“วิทยา” สั่งการทุกจังหวัดที่น้ำท่วม เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ฟื้นฟูสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหายเพื่อพร้อมบริการประชาชนทันที ดูแลความปลอดภัยอาหาร น้ำดื่ม สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้าน ตลาดสด ควบคุมป้องกันโรคระบาดหลังน้ำลด โดยที่ประชุม ศปภ. อนุมัติงบให้กระทรวงสาธารณสุข 109 ล้านบาท
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในระยะเร่งด่วน ให้ครอบคลุมทั้ง 4 เรื่องใหญ่ ที่ประชุม ศปภ.โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข 109 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.การฟื้นฟูโรงพยาบาล อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมเพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้ทันทีหลังน้ำลดลง 2.การจัดหน่วยแพทย์รวมทั้ง อาสาสมัครสาธารณสุข พร้อมเวชภัณฑ์ ยา ฟื้นฟูร่างกาย จิตใจให้ผู้ประสบภัย ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ พร้อมส่งเสริมอาชีพ วงเงินประมาณ 68 ล้านบาท 3.ฟื้นฟูสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านเรือนเช่น ส้วม แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ความสะอาดตลาดสด การกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย วงเงินประมาณ 20 ล้านบาท 4.การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคระบาดหลังน้ำลดเช่น โรคตาแดง โรคอุจจาจะร่วง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก วงเงิน 20 ล้านกว่าบาท ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจในมาตรฐานการแพทย์และการสาธารณสุข ให้ประชาชนในพื้นที่ภายหลังประสบภัยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า การฟื้นฟูจิตใจหลังจากน้ำเริ่มลดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว โดยได้ตั้งศูนย์ฟื้นฟูจิตใจ 4 ศูนย์ ได้แก่ ภาคเหนือให้โรงพยาบาลสวนปรุงรับผิดชอบ ภาคเหนือตอนล่าง ให้โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์รับผิดชอบ ภาคกลางมอบให้โรงพยาบาลศรีธัญญาและกรมสุขภาพจิตรับผิดชอบ ซึ่งจะมีการระดมนักสุขภาพจิตที่อยู่ในภาครัฐและเอกชนมาร่วมดำเนินการฟื้นฟู
นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดโครงการส่งเสริมอาชีพให้ผู้ประสบภัย เช่น จัดอบรมเรื่องการนวดไทยและสปา ซึ่งสามารถใช้ผ่อนคลายเครียดได้ และสร้างรายได้กำลังได้รับความนิยมจากต่างชาติเป็นอันมาก พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรไทยและส่งเสริมขนมพื้นบ้านไทย มีตลาดรองรับ นอกจากนี้จะส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยปลูกสมุนไพรที่ใช้ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติเชิงเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 32 ชนิด เพื่อสร้างรายได้ เช่น กระชาย กระเพรา กระเจี๊ยบแดง ชุมเห็ดเทศ ขมิ้นอ้อย บัวบก ขิง มะลิ ฟ้าทะลายโจร มะกรูด พญายอ มะแว้งเครือ ตะไคร้ ไพล เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ มีแหล่งรับซื้ออยู่แล้ว และใช้เวลาปลูกไม่นาน
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้มีหลายจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะจังหวัดในภาคเหนือ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในระยะเร่งด่วน ให้ครอบคลุมทั้ง 4 เรื่องใหญ่ ที่ประชุม ศปภ.โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข 109 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.การฟื้นฟูโรงพยาบาล อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมเพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้ทันทีหลังน้ำลดลง 2.การจัดหน่วยแพทย์รวมทั้ง อาสาสมัครสาธารณสุข พร้อมเวชภัณฑ์ ยา ฟื้นฟูร่างกาย จิตใจให้ผู้ประสบภัย ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ พร้อมส่งเสริมอาชีพ วงเงินประมาณ 68 ล้านบาท 3.ฟื้นฟูสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านเรือนเช่น ส้วม แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ความสะอาดตลาดสด การกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย วงเงินประมาณ 20 ล้านบาท 4.การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคระบาดหลังน้ำลดเช่น โรคตาแดง โรคอุจจาจะร่วง โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก วงเงิน 20 ล้านกว่าบาท ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจในมาตรฐานการแพทย์และการสาธารณสุข ให้ประชาชนในพื้นที่ภายหลังประสบภัยและนักท่องเที่ยวต่างประเทศด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า การฟื้นฟูจิตใจหลังจากน้ำเริ่มลดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว โดยได้ตั้งศูนย์ฟื้นฟูจิตใจ 4 ศูนย์ ได้แก่ ภาคเหนือให้โรงพยาบาลสวนปรุงรับผิดชอบ ภาคเหนือตอนล่าง ให้โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์รับผิดชอบ ภาคกลางมอบให้โรงพยาบาลศรีธัญญาและกรมสุขภาพจิตรับผิดชอบ ซึ่งจะมีการระดมนักสุขภาพจิตที่อยู่ในภาครัฐและเอกชนมาร่วมดำเนินการฟื้นฟู
นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดโครงการส่งเสริมอาชีพให้ผู้ประสบภัย เช่น จัดอบรมเรื่องการนวดไทยและสปา ซึ่งสามารถใช้ผ่อนคลายเครียดได้ และสร้างรายได้กำลังได้รับความนิยมจากต่างชาติเป็นอันมาก พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรไทยและส่งเสริมขนมพื้นบ้านไทย มีตลาดรองรับ นอกจากนี้จะส่งเสริมให้ผู้ประสบภัยปลูกสมุนไพรที่ใช้ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติเชิงเกษตรอินทรีย์ อย่างน้อย 32 ชนิด เพื่อสร้างรายได้ เช่น กระชาย กระเพรา กระเจี๊ยบแดง ชุมเห็ดเทศ ขมิ้นอ้อย บัวบก ขิง มะลิ ฟ้าทะลายโจร มะกรูด พญายอ มะแว้งเครือ ตะไคร้ ไพล เป็นต้น ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ มีแหล่งรับซื้ออยู่แล้ว และใช้เวลาปลูกไม่นาน