมเต็มเพราะน้ำเข้าไปท่วม มีกลิ่นเหม็น แนะนำให้ขัดทำความสะอาดและใช้อีเอ็มชนิดน้ำหรือชนิดผงละลายน้ำราดลงในโถส้วม เพื่อให้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายสิ่งสกปรกที่อยู่ในส้วม กลิ่นจะลดลงเห็นผลภายใน 1-2 วัน ไม่ควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำหรือน้ำยาดับกลิ่นราดลงในโถส้วมเนื่องจาก สารเคมีจะไปทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ทำให้การย่อยสลายช้าและไม่ได้ผล ” นายแพทย์วิชัย กล่าว
นพ.นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทุกวัน จนถึงวันนี้พบผู้ป่วยจากน้ำท่วมรวม 1,905,019 ราย อาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ผื่นคัน โดยพบผู้ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคฉี่หนูประปรายในบางพื้นที่ ยังไม่มีปัญหาการแพร่ระบาด ส่วนการดูแลสุขภาพจิต ได้ตรวจคัดกรองผู้ประสบภัยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง และผู้ป่วยจิตเวชเดิมไปแล้ว 117,434 คน พบผู้มีความเครียดสูงสะสม 6,514 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 พบผู้ที่มีอารมณ์เศร้าสะสม 7,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 พบผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายรวมสะสม 1,355 ราย คิดเป็น 1 ใน 6 ของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า โดยมีผู้ประสบภัยที่ต้องติดตามดูแลพิเศษทั้งหมด 2,147 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะดูแลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ