ปลัดกระทรวงแรงงาน เผย มติบอร์ดค่าจ้างเปิดช่องให้ทบทวนขยายเวลาขึ้นค่าจ้าง 300 บาท หากเกิดสถานการณ์เศรษฐกิจผันผวนอย่างรุนแรง โต้เอกชนอย่าด่วนสรุป ติดตามสถานการณ์ไปก่อน เชื่อ 6 เดือนธุรกิจฟื้นตัวทัน
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยกรณีที่ภาคเอกชนเสนอขอเลื่อนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไปเป็นวันที่ 1 ม.ค.2556 เพื่อให้มีเวลาฟื้นฟูกิจการจากน้ำท่วม ว่า ขณะนี้ยังยืนยันว่าการปรับค่าจ้างยังเป็นไปตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติออกมา ให้ปรับในวันที่ 1 เม.ย.2555
อย่างไรก็ตาม มติของบอร์ดค่าจ้างได้เปิดช่องไว้ ว่า หากมีความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ก็สามารถที่จะทบทวนมติใหม่ได้ ซึ่งการพูดถึงการเลื่อนเวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำในขณะนี้ยังเร็วเกินไป ควรจะมีการประเมินสถานการณ์หลังจากนี้ 6 เดือน
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวเชื่อการเลื่อนไปวันที่ 1 เม.ย.2555 ยังเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม สถานประกอบการยังมีเวลาที่จะฟื้นฟูกิจการและปรับตัวรวมเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ขณะเดียวกันการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เพราะทำให้ประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งหากมองในระยะยาวจะเป็นผลดีต่อประเทศ
“ขณะนี้อยากให้ติดตามสถานการณ์ไปก่อน อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท จะส่งผลกระทบ เพราะต้องมองในระยะยาว ซึ่งหลังจากกลางปี 2555 เศรษฐกิจของโลก ทั้งในส่วนของอเมริกา ยุโรป และจีน มีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจส่งออก และในประเทศจะต้องอาศัยกำลังซื้อภายในมากขึ้น เพราะฉะนั้นการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จะช่วยกระตุ้นให้มีการบริโภคอุปโภคภายในประเทศมากขึ้นด้วย เพราะคนไทยกว่า 90% บริโภคสินค้าที่ผลิตในประเทศ” นพ.สมเกียรติ กล่าว
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยกรณีที่ภาคเอกชนเสนอขอเลื่อนปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไปเป็นวันที่ 1 ม.ค.2556 เพื่อให้มีเวลาฟื้นฟูกิจการจากน้ำท่วม ว่า ขณะนี้ยังยืนยันว่าการปรับค่าจ้างยังเป็นไปตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางมีมติออกมา ให้ปรับในวันที่ 1 เม.ย.2555
อย่างไรก็ตาม มติของบอร์ดค่าจ้างได้เปิดช่องไว้ ว่า หากมีความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ก็สามารถที่จะทบทวนมติใหม่ได้ ซึ่งการพูดถึงการเลื่อนเวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำในขณะนี้ยังเร็วเกินไป ควรจะมีการประเมินสถานการณ์หลังจากนี้ 6 เดือน
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวเชื่อการเลื่อนไปวันที่ 1 เม.ย.2555 ยังเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม สถานประกอบการยังมีเวลาที่จะฟื้นฟูกิจการและปรับตัวรวมเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ขณะเดียวกันการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เพราะทำให้ประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งหากมองในระยะยาวจะเป็นผลดีต่อประเทศ
“ขณะนี้อยากให้ติดตามสถานการณ์ไปก่อน อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท จะส่งผลกระทบ เพราะต้องมองในระยะยาว ซึ่งหลังจากกลางปี 2555 เศรษฐกิจของโลก ทั้งในส่วนของอเมริกา ยุโรป และจีน มีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจส่งออก และในประเทศจะต้องอาศัยกำลังซื้อภายในมากขึ้น เพราะฉะนั้นการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จะช่วยกระตุ้นให้มีการบริโภคอุปโภคภายในประเทศมากขึ้นด้วย เพราะคนไทยกว่า 90% บริโภคสินค้าที่ผลิตในประเทศ” นพ.สมเกียรติ กล่าว