กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เล็งเปิดศูนย์ฯแสดงสินค้าฯเชียงใหม่ รับอาเซียน ขอเวลาซอฟโอเพ่นนิ่งนาน 1 ปี ดึงงานระดับจังหวัดเข้าจัด ฟากเอกชน มึน รูปแบบนี้ไม่มีที่ไหนทำ แค่ซอฟโอเพ่นนิ่งจัด 2 งานก็เพียงพอ จี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯศึกษาความผิดพลาด ศูนย์ฯม.สงขลาฯและ ม.ขอนแก่น เป็นครู
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จทันตามแผนที่วางไว้ พร้อมเปิดใช้งานได้ภายในกลางปี 2555 โดยเบื้องต้น กระทรวงฯมีแนวคิดจะเปิดเป็น ซอฟโอเพ่นนิ่ง เพื่อทดลองระบบ 1-1.5 ปี ในระหว่างนั้นก็เปิดหาผู้รับบริหารไปพร้อมกับเริ่มทำการตลาด แนะนำศูนย์ฯให้ผู้จัดงานในต่างประเทศได้รู้จัก และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ(แกรนด์โอเพ่นนิ่ง) ราวปี 2557 ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย หรือเออีซี
“โครงการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้า ฯเชียงใหม่ไม่ได้ล่าช้า โดยก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนงาน แต่ยอมรับว่า ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลแต่ละครั้ง ก็มีบ้าง ที่งานสะดุด เพราะศูนย์ฯนี้ เป็นโครงการระยะยาว หลายรัฐบาล แต่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็ให้ความสนใจ ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ในช่วงเปิด ซอฟโอเพ่นนิ่ง ปีแรก จะดึงงานระดับท้องถิ่นเข้ามาจัด เพื่อเป็นการทดสอบระบบ ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา มาวิเคราะห์ตลาด เพื่อวางแนวทางการบริหารศูนย์ควบคู่กันไป
*** ฉะ ไม่มีใครซอฟโอเพ่นนานเป็นปี****
ทางด้านนายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด อดีตนายกสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) หรือ TEA กล่าวว่า แนวคิด ซอฟโอเพ่นนิ่ง ของศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ ที่ว่า ระยะปีแรก จะนำงานท้องถิ่นเข้ามาจัด ควบคู่กับการออกทำตลาดในต่างประเทศ ถือเป็นแนวทางการบริหารที่ผิด และไม่มีใครเข้าทำกัน เพราะจะทำให้ โพสิชั่นนิ่ง ของศูนย์ไม่ตรงตามโจทย์ที่วางไว้ว่าจะให้เป็นศูนย์แสดงสินค้าระดับนานาชาติ และ ที่ระบุว่า ต้องใช้เวลาทดลองระบบนาน 1 ปีเศษ ก็มากเกินไป เพราะปกติศูนย์ใหม่ จะเปิดทดลองระบบเพียง 1-2 งาน ก็เพียงพอ
ในกรณีของศูนย์ฯเชียงใหม่ อาจให้หน่วยงาน หรือจัดหวัด จัดงาน ขึ้นมา 1 งาน เพื่อทดลองระบบของศูนย์ จากนั้นก็เปิดใช้งานจริง โดยในระหว่างนี้ หรือนับจากวันนี้ ต้องรีบหาผู้ที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ และ เริ่มทำการตลาด ออกเปิดตัว ให้ ผู้จัดงานในต่างประเทศรับรู้ โดยอาจจะไปร่วมกับงานโรดโชว์ในต่างประเทศ ที่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เข้าไปร่วมปีละ 16-17 งานอยู่แล้วก็ได้
“ ในช่วงระยะ 2 ปีนับจากนี้ ยังไม่สายเกินไป ที่จะทำการตลาด ให้กับศูนย์ เพราะต้องใช้ระยะเวลาแนะนำตัว และ บิดงาน เช่นกัน แต่ แนวคิด จะซอฟโอเพ่นนิ่งนานเป็นปี โดยเปิดให้งานระดับท้องถิ่น เข้ามาจัด จะเป็นการฉุดโพสิชั่นนิ่งศูนย์ฯให้ มองเป็นศูนย์แสดงสินค้าระดับท้องถิ่น ทำให้ งานที่จัดระดับอินเตอร์ จะไม่เข้าใช้ เพราะจะเสียภาพลักษณ์ของงานซึ่งการจัดงานเริ่มแรก เป็นการบอกถึงอนาคตของศูนย์ฯว่า ต่อไป จะรับงานแบบไหน ทางที่ดี รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะศึกษางานจากศูนย์แสดงสินค้า ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้วมาปรับให้ดี เพราะถึงวันนี้ ก็ยังมีงานเข้าใช้พื้นที่จำนวนน้อย และไม่ใช่งานระดับอินเตอร์”
***สอนรัฐบริหารศูนย์ฯตจว.ต้องคิดกลับ***
นายพรรธระพี กล่าวว่า การทำตลาดศูนย์แสดงสินค้าฯที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด จะต่างกันกับศูนย์ฯที่ตั้งในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งมีโลเกชั่นที่ดี เป็นที่สนใจของผู้จัดงานอยู่แล้ว ส่วน ในต่างจังหวัด ระยะแรก รัฐควรจะต้องให้งบสนับสนุนผู้จัดงาน เพื่อให้ นำงานเข้าไปจัดยังพื้นที่ เป็นการโปรโมตศูนย์ฯด้วยซ้ำไป ซึ่งตรงนี้
กระทรวงการท่องเที่ยวจะหารือกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นแนวทางก็ได้ แต่ที่จำเป็นเร่งด่วนคือ ต้องเริ่มทำตลาดประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักศูนย์ฯได้แล้ว เพราะขณะนี้ยอมรับว่า ผู้จัดงานหลายราย เริ่มเบื่อโลเกชั่นในกรุงทเพฯ และ มองหา สถานที่แปลกใหม่ สำหรับจัดงาน รัฐควรใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์
แหล่งข่าวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จทันตามแผนที่วางไว้ พร้อมเปิดใช้งานได้ภายในกลางปี 2555 โดยเบื้องต้น กระทรวงฯมีแนวคิดจะเปิดเป็น ซอฟโอเพ่นนิ่ง เพื่อทดลองระบบ 1-1.5 ปี ในระหว่างนั้นก็เปิดหาผู้รับบริหารไปพร้อมกับเริ่มทำการตลาด แนะนำศูนย์ฯให้ผู้จัดงานในต่างประเทศได้รู้จัก และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ(แกรนด์โอเพ่นนิ่ง) ราวปี 2557 ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย หรือเออีซี
“โครงการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้า ฯเชียงใหม่ไม่ได้ล่าช้า โดยก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนงาน แต่ยอมรับว่า ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายรัฐบาลแต่ละครั้ง ก็มีบ้าง ที่งานสะดุด เพราะศูนย์ฯนี้ เป็นโครงการระยะยาว หลายรัฐบาล แต่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็ให้ความสนใจ ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ในช่วงเปิด ซอฟโอเพ่นนิ่ง ปีแรก จะดึงงานระดับท้องถิ่นเข้ามาจัด เพื่อเป็นการทดสอบระบบ ต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา มาวิเคราะห์ตลาด เพื่อวางแนวทางการบริหารศูนย์ควบคู่กันไป
*** ฉะ ไม่มีใครซอฟโอเพ่นนานเป็นปี****
ทางด้านนายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการ บริษัทบางกอก เอ็กซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด อดีตนายกสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) หรือ TEA กล่าวว่า แนวคิด ซอฟโอเพ่นนิ่ง ของศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ ที่ว่า ระยะปีแรก จะนำงานท้องถิ่นเข้ามาจัด ควบคู่กับการออกทำตลาดในต่างประเทศ ถือเป็นแนวทางการบริหารที่ผิด และไม่มีใครเข้าทำกัน เพราะจะทำให้ โพสิชั่นนิ่ง ของศูนย์ไม่ตรงตามโจทย์ที่วางไว้ว่าจะให้เป็นศูนย์แสดงสินค้าระดับนานาชาติ และ ที่ระบุว่า ต้องใช้เวลาทดลองระบบนาน 1 ปีเศษ ก็มากเกินไป เพราะปกติศูนย์ใหม่ จะเปิดทดลองระบบเพียง 1-2 งาน ก็เพียงพอ
ในกรณีของศูนย์ฯเชียงใหม่ อาจให้หน่วยงาน หรือจัดหวัด จัดงาน ขึ้นมา 1 งาน เพื่อทดลองระบบของศูนย์ จากนั้นก็เปิดใช้งานจริง โดยในระหว่างนี้ หรือนับจากวันนี้ ต้องรีบหาผู้ที่จะเข้ามาบริหารศูนย์ และ เริ่มทำการตลาด ออกเปิดตัว ให้ ผู้จัดงานในต่างประเทศรับรู้ โดยอาจจะไปร่วมกับงานโรดโชว์ในต่างประเทศ ที่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เข้าไปร่วมปีละ 16-17 งานอยู่แล้วก็ได้
“ ในช่วงระยะ 2 ปีนับจากนี้ ยังไม่สายเกินไป ที่จะทำการตลาด ให้กับศูนย์ เพราะต้องใช้ระยะเวลาแนะนำตัว และ บิดงาน เช่นกัน แต่ แนวคิด จะซอฟโอเพ่นนิ่งนานเป็นปี โดยเปิดให้งานระดับท้องถิ่น เข้ามาจัด จะเป็นการฉุดโพสิชั่นนิ่งศูนย์ฯให้ มองเป็นศูนย์แสดงสินค้าระดับท้องถิ่น ทำให้ งานที่จัดระดับอินเตอร์ จะไม่เข้าใช้ เพราะจะเสียภาพลักษณ์ของงานซึ่งการจัดงานเริ่มแรก เป็นการบอกถึงอนาคตของศูนย์ฯว่า ต่อไป จะรับงานแบบไหน ทางที่ดี รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะศึกษางานจากศูนย์แสดงสินค้า ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้วมาปรับให้ดี เพราะถึงวันนี้ ก็ยังมีงานเข้าใช้พื้นที่จำนวนน้อย และไม่ใช่งานระดับอินเตอร์”
***สอนรัฐบริหารศูนย์ฯตจว.ต้องคิดกลับ***
นายพรรธระพี กล่าวว่า การทำตลาดศูนย์แสดงสินค้าฯที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด จะต่างกันกับศูนย์ฯที่ตั้งในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งมีโลเกชั่นที่ดี เป็นที่สนใจของผู้จัดงานอยู่แล้ว ส่วน ในต่างจังหวัด ระยะแรก รัฐควรจะต้องให้งบสนับสนุนผู้จัดงาน เพื่อให้ นำงานเข้าไปจัดยังพื้นที่ เป็นการโปรโมตศูนย์ฯด้วยซ้ำไป ซึ่งตรงนี้
กระทรวงการท่องเที่ยวจะหารือกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นแนวทางก็ได้ แต่ที่จำเป็นเร่งด่วนคือ ต้องเริ่มทำตลาดประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักศูนย์ฯได้แล้ว เพราะขณะนี้ยอมรับว่า ผู้จัดงานหลายราย เริ่มเบื่อโลเกชั่นในกรุงทเพฯ และ มองหา สถานที่แปลกใหม่ สำหรับจัดงาน รัฐควรใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์