สบส. เตรียมประเมินความเสียหายสถานบริการสาธารณสุข เกือบ 500 แห่ง แจงเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง คาดสรุปความเสียหายได้สิ้นเดือน พ.ย. นี้ เชื่อน้อยกว่าปี 53 เพราะได้เตรียมรับมืออย่างเต็มที่
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ในปีนี้ เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ทำให้มีสถานบริการที่ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหาย และจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมมีเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) 16 แห่ง รพ.ชุมชน 77 แห่ง และรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 400แห่ง ซึ่งยังไม่สามารถประเมินความเสียหายทั้งหมดได้ เพราะในบางจังหวัด เช่น อยุธยา ล่มทั้งจังหวัด และจนขณะนี้ระดับน้ำก็ยังลดลงไม่หมดทั้งพื้นที่ ซึ่งการประเมินความเสียหายในเบื้องต้น จะให้จังหวัดเป็นผู้ประเมินความเสียหายก่อน หากความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนวงเงินมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน สบส.จะเข้าไปประเมินความเสียหายในพื้นที่อีกครั้ง ก่อนนำไปคิดเป็นงบประมาณที่เสีย
นพ.สมชัย กล่าวว่า ลักษณะความเสียหายในปี2553 กับ ปี 2554 ความ เสียหายที่เกิดขึ้นต่างกัน เพราะในปีก่อนเกิดขึ้นในภาคอีสาน และภาคใต้ แต่ในปีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่พื้นที่ภาคเหนือ ลงมาถึงภาคกลาง ส่วนภาคอีสานพบความเสียหายเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พื้นที่ความเสียหายเกิดขึ้นในวงกว้างกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้เตรียมความพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ เช่น การยกของขึ้นที่สูง โดยเฉพาะเครื่องมือทางการแพทย์ การยกตู้จ่ายไฟให้พ้นน้ำ การเตรียมระบบขนส่งและใช้ทรัพยากรหลายหน่วยงานในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้เชื่อว่าระดับความเสียหายในปีนี้อาจไม่มากนัก แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ทั้งหมดเพราะยังมีจังหวัดยังจมน้ำอยู่และกำลัง เข้าสู้พื้นที่เสี่ยง คาดว่าจะสามารถประเมินความเสียหายได้ภายในเดือนพ.ย.นี้
ทั้งนี้ กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน ได้ดำเนินการประเมินความเสียหายของ รพ.และหน่วยงานสาธารณสุข ด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และระบบสนับสนุนบริการ เพื่อการฟื้นฟูสถานบริการ ไปแล้วจำนวน 40 แห่ง ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา และหน่วยงานสังกัดกรมการแพทย์ กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค
นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ในปีนี้ เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ทำให้มีสถานบริการที่ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหาย และจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมมีเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) 16 แห่ง รพ.ชุมชน 77 แห่ง และรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 400แห่ง ซึ่งยังไม่สามารถประเมินความเสียหายทั้งหมดได้ เพราะในบางจังหวัด เช่น อยุธยา ล่มทั้งจังหวัด และจนขณะนี้ระดับน้ำก็ยังลดลงไม่หมดทั้งพื้นที่ ซึ่งการประเมินความเสียหายในเบื้องต้น จะให้จังหวัดเป็นผู้ประเมินความเสียหายก่อน หากความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนวงเงินมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน สบส.จะเข้าไปประเมินความเสียหายในพื้นที่อีกครั้ง ก่อนนำไปคิดเป็นงบประมาณที่เสีย
นพ.สมชัย กล่าวว่า ลักษณะความเสียหายในปี2553 กับ ปี 2554 ความ เสียหายที่เกิดขึ้นต่างกัน เพราะในปีก่อนเกิดขึ้นในภาคอีสาน และภาคใต้ แต่ในปีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่พื้นที่ภาคเหนือ ลงมาถึงภาคกลาง ส่วนภาคอีสานพบความเสียหายเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พื้นที่ความเสียหายเกิดขึ้นในวงกว้างกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้เตรียมความพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ เช่น การยกของขึ้นที่สูง โดยเฉพาะเครื่องมือทางการแพทย์ การยกตู้จ่ายไฟให้พ้นน้ำ การเตรียมระบบขนส่งและใช้ทรัพยากรหลายหน่วยงานในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทำให้เชื่อว่าระดับความเสียหายในปีนี้อาจไม่มากนัก แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ทั้งหมดเพราะยังมีจังหวัดยังจมน้ำอยู่และกำลัง เข้าสู้พื้นที่เสี่ยง คาดว่าจะสามารถประเมินความเสียหายได้ภายในเดือนพ.ย.นี้
ทั้งนี้ กองวิศวกรรมการแพทย์และกองแบบแผน ได้ดำเนินการประเมินความเสียหายของ รพ.และหน่วยงานสาธารณสุข ด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ และระบบสนับสนุนบริการ เพื่อการฟื้นฟูสถานบริการ ไปแล้วจำนวน 40 แห่ง ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา และหน่วยงานสังกัดกรมการแพทย์ กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค