xs
xsm
sm
md
lg

แรงงานข้ามชาติกว่า 6 แสนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ยังต้องการความช่วยเหลือ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เปิดสถิติแรงงานข้ามชาติกว่า 6 แสนคน ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ย้ำ หน่วยพักพิงสำหรับแรงงานยังไม่พอ และยังขาดข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น ชี้ปัญหาการสื่อสารเป็นอุปสรรคหลักในการให้ความช่วยเหลือ วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดล่ามมาคอยให้การบริการและให้ข้อมูลกับแรงงานเพื่อช่วยเหลือให้ตรงจุด ด้านสภาทนายความร่อนหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปราบตำรวจนอกรีตรีดไถแรงงานข้ามชาติ

จากสถานการณ์ภัยพิบัติน้าท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางบางส่วน ที่ประสบภัยพิบัติร้ายแรงประมาณ 12 จังหวัด ซึ่งสร้างความสูญเสียให้แก่ประชาชนในพื้นที่ค่อนข้างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่อาศัย และพื้นที่เศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัตน้ำท่วมในครั้งนี้ ก็คือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทางานในพื้นที่ดังกล่าวนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรองค์กรเครือช่ายที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติพบว่ามีแรงงานในพื้นที่ประสบภัยพิบัติประมาณ 600,000 คน ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้าท่วมในครั้งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และงานบริการทั่วไป ในรายงานระบุอีกด้วยว่ายังมีแรงงานจำนวนหนึ่งที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้าท่วม และยังเข้าถึงการช่วยเหลือที่จำกัดอันเนื่องมาจากการขาดข้อมูล การสื่อสาร และกลไกการช่วยเหลือ

น.ส.โรยทราย วงศ์สุบรรณ ผู้ประสานงานทำงานด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญสาหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกลุ่มแรงงานข้ามชาติยังเป็นไปได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากข้อมูลสาหรับการขอความช่วยเหลือทั้งหมดยังเป็นภาษาไทย รวมถึงการโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือเบื้องต้นส่วนใหญ่ยังใช้ภาษาไทย ทำให้เกิดข้อติดขัดในการเข้าถึงข้อมูลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้องค์กรที่ให้ความช่วยเหลืออย่างรัฐบาลไทยยังขาดแผนระยะยาวในเรื่องการจัดการประเด็นการคุ้มครองสิทธิแรงงานหลังจากที่สถานประกอบการประสบปัญหาน้าท่วม และไม่สามารถจ้างงานในช่วงระยะเวลาต่อไปได้

ผู้ประสานงานเครือข่ายที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้แล้ว การดำเนินการส่งแรงงานข้ามชาติที่ต้องการเดินทางกลับบ้านในประเทศต้นทาง ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนและเหมาะสมกับความต้องการและความปลอดภัยของแรงงานข้ามชาติเท่าที่ควร จึงจำเป็นที่จะต้องมีกลไกขึ้นมาดำเนินการรองรับ เพื่อให้เกิดการเดินทางกลับบ้านของแรงงานอย่างปลอดภัยมากที่สุด รวมทั้งควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องการประสานงานไปยังสถานฑูตของประเทศต้นทาง หรือ ประสานไปที่องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการออกเอกสารรับรองการเดินทางกลับ และการได้รับการดูแลในเรื่องสิทธิต่างๆ ที่แรงงานข้ามชาติจะต้องได้รับหากต้องเดินทางกลับบ้านต่อไป

“รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลแรงงานข้ามชาติยังขาดมาตรการเร่งด่วนต่อเรื่องการจัดการดูแลแรงงานข้ามชาติในภาวะภัยพิบัติในเรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติจากหน่วยงานและระดับนโยบายที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เกิดภาวะลักลั่นต่อการขอความช่วยเหลือ และเข้าไปช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ประสบปัญหาน้าท่วม เช่น ทำให้เกิดกรณีของการจับกุมแรงงานข้ามชาติที่เดินทางออกจากพื้นที่น้ำท่วม หรือแนวทางต่ออนาคตการจ้างงานของแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน เช่น เรื่องค่าจ้างค้างจ่าย การเปลี่ยนย้ายนายจ้างยังขาดการพัฒนาระบบการกระจายข้อมูลหรือระบบการติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติเป็นภาษาของแรงงาน และเป็นมิตรต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทาให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในภาวะที่เข้าไม่ถึงข้อมูล และความช่วยเหลือที่จาเป็นอยู่เช่นเดิม รวมทั้งต่อการค้นหาแรงงานข้ามชาติที่ยังติดอยู่ในพื้นที่น้าท่วมของหน่วยงานให้ความช่วยเหลือต่างๆ ด้วย” น.ส.โรยทราย กล่าว

ผู้ประสานงานทำงานด้านประชากรข้ามชาติ ระบุอีกด้วยว่า การดาเนินการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ประสบภัยน้าท่วมที่ผ่านมายังขาดการประสาน และการส่งต่อข้อมูลอย่างเป็นระบบในแต่ละหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทาให้ขาดแผนการดาเนินการที่ชัดเจนในด้านการให้ความช่วยเหลือทั้งระยะสั้นและระยะยาว ขณะเดียวกัน ก็ยังขาดการสร้างบทบาทการตัดสินใจร่วมของกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ประสบภัย ส่งผลให้การช่วยเหลืออาจจะไม่สอดคล้อง หรือมีผลกระทบต่อตัวแรงงานข้ามชาติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแรงงานข้ามชาติยังเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการถูกมองข้าม และถูกเอารัดเอาเปรียบในกระบวนการจ้างงาน กระบวนการค้ามนุษย์ และในสังคมมาโดยตลอด ทำให้เมื่อประสบภัยพิบัติสิ่งที่จาเป็นในช่วงต่อไปคือ เรื่องการฟื้นฟูและดูแลทางจิตใจ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีความพร้อมที่จะกลับไปทางานและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขรวมกับผู้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ได้จัดทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อยื่นให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยระบุข้อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยุติพฤติกรรมเรียกรับผลประโยชน์กับแรงงานข้ามชาติในสถานการณ์น้ำท่วม

โดยนายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความระบุถึงการจัดทำจดหมายเปิดผนึกในครั้งนี้ ว่า คณะอนุกรรมการได้รับเรื่องร้องเรียนเป็นจำนวนมากว่าแรงงานข้ามชาติ และผู้ติดตามในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ต้องอพยพหนีน้ำไปพักอาศัยอยู่กับญาติและพื้นที่อื่นๆ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมข้อหาออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีเอกสารประจำตัวมาแสดง ทำงานโดยไม่ได้เปลี่ยนย้ายงานย้ายนายจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยกรณีที่ได้รับเรื่องร้องเรียนล่าสุดคือหญิงสาวชาวพม่าและครอบครัวถูกจับกุมที่สถานีขนส่งหมอชิตและถูกเจ้าหน้าตำรวจรีดไถเงินเป็นจำนวน 5,000 บาท ซึ่งแรงงานที่หนีน้ำท่วมมาไม่มีเงินในจำนวนที่มากมายขนาดนั้นและเอกสารสำคัญบางส่วนก็หายไปเมื่อหนีน้ำท่วม

“ปัญหาการรีดไถจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อันเป็นการฉวยโอกาสซ้ำเติมและแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบต่อแรงงานข้ามชาติผู้ประสบอุทกภัย คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความจึงด้จัดทำจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อขอให้ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่งการไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาทุกหน่วยงาน ให้ปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามผู้ประสบภัยในการรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ โดยเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดของการอยู่ร่วมกัน รวมทั้งเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต้องเกื้อกูลดูแลกัน โดยให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรมแก่ทุกคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติโดยเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสัญชาติ เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือ สถานะทางกฎหมาย ซึ่งมีหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา อนุสัญญาระหว่างประเทศจำนวนมาที่ไทยลงนาม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้การรับรอง ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่อยู่เหนือกฎหมายคนเข้าเมืองและกฎหมายการทำงานของคนต่างด้าว” นายสุรพงษ์กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น