วอร์รูม สธ.เผยยอดผู้รับบริการทางการแพทย์พุ่ง 5 แสนราย เร่งกระจายยาชุดน้ำท่วมช่วยเหลือรวม 1.5 ล้านชุด ย้ำปรุงอาหารระวังเสี่ยงบูด-เน่า
วันนี้ (14 ต.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีอุทกภัย (วอร์รูม) สธ.ว่า สำหรับสถานการณ์ทั่วไปที่ยังคงมีอุทกภัยทั้งหมด 26 จังหวัด โดย สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการไปแล้ว 4,905 ครั้ง รวมผู้มาใช้บริการตรวจสุขภาพกายสะสมจำนวน 516,748 ราย โรคที่พบยังคงเป็น น้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หวัด ในส่วนผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิวหนัง หรือมีบาดแผลไม่ควรที่จะย่ำน้ำ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีมาใช้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มากที่สุด ได้แก่ จ.พิจิตร 112,524 ราย จ.นนทบุรี 82,182 ราย จ.นครสวรรค์ 60,280 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมนั้นมีทั้งหมด 289 ราย แบ่งเป็นจมน้ำ 245 ราย น้ำพัด 20 ราย ต้นไม่ล้มทับ 2 ราย ดินสไลด์ทับ 14 ราย และไฟฟ้าช็อต 8 ราย สูญหาย 2 ราย คือ ที่แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์

นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม สธ.ยังคงสำรองยาและเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ส่วนกลางได้กระจายยาชุดน้ำท่วม ไปแล้ว 1,510,250 ชุด ซึ่งถือว่าเพียงพอแล้ว โดยมีทั้งยาตำราหลวง ยารักษาน้ำกัดเท้า และเซรุ่มแก้พิษงู เนื่องจากน้ำท่วมสัตว์มีพิษจะเข้ามาอาศัยตามน้ำขังมากมาย จึงอยากฝากให้ประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพให้ดี ทั้งนี้ในส่วนของยาสมุนไพรจะมีการสนับสนุนยาสมุนไพรจากหน่วยงานอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เจลล้างมือ ยาหม่องสมุนไพร ใช้ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อ
“นอกจากนี้อยากฝากถึงเรื่องการปรุงอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยว่า แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นการปรุงด้วยกะทิ เพราะเสี่ยงต่อการบูดได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การเปิดโครงการปรุงอาหารในพื้นที่ก็ยังถือเป็นเรื่องดีเพราะเป็นอาหารสดโภชนาการดีกว่า และประชาชนสามารถทานอาหารได้ทันที แต่ต้องระวังเรื่องของบูด ของเสียด้วย” นพ.ไพจิตร์กล่าว
รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า ในด้าน โรงพยาบาลที่ดีรับความเสียหายจำนวน 436 แห่งนั้น สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ขนาดใหญ่ คงต้องปล่อยให้ท่วมไป และขณะนี้ปัญหาคือ ไฟฟ้าอาจไม่พอใช้ ดังนั้น ได้สั่งการให้ รพ.แต่ละแห่งสามารถสั่งเครื่องปั่นไฟสำรองจากภาคเอกชนได้ โดยใช้งบสำรองจ่ายที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อนุมัติ
วันนี้ (14 ต.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีอุทกภัย (วอร์รูม) สธ.ว่า สำหรับสถานการณ์ทั่วไปที่ยังคงมีอุทกภัยทั้งหมด 26 จังหวัด โดย สธ.ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการไปแล้ว 4,905 ครั้ง รวมผู้มาใช้บริการตรวจสุขภาพกายสะสมจำนวน 516,748 ราย โรคที่พบยังคงเป็น น้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ไข้หวัด ในส่วนผู้ที่ป่วยด้วยโรคผิวหนัง หรือมีบาดแผลไม่ควรที่จะย่ำน้ำ สำหรับพื้นที่ซึ่งมีมาใช้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มากที่สุด ได้แก่ จ.พิจิตร 112,524 ราย จ.นนทบุรี 82,182 ราย จ.นครสวรรค์ 60,280 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมนั้นมีทั้งหมด 289 ราย แบ่งเป็นจมน้ำ 245 ราย น้ำพัด 20 ราย ต้นไม่ล้มทับ 2 ราย ดินสไลด์ทับ 14 ราย และไฟฟ้าช็อต 8 ราย สูญหาย 2 ราย คือ ที่แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม สธ.ยังคงสำรองยาและเวชภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ส่วนกลางได้กระจายยาชุดน้ำท่วม ไปแล้ว 1,510,250 ชุด ซึ่งถือว่าเพียงพอแล้ว โดยมีทั้งยาตำราหลวง ยารักษาน้ำกัดเท้า และเซรุ่มแก้พิษงู เนื่องจากน้ำท่วมสัตว์มีพิษจะเข้ามาอาศัยตามน้ำขังมากมาย จึงอยากฝากให้ประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพให้ดี ทั้งนี้ในส่วนของยาสมุนไพรจะมีการสนับสนุนยาสมุนไพรจากหน่วยงานอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เจลล้างมือ ยาหม่องสมุนไพร ใช้ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อ
“นอกจากนี้อยากฝากถึงเรื่องการปรุงอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยว่า แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นการปรุงด้วยกะทิ เพราะเสี่ยงต่อการบูดได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การเปิดโครงการปรุงอาหารในพื้นที่ก็ยังถือเป็นเรื่องดีเพราะเป็นอาหารสดโภชนาการดีกว่า และประชาชนสามารถทานอาหารได้ทันที แต่ต้องระวังเรื่องของบูด ของเสียด้วย” นพ.ไพจิตร์กล่าว
รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า ในด้าน โรงพยาบาลที่ดีรับความเสียหายจำนวน 436 แห่งนั้น สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ขนาดใหญ่ คงต้องปล่อยให้ท่วมไป และขณะนี้ปัญหาคือ ไฟฟ้าอาจไม่พอใช้ ดังนั้น ได้สั่งการให้ รพ.แต่ละแห่งสามารถสั่งเครื่องปั่นไฟสำรองจากภาคเอกชนได้ โดยใช้งบสำรองจ่ายที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อนุมัติ