คณะทำงานด้านวิชาการกลูโคซามีน ถูกแขวนลอย ไร้บทบาทหลังตั้งรัฐบาลใหม่ ส่งผลให้ยากลูโคซามีน ไม่คืบ
เมื่อวันที่ 22 กันยายน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา หนึ่งในคณะทำงานด้านวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการศึกษาข้อมูลยาเพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (กลูโคซามีน) ว่า จากการศึกษาคณะทำงานด้านวิชาการ ได้มีข้อสรุปถึงกรณีดังกล่าวว่า ความคุ้มค่าของยาดังกล่าวในการใช้รักษาโรค พบว่า แทบไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย แต่คณะทำงานฯไม่สามารถนำเสนอต่อกรมบัญชีกลางได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้หน้าที่ของคณะทำงานฯ สิ้นสุดลงโดยปริยาย ทั้งนี้ นอกจากคณะทำงานฯ ยังมีคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทยสภา และราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป แต่ไม่ทราบว่ามีการสรุปอย่างไร
“ขณะนี้ถือว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีความคืบหน้าใดๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง ต้องนำรายชื่อคณะทำงาน และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง เพื่อให้มีอำนาจตามกฎหมาย และนำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอต่อกรมบัญชีกลางเพื่อพิจารณาแนวทางในการ ออกคำสั่ง การใช้ยาเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมต่อไป” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการออกประกาศชั่วคราวของกรมบัญชีกลาง ในการเบิกจ่ายยากลูโคซามีนนั้น แน่นอนว่า ทุกฝ่ายรับทราบ แต่การเสนอข้อมูลวิชาการทุกอย่างเข้าสู่กรมฯ คณะทำงานที่ถูกตั้งขึ้นมาจะไม่สามารถดำเนินการได้เอง หาก ครม.ยังไม่รับทราบและยืนยัน ดังนั้น คณะทำงานจึงเป็นเหมือนสุญญากาศในขณะนี้ ซึ่งเรื่องจะเดินหน้าต่ออย่างไรตนก็ไม่อาจให้คำตอบได้
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า สำหรับเรื่องการเบิกจ่ายยาข้อเข่าเสื่อมตามมติของกรมบัญชีกลางนั้น คงเป็นแนวทางที่สิ้นสุดแล้ว และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ไม่น่าใช่ตอนนี้ ส่วนที่เคยมีข่าวว่าตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทบทวนเรื่องนี้ เท่าที่ทราบไม่มีการเรียกประชุม คงไม่มีการหารือประเด็นดังกล่าวแล้ว แต่เชื่อว่าในอนาคตจะเป็นการหารือประเด็นยาตัวอื่นมากกว่า
อนึ่ง เงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางประกาศใช้ชั่วคราว โดยหลักสำคัญในการพิจารณาของแพทย์ผู้สั่งยา ประกอบด้วย 1.กลุ่มยากลูโคซามีน มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมในบางกลุ่มเท่านั้น และต้องเป็นแพทย์ทางออร์โธปิดิกส์ แพทย์ไขข้ออักเสบ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2.การให้ใช้ยาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีการกำหนดแนวเวชปฏิบัติ คือ มีเงื่อนไขข้อบ่งชี้ และระยะเวลาในการใช้ยา ซึ่งตามแนวปฏิบัติบริการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2553 ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย คือ ไม่ให้ใช้ ในการป้องกันข้อเสื่อม แต่ให้ใช้ยาในช่วงแรก 3 เดือน แล้วประเมินผลการรักษาว่าผู้ป่วยให้การตอบรับการใช้ยาหรือไม่ หากอาการดีขึ้นก็ให้ใช้ต่อจนถึง 6 เดือน แล้วหยุดยา แต่หากรายใดประเมินผลจากการใช้ยาแล้ว 3 เดือน ไม่ดีขึ้นก็ให้หยุดการใช้ยา
เมื่อวันที่ 22 กันยายน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา หนึ่งในคณะทำงานด้านวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการศึกษาข้อมูลยาเพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (กลูโคซามีน) ว่า จากการศึกษาคณะทำงานด้านวิชาการ ได้มีข้อสรุปถึงกรณีดังกล่าวว่า ความคุ้มค่าของยาดังกล่าวในการใช้รักษาโรค พบว่า แทบไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย แต่คณะทำงานฯไม่สามารถนำเสนอต่อกรมบัญชีกลางได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้หน้าที่ของคณะทำงานฯ สิ้นสุดลงโดยปริยาย ทั้งนี้ นอกจากคณะทำงานฯ ยังมีคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทยสภา และราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป แต่ไม่ทราบว่ามีการสรุปอย่างไร
“ขณะนี้ถือว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีความคืบหน้าใดๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง ต้องนำรายชื่อคณะทำงาน และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง เพื่อให้มีอำนาจตามกฎหมาย และนำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอต่อกรมบัญชีกลางเพื่อพิจารณาแนวทางในการ ออกคำสั่ง การใช้ยาเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมต่อไป” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการออกประกาศชั่วคราวของกรมบัญชีกลาง ในการเบิกจ่ายยากลูโคซามีนนั้น แน่นอนว่า ทุกฝ่ายรับทราบ แต่การเสนอข้อมูลวิชาการทุกอย่างเข้าสู่กรมฯ คณะทำงานที่ถูกตั้งขึ้นมาจะไม่สามารถดำเนินการได้เอง หาก ครม.ยังไม่รับทราบและยืนยัน ดังนั้น คณะทำงานจึงเป็นเหมือนสุญญากาศในขณะนี้ ซึ่งเรื่องจะเดินหน้าต่ออย่างไรตนก็ไม่อาจให้คำตอบได้
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า สำหรับเรื่องการเบิกจ่ายยาข้อเข่าเสื่อมตามมติของกรมบัญชีกลางนั้น คงเป็นแนวทางที่สิ้นสุดแล้ว และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ไม่น่าใช่ตอนนี้ ส่วนที่เคยมีข่าวว่าตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทบทวนเรื่องนี้ เท่าที่ทราบไม่มีการเรียกประชุม คงไม่มีการหารือประเด็นดังกล่าวแล้ว แต่เชื่อว่าในอนาคตจะเป็นการหารือประเด็นยาตัวอื่นมากกว่า
อนึ่ง เงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางประกาศใช้ชั่วคราว โดยหลักสำคัญในการพิจารณาของแพทย์ผู้สั่งยา ประกอบด้วย 1.กลุ่มยากลูโคซามีน มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมในบางกลุ่มเท่านั้น และต้องเป็นแพทย์ทางออร์โธปิดิกส์ แพทย์ไขข้ออักเสบ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2.การให้ใช้ยาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีการกำหนดแนวเวชปฏิบัติ คือ มีเงื่อนไขข้อบ่งชี้ และระยะเวลาในการใช้ยา ซึ่งตามแนวปฏิบัติบริการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2553 ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย คือ ไม่ให้ใช้ ในการป้องกันข้อเสื่อม แต่ให้ใช้ยาในช่วงแรก 3 เดือน แล้วประเมินผลการรักษาว่าผู้ป่วยให้การตอบรับการใช้ยาหรือไม่ หากอาการดีขึ้นก็ให้ใช้ต่อจนถึง 6 เดือน แล้วหยุดยา แต่หากรายใดประเมินผลจากการใช้ยาแล้ว 3 เดือน ไม่ดีขึ้นก็ให้หยุดการใช้ยา