แพทยสภา ชี้ หาก สธ.-ก.พ.มอบทุน พ่วงตำแหน่งแก่แพทย์ในระหว่างเรียน ช่วยหยุดปัญหาแพทย์ลาออกก่อนใช้ทุนครบได้
วานนี้ (13 ต.ค.) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาเรื่องแพทย์ใช้ทุนลาออก ว่า ขณะนี้อัตราการรับนักศึกษาแพทย์เฉพาะทางนั้นมีอยู่ราว 1,000 อัตราต่อปี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ทุนเพียงแค่ครึ่งหนึ่ง คือ 500 คน อีกครึ่งต้องหาทุนเรียนเอง จากกระทรวงอื่น หรือเรียนด้วยทุนตนเอง เพราะระหว่างเรียนมีรายได้ต่ำกว่าเงินเดือน กว่าครึ่งแพทย์ส่วนหนึ่งจึงต้องลาออกก่อนกำหนด 3 ปี เพื่อทำงานหาทุนเรียนต่อ ส่วนมากมักเลือกเข้าทำงานในคลินิกเสริมความงามเพราะรายได้ดี ก่อนลาออกไปเรียนในปีการศึกษาถัดไป
รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ของแพทย์ชนบทในปี 2553 นั้น มีแพทย์ใช้ทุนส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ประมาณปีละ 1,300-1,500 คน จากทั่วประเทศรวมใช้ทุน 3 ปี มีราว 4,000 คน หากไม่มีการลาออกปัญหาการขาดแคลนแพทย์ จะลดลงทันที กว่าครึ่งหนึ่ง โดยปัญหาที่ลาออกเพราะ สธ.ไม่มีทุนให้แพทย์ทุกคนมาเรียน ตลอดจนปัญหาคุณภาพชีวิตของแพทย์ในชนบทแต่ละพื้นที่ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร จึงควรเริ่มด้วยการศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของแพทย์ที่ลาออกเพื่อแก้ไขในเชิงบวก ก่อนจะออกมาตรการเชิงลบในการบังคับใช้ทุนด้วยการเพิ่มเงินค่าปรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่แพทย์บางคนเลือกออกจากชนบท ก่อนใช้ทุนครบกำหนดโดยมีทัศนคติ ว่า แพทย์ชนบทเป็นแค่แพทย์ชั้นสอง นั้น คิดเห็นอย่างไร รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แพทย์ชั้นสองที่กล่าวถึงไม่ใช่เรื่องของภาระงานที่หนักอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงความสามารถของแพทย์จบใหม่ด้วย เพราะบางครั้งแพทย์จบใหม่ยังอ่อนประสบการณ์ ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่คล่อง แต่ต้องถูกบังคับส่งไปทำหน้าที่ในชนบท ในขณะที่ประชาชนกลับมองหาแพทย์ชั้นหนึ่งที่เก่งและมีความสามารถ เฉพาะด้านมากกว่าหมอทั่วไป (GP) ทำให้แพทย์จบใหม่น้อยใจได้
“เชื่อว่า หาก สธ.และสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สนับสนุนทุนและตำแหน่งในระหว่างเรียนให้ได้ครบทุกคน พร้อมทั้งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตแพทยในชนบท เชื่อว่า สามารถตัดปัญหาแพทย์สมองไหลและตัดวงจรยอดนิยมในการเป็นแพทย์ประจำคลินิกเสริมความงามได้เช่นกัน” นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร กล่าว
วานนี้ (13 ต.ค.) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการแก้ปัญหาเรื่องแพทย์ใช้ทุนลาออก ว่า ขณะนี้อัตราการรับนักศึกษาแพทย์เฉพาะทางนั้นมีอยู่ราว 1,000 อัตราต่อปี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ทุนเพียงแค่ครึ่งหนึ่ง คือ 500 คน อีกครึ่งต้องหาทุนเรียนเอง จากกระทรวงอื่น หรือเรียนด้วยทุนตนเอง เพราะระหว่างเรียนมีรายได้ต่ำกว่าเงินเดือน กว่าครึ่งแพทย์ส่วนหนึ่งจึงต้องลาออกก่อนกำหนด 3 ปี เพื่อทำงานหาทุนเรียนต่อ ส่วนมากมักเลือกเข้าทำงานในคลินิกเสริมความงามเพราะรายได้ดี ก่อนลาออกไปเรียนในปีการศึกษาถัดไป
รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ของแพทย์ชนบทในปี 2553 นั้น มีแพทย์ใช้ทุนส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ประมาณปีละ 1,300-1,500 คน จากทั่วประเทศรวมใช้ทุน 3 ปี มีราว 4,000 คน หากไม่มีการลาออกปัญหาการขาดแคลนแพทย์ จะลดลงทันที กว่าครึ่งหนึ่ง โดยปัญหาที่ลาออกเพราะ สธ.ไม่มีทุนให้แพทย์ทุกคนมาเรียน ตลอดจนปัญหาคุณภาพชีวิตของแพทย์ในชนบทแต่ละพื้นที่ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร จึงควรเริ่มด้วยการศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของแพทย์ที่ลาออกเพื่อแก้ไขในเชิงบวก ก่อนจะออกมาตรการเชิงลบในการบังคับใช้ทุนด้วยการเพิ่มเงินค่าปรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่แพทย์บางคนเลือกออกจากชนบท ก่อนใช้ทุนครบกำหนดโดยมีทัศนคติ ว่า แพทย์ชนบทเป็นแค่แพทย์ชั้นสอง นั้น คิดเห็นอย่างไร รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า แพทย์ชั้นสองที่กล่าวถึงไม่ใช่เรื่องของภาระงานที่หนักอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงความสามารถของแพทย์จบใหม่ด้วย เพราะบางครั้งแพทย์จบใหม่ยังอ่อนประสบการณ์ ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่คล่อง แต่ต้องถูกบังคับส่งไปทำหน้าที่ในชนบท ในขณะที่ประชาชนกลับมองหาแพทย์ชั้นหนึ่งที่เก่งและมีความสามารถ เฉพาะด้านมากกว่าหมอทั่วไป (GP) ทำให้แพทย์จบใหม่น้อยใจได้
“เชื่อว่า หาก สธ.และสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สนับสนุนทุนและตำแหน่งในระหว่างเรียนให้ได้ครบทุกคน พร้อมทั้งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตแพทยในชนบท เชื่อว่า สามารถตัดปัญหาแพทย์สมองไหลและตัดวงจรยอดนิยมในการเป็นแพทย์ประจำคลินิกเสริมความงามได้เช่นกัน” นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร กล่าว