ม.ขอนแก่น ทุ่มกว่าพันล้านบาท ผุดโครงการสร้าง Medical Hub กว่า 24 ไร่ รับเปิดเสรีอาเซียน พร้อมเร่งผลิตบุคลากรด้านการแพทย์ หลังเจอปัญหาสมองไหลเข้า กทม.
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิบการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งภูมิภาค ว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ มีคณะที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ 6 คณะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น คณะแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะเทคโนโลยีด้านอาหาร และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ รวมทั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่มีศูนย์หัวใจสิริกิติ์
นับจากนี้ต่อไป มข.จะเปิดศูนย์ไต และศูนย์ตับ รวมถึงมีโครงการก่อสร้าง Medical Hub จำนวน 24 ไร่ ที่ใกล้ๆ กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และได้รับงบปะมาณซื้อเครื่องมือ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเหลือเพียงงบสร้างอาคารเท่านั้น โครงการนี้ทำให้เรามีความพร้อมทางด้านการแพทย์แบบครบวงจร นอกจากที่ มข.แล้วเรายังมีโรงพยาบาลขอนแก่น มีโรงพยาบาลเอกชนอีกหลายแห่ง ซึ่งมีความพร้อมในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องของความเชี่ยวชาญ ด้านการรักษาโรคเฉพาะด้าน มข.มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคติดต่อเขตร้อนได้ค่อนข้างแม่นยำ และรวดเร็วติดอันดับโลกและเอเชีย เนื่องจากมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยในภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้านมายาวนาน ดังนั้นขอนแก่นจึงเป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงพอสมควรในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
รศ.ดร.กิตติชัย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็จะเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น การเคลื่อนย้ายทุกๆ ด้าน ก็จะเสรี รวมถึงด้านการแพทย์ และด้านสุขภาพด้วย สำหรับการเตรียมตัวรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงในด้านการรักษา ทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น ยังสามารถขยายรองรับผู้ป่วยได้อีก ส่วนทางด้านเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น-ราม ได้ขยายโรงพยาบาลไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงพยาบาลราชพฤกษ์ กำลังจะไปสร้างโรงพยาบาลที่ใหม่พื้นที่ 150 ไร่ และโรงพยาบาลเวชธานี ก็มีผู้ป่วยเข้าไปรักษาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเอกชนยังสามารถขยายตัวรองรับผู้ป่วยได้อีก
แต่ปัญหาของโรงพยาบาลในขณะนี้ คือ ปัญหาสมองไหล เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ ได้มาดึงตัวบุคลากรทางด้านการแพทย์ที่มีประสบการณ์ไปค่อนข้างมาก เพื่อรองรับผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่ยอมจ่ายแพงๆ ทำให้เราต้องเร่งผลิตเจ้าหน้าที่ด้านนี้เพิ่ม โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อให้ตระหนักในการดูแลผู้ป่วย ส่วนด้านรายได้แน่นอนว่าของเราจะไม่เท่าเอกชน แต่เราจะพยายามที่จะทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รวมถึงจัดสวัสดิการให้เหมาะสม
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิบการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งภูมิภาค ว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ มีคณะที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ 6 คณะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น คณะแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะเทคโนโลยีด้านอาหาร และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ รวมทั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่มีศูนย์หัวใจสิริกิติ์
นับจากนี้ต่อไป มข.จะเปิดศูนย์ไต และศูนย์ตับ รวมถึงมีโครงการก่อสร้าง Medical Hub จำนวน 24 ไร่ ที่ใกล้ๆ กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และได้รับงบปะมาณซื้อเครื่องมือ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเหลือเพียงงบสร้างอาคารเท่านั้น โครงการนี้ทำให้เรามีความพร้อมทางด้านการแพทย์แบบครบวงจร นอกจากที่ มข.แล้วเรายังมีโรงพยาบาลขอนแก่น มีโรงพยาบาลเอกชนอีกหลายแห่ง ซึ่งมีความพร้อมในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องของความเชี่ยวชาญ ด้านการรักษาโรคเฉพาะด้าน มข.มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคติดต่อเขตร้อนได้ค่อนข้างแม่นยำ และรวดเร็วติดอันดับโลกและเอเชีย เนื่องจากมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยในภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้านมายาวนาน ดังนั้นขอนแก่นจึงเป็นศูนย์กลางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงพอสมควรในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
รศ.ดร.กิตติชัย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็จะเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้น การเคลื่อนย้ายทุกๆ ด้าน ก็จะเสรี รวมถึงด้านการแพทย์ และด้านสุขภาพด้วย สำหรับการเตรียมตัวรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงในด้านการรักษา ทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น ยังสามารถขยายรองรับผู้ป่วยได้อีก ส่วนทางด้านเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น-ราม ได้ขยายโรงพยาบาลไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงพยาบาลราชพฤกษ์ กำลังจะไปสร้างโรงพยาบาลที่ใหม่พื้นที่ 150 ไร่ และโรงพยาบาลเวชธานี ก็มีผู้ป่วยเข้าไปรักษาจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเอกชนยังสามารถขยายตัวรองรับผู้ป่วยได้อีก
แต่ปัญหาของโรงพยาบาลในขณะนี้ คือ ปัญหาสมองไหล เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ ได้มาดึงตัวบุคลากรทางด้านการแพทย์ที่มีประสบการณ์ไปค่อนข้างมาก เพื่อรองรับผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่ยอมจ่ายแพงๆ ทำให้เราต้องเร่งผลิตเจ้าหน้าที่ด้านนี้เพิ่ม โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำงานทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อให้ตระหนักในการดูแลผู้ป่วย ส่วนด้านรายได้แน่นอนว่าของเราจะไม่เท่าเอกชน แต่เราจะพยายามที่จะทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รวมถึงจัดสวัสดิการให้เหมาะสม