รก.ผู้จัดการ กยศ.ห่วงปล่อยกู้ กรอ.โดยไม่กำหนดเงินเฟ้อตามแนวคิด “เสี่ยแมว” เสี่ยง เพราะจะทำให้คนแห่มากู้จำนวนมาก ขณะที่ปัญหา คือ หาเงินที่ใดมาปล่อยกู้ พร้อมเผยหารือ เลขาฯ กกอ.เบื้องต้น ศธ.จะรับปี 1 มาดูแลเอง ส่วน กยศ.จะดูแลผู้กู้เก่า ปี 2-4
นายเสริมเกียรติ ทัศนสุวรรณ รักษาการผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า จากการหารือกับ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ถึงแนวทางการปล่อยกู้เงินกองทุนเงินให้กู้ยืม ที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.ที่จะปล่อยกู้ในปีการศึกษา 2555 นั้น ล่าสุด เห็นร่วมกันว่า การปล่อยกู้ กรอ.ในระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ไปก่อน โดยงบประมาณในการปล่อยกู้นั้น กยศ.จะดูแลงบประมาณในส่วนของผู้กู้รายเก่า กยศ.ในระดับชั้นปีที่ 2-4 ส่วนผู้กู้รายใหม่ ซึ่งเป็น กรอ.ชั้นปีที่ 1 ให้ ศธ.ดูแล โดยในงบประมาณรายจ่ายปี 2555ได้ตั้งงบประมาณของ กยศ.ไว้ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท ส่วนการออกพระราชบัญญัติกองทุน กรอ.นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า จะผลักดัน พ.ร.บ.ได้รวดเร็วแค่ไหน หรือหากไม่ออกเป็น พ.ร.บ.ก็สามารถออกเป็นระเบียบของ กรอ.ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไปดูว่า ศธ.จะสามารถออกระเบียบได้หรือไม่
“ส่วนที่มีแนวนโยบายออกมาว่าจะให้กองทุน กยศ.มาอยู่ในการดูแลของ ศธ.นั้น หากจะตั้งกองทุน กยศ.ที่ ศธ.ก็จะต้องแก้กฎหมายให้พนักงานของกองทุน กยศ.ไปเป็นพนักงาน” รก.ผู้จัดการกองทุน กยศ.
นายเสริมเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.จะให้กู้ กรอ.โดยไม่มีเงินเฟ้อ ไม่มีดอกเบี้ยถือว่าอันตราย เนื่องจากหากย้อนดูช่วงปี 2549 ซึ่งมีการปล่อนกู้ กรอ.ช่วงแรกซึ่งปรับตามอัตราเงินเฟ้อ หรือดัชนีผู้บริโภคไม่เกิน 5% ตรงจุดนั้นทำให้ผู้ปกครอง นักศึกษาไม่กล้าจะกู้กันมาก เพราะกลัวเป็นหนี้เพราะเท่ากับว่าจะเสียดอกเบี้ยในช่วงนั้นประมาณ 3-4% โดยผู้กู้จะเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เรียนแล้วในขณะที่ กยศ.ยังไม่เสีย ซึ่งหากไม่มีการกำหนดแล้วจะทำให้มีผู้มากู้จำนวนมาก โดยคาดว่า จะมีผู้กู้ ประมาณ 5-6 แสนคน จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้วจะเอางบประมาณที่ไหนมา ทั้งนี้ในปี 2549 ที่ปล่อยกู้ กรอ.ปีแรกได้ตั้งเป้า ว่า จะมีผู้กู้ 5-6 แสนราย แต่มีผู้กู้แค่ 3.2 แสนรายเท่านั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ หาก ศธ.จะให้กู้เฉพาะสาขาที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาของประเทศจบแล้วมีงานทำแล้วเด็ก ที่เรียนสายสังคมศาสตร์ที่เข้าเรียนแล้วจะสามารถกู้ได้หรือไม่ในปี 2555 เพราะหากกู้ไม่ได้ก็อาจเป็นปัญหาได้
นายเสริมเกียรติ ทัศนสุวรรณ รักษาการผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า จากการหารือกับ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ถึงแนวทางการปล่อยกู้เงินกองทุนเงินให้กู้ยืม ที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต หรือ กรอ.ที่จะปล่อยกู้ในปีการศึกษา 2555 นั้น ล่าสุด เห็นร่วมกันว่า การปล่อยกู้ กรอ.ในระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ไปก่อน โดยงบประมาณในการปล่อยกู้นั้น กยศ.จะดูแลงบประมาณในส่วนของผู้กู้รายเก่า กยศ.ในระดับชั้นปีที่ 2-4 ส่วนผู้กู้รายใหม่ ซึ่งเป็น กรอ.ชั้นปีที่ 1 ให้ ศธ.ดูแล โดยในงบประมาณรายจ่ายปี 2555ได้ตั้งงบประมาณของ กยศ.ไว้ประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท ส่วนการออกพระราชบัญญัติกองทุน กรอ.นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า จะผลักดัน พ.ร.บ.ได้รวดเร็วแค่ไหน หรือหากไม่ออกเป็น พ.ร.บ.ก็สามารถออกเป็นระเบียบของ กรอ.ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไปดูว่า ศธ.จะสามารถออกระเบียบได้หรือไม่
“ส่วนที่มีแนวนโยบายออกมาว่าจะให้กองทุน กยศ.มาอยู่ในการดูแลของ ศธ.นั้น หากจะตั้งกองทุน กยศ.ที่ ศธ.ก็จะต้องแก้กฎหมายให้พนักงานของกองทุน กยศ.ไปเป็นพนักงาน” รก.ผู้จัดการกองทุน กยศ.
นายเสริมเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.จะให้กู้ กรอ.โดยไม่มีเงินเฟ้อ ไม่มีดอกเบี้ยถือว่าอันตราย เนื่องจากหากย้อนดูช่วงปี 2549 ซึ่งมีการปล่อนกู้ กรอ.ช่วงแรกซึ่งปรับตามอัตราเงินเฟ้อ หรือดัชนีผู้บริโภคไม่เกิน 5% ตรงจุดนั้นทำให้ผู้ปกครอง นักศึกษาไม่กล้าจะกู้กันมาก เพราะกลัวเป็นหนี้เพราะเท่ากับว่าจะเสียดอกเบี้ยในช่วงนั้นประมาณ 3-4% โดยผู้กู้จะเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เรียนแล้วในขณะที่ กยศ.ยังไม่เสีย ซึ่งหากไม่มีการกำหนดแล้วจะทำให้มีผู้มากู้จำนวนมาก โดยคาดว่า จะมีผู้กู้ ประมาณ 5-6 แสนคน จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้วจะเอางบประมาณที่ไหนมา ทั้งนี้ในปี 2549 ที่ปล่อยกู้ กรอ.ปีแรกได้ตั้งเป้า ว่า จะมีผู้กู้ 5-6 แสนราย แต่มีผู้กู้แค่ 3.2 แสนรายเท่านั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการกำหนดดอกเบี้ยตามอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ หาก ศธ.จะให้กู้เฉพาะสาขาที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาของประเทศจบแล้วมีงานทำแล้วเด็ก ที่เรียนสายสังคมศาสตร์ที่เข้าเรียนแล้วจะสามารถกู้ได้หรือไม่ในปี 2555 เพราะหากกู้ไม่ได้ก็อาจเป็นปัญหาได้