รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งเจ้าหน้าที่ทุกจังหวัดและจากกรมสุขภาพจิต ให้เยียวยาและคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตผู้ประสบภัยน้ำท่วม ขณะนี้ตรวจพบเครียดแล้วกว่า 9 หมื่นราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 3,933 ราย มีอาการซึมเศร้า 5,601ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย 783 ราย และต้องติดตามดูแลใกล้ชิด 1,211 ราย แนะผู้ประสบภัยให้พูดคุยกัน เพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวลลง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลด้านสุขภาพของผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ได้ระดมนักจิตวิทยา จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช จากกรมสุขภาพจิต จากโรงพยาบาลและ สำนักงานสาธารณสุขทุกแห่ง ออกเยียวยาดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดและครอบคลุมทั้งที่อยู่ตามบ้าน ตามจุดอพยพ และจุดพักพิง เนื่องจากประชาชนมีปัญหาเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่วิกฤตฉุกเฉิน เช่น ที่ปทุมธานี นนทบุรี ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่เป็นชุมชนบ้านจัดสรร และเป็นคนนอกพื้นที่
นายวิทยากล่าวต่อว่า ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จาก 37 จังหวัด พบประชาชนมีความเครียด 93,739 ราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 3,933 ราย ซึมเศร้า 5,601 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 783 ราย ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดี วิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดเบื้องต้น ขอให้ประชาชนพูดคุยกัน ร่วมปรับทุกข์กัน เพราะทุกคนล้วนเผชิญปัญหาไม่แตกต่างกัน วิธีการดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลลงได้
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 6,588 ครั้ง มีผู้รับบริการ 671,084 ราย โรคที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หวัด โรคผิวหนัง และปวดศีรษะ ได้จัดส่งยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว 1,544,250 ชุด ยาตำราหลวง 104,500 ชุด ยาแก้น้ำกัดเท้า 245,000 ชุด เตียงพับ 100 หลัง เปลพับ 100 ชุด เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสนาม 28 หลัง เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 70 ลำ เรือพายพลาสติก 600 ลำ เรือพายไฟเบอร์กลาส 100 ลำ เครื่องกรองน้ำ1,950 ชุด เสื้อชูชีพ 1,397 ตัว และได้สำรองยาและเวชภัณฑ์ไว้ที่ส่วนกลาง คือ เซรุ่มแก้พิษงู 3,500 ชุด วัสดุและเคมีภัณฑ์สำหรับการฟื้นฟูสภาพและสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์อนามัย 12 เขต และวัสดุและเคมีภัณฑ์สำหรับการควบคุมโรคที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 เขต
โดยในวันนี้ วอร์รูมได้มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.ให้ตรวจสอบจำนวนเตียงว่างในกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เหล่าทัพ โรงเรียนแพทย์ ภาคเอกชนและในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และเตียงว่างโรงพยาบาลในปริมณฑล ประกอบด้วย จ.ราชบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง สำรองไว้ประมาณ 3,000 เตียง 2.บริหารจัดการการส่งต่อผู้ป่วยมาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจากกรุงเทพมหานคร ไปจังหวัดปริมณฑล เช่น ระยอง จันทบุรี ชลบุรี เป็นต้น 3.ให้มีการสนับสนุนทีมแพทย์มาช่วยโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลด้านสุขภาพของผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่า ได้ระดมนักจิตวิทยา จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช จากกรมสุขภาพจิต จากโรงพยาบาลและ สำนักงานสาธารณสุขทุกแห่ง ออกเยียวยาดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุดและครอบคลุมทั้งที่อยู่ตามบ้าน ตามจุดอพยพ และจุดพักพิง เนื่องจากประชาชนมีปัญหาเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่วิกฤตฉุกเฉิน เช่น ที่ปทุมธานี นนทบุรี ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่เป็นชุมชนบ้านจัดสรร และเป็นคนนอกพื้นที่
นายวิทยากล่าวต่อว่า ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จาก 37 จังหวัด พบประชาชนมีความเครียด 93,739 ราย ในจำนวนนี้เครียดสูง 3,933 ราย ซึมเศร้า 5,601 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 783 ราย ต้องติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดี วิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดเบื้องต้น ขอให้ประชาชนพูดคุยกัน ร่วมปรับทุกข์กัน เพราะทุกคนล้วนเผชิญปัญหาไม่แตกต่างกัน วิธีการดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลลงได้
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 6,588 ครั้ง มีผู้รับบริการ 671,084 ราย โรคที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หวัด โรคผิวหนัง และปวดศีรษะ ได้จัดส่งยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว 1,544,250 ชุด ยาตำราหลวง 104,500 ชุด ยาแก้น้ำกัดเท้า 245,000 ชุด เตียงพับ 100 หลัง เปลพับ 100 ชุด เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสนาม 28 หลัง เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 70 ลำ เรือพายพลาสติก 600 ลำ เรือพายไฟเบอร์กลาส 100 ลำ เครื่องกรองน้ำ1,950 ชุด เสื้อชูชีพ 1,397 ตัว และได้สำรองยาและเวชภัณฑ์ไว้ที่ส่วนกลาง คือ เซรุ่มแก้พิษงู 3,500 ชุด วัสดุและเคมีภัณฑ์สำหรับการฟื้นฟูสภาพและสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์อนามัย 12 เขต และวัสดุและเคมีภัณฑ์สำหรับการควบคุมโรคที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค 12 เขต
โดยในวันนี้ วอร์รูมได้มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.ให้ตรวจสอบจำนวนเตียงว่างในกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เหล่าทัพ โรงเรียนแพทย์ ภาคเอกชนและในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และเตียงว่างโรงพยาบาลในปริมณฑล ประกอบด้วย จ.ราชบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง สำรองไว้ประมาณ 3,000 เตียง 2.บริหารจัดการการส่งต่อผู้ป่วยมาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจากกรุงเทพมหานคร ไปจังหวัดปริมณฑล เช่น ระยอง จันทบุรี ชลบุรี เป็นต้น 3.ให้มีการสนับสนุนทีมแพทย์มาช่วยโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ประสบอุทกภัย