อาชีวะเตรียมวางแผนผลักดัน วท.มาบตาพุด เป็นศูนย์ฝึกอบรมแรงงานด้านปิโตรเคมี หลังร่วมมือภาคอตุสาหกรรมพัฒนา นศ.จบมามีงานทำ และได้บุคลากรครูที่มีคุณภาพ
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี (Vocational Chemical Engineering Practice College : V-ChEPC) โดยทางกลุ่มสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนระดับหัวกะทิมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00 เพื่อศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาปิโตรเคมีที่วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือต้องการผลิตช่างเทคนิคที่มีความรู้ ความสามารถทักษะเฉพาะทางในสาขาปิโตรเคมีได้ตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุดนั้นเป็นวิทยาลัยต้นแบบในการพัฒนาผู้บริหาร ครู และนักศึกษาที่มีคุณภาพตามความต้องการของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนภายใต้โครงการ V-ChEPC เป็นไปอย่างเข้มข้นเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริง เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่เรียนในสาขาปิโตรเคมีนั้นจะได้มีการฝึกงานในสถานประกอบการซึ่งก็คือโรงงาน/นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง เป็นระยะเวลารวม 8 เดือน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนี้ดำเนินการมา 2 ระยะ โดยระยะแรกเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2551-2553 และระยะที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2554-2556 ปัจจุบัน มีนักศึกษาจำนวน 4 รุ่น โดยจบแล้ว 2 รุ่นและกำลังศึกษาระดับ ปวส.1 และ 2 อีก 2 รุ่น โดยนักศึกษาที่จบไปก่อนหน้าทั้ง 2 รุ่น จำนวน 61 คนมีงานทำทั้งหมดและได้รับเงินเดือนประมาณ 12,000 บาท ขณะที่ครูผู้สอนก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นด้วย
“แม้การดำเนินการทั้ง 2 ระยะ จะเป็นไปด้วยดีแต่ได้มีการหารือการเตรียมพร้อมในระยะที่ 3 ที่จะเริ่มใน พ.ศ.2557-2560 ซึ่งทางผู้สนับสนุนต้องการให้ทางวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุดสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน และยกระดับให้วิทยาลัยนั้นเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแรงงาน (Training Center) ให้กับแรงงานภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ จ.ระยองหรือพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ ทั้งยังสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่วิทยาลัยอื่นๆ ได้ด้วย เพราะฉะนั้นจากนี้จะต้องเตรียมการเพื่อวางแนวทางพัฒนาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”เลขาธิการ กอศ.กล่าว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี (Vocational Chemical Engineering Practice College : V-ChEPC) โดยทางกลุ่มสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนระดับหัวกะทิมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00 เพื่อศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาปิโตรเคมีที่วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด ซึ่งเป้าหมายสำคัญคือต้องการผลิตช่างเทคนิคที่มีความรู้ ความสามารถทักษะเฉพาะทางในสาขาปิโตรเคมีได้ตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุดนั้นเป็นวิทยาลัยต้นแบบในการพัฒนาผู้บริหาร ครู และนักศึกษาที่มีคุณภาพตามความต้องการของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนภายใต้โครงการ V-ChEPC เป็นไปอย่างเข้มข้นเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริง เพราะฉะนั้นนักศึกษาที่เรียนในสาขาปิโตรเคมีนั้นจะได้มีการฝึกงานในสถานประกอบการซึ่งก็คือโรงงาน/นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง เป็นระยะเวลารวม 8 เดือน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนี้ดำเนินการมา 2 ระยะ โดยระยะแรกเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2551-2553 และระยะที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2554-2556 ปัจจุบัน มีนักศึกษาจำนวน 4 รุ่น โดยจบแล้ว 2 รุ่นและกำลังศึกษาระดับ ปวส.1 และ 2 อีก 2 รุ่น โดยนักศึกษาที่จบไปก่อนหน้าทั้ง 2 รุ่น จำนวน 61 คนมีงานทำทั้งหมดและได้รับเงินเดือนประมาณ 12,000 บาท ขณะที่ครูผู้สอนก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นด้วย
“แม้การดำเนินการทั้ง 2 ระยะ จะเป็นไปด้วยดีแต่ได้มีการหารือการเตรียมพร้อมในระยะที่ 3 ที่จะเริ่มใน พ.ศ.2557-2560 ซึ่งทางผู้สนับสนุนต้องการให้ทางวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุดสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน และยกระดับให้วิทยาลัยนั้นเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแรงงาน (Training Center) ให้กับแรงงานภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ จ.ระยองหรือพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ ทั้งยังสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่วิทยาลัยอื่นๆ ได้ด้วย เพราะฉะนั้นจากนี้จะต้องเตรียมการเพื่อวางแนวทางพัฒนาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”เลขาธิการ กอศ.กล่าว