กศน.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ “ปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงชน” ร่วมหาหนทางแก้ปัญหาการศึกษาระดับโลก
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (รองเลขาธิการ กศน.) กล่าวถึงการประชุม Regional Meeting of National EFA coordinators โดยมี ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ และผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการเป็นคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแต่ละประเทศสมาชิกองค์กร UNESCO เกี่ยวกับปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงชน โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์แต่ละประเทศ ได้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน 6 ประการ
ได้แก่ 1.การขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียน 2.การประกันโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ 3.การตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ 4.การพัฒนาคุณภาพของการส่งเสริมการรู้หนังสือให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ของกลุ่มประชากรผู้ไม่รู้หนังสือ 5.การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของชายและหญิงในการได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมวิชาและมัธยมศึกษา และ 6.การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ดร.ชัยยศกล่าวต่อไปว่า นอกจากเป้าหมายสำคัญทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว ในการประชุมดังกล่าวยังได้อภิปรายกันถึงแนวโน้มในอนาคต (ปี พ.ศ. 2558) ว่าผลการดำเนินงานจะบรรลุผลอย่างไรและควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่คาดว่าปัญหาต่างๆ ทางการศึกษาของโลกยังไม่หมดไปง่ายๆ และยังจะต้องเพิ่มความเข้มข้นของการทำงานให้บรรลุเป้าหมายมากขึ้น โดยเฉพาะด้านคุณภาพการศึกษา
นอกเหนือจากการประชุมดังกล่าวแล้วยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถาบันพัฒนาการศึกษาของเกาหลี (Korea Education Development Institute หรือ KEDI) และสถาบันวิจัยแห่งเกาหลีเพื่อการศึกษาด้านอาชีพและการฝึกอบรม (Korea Research Institute for Vocational Education and Training หรือ KRIVET) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของเกาหลี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่จะส่งผลต่อการพัฒนารายได้ของประชาชน รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่สำนักงาน กศน.ของไทยควรจะได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่าง 2 สถาบันด้วย
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (รองเลขาธิการ กศน.) กล่าวถึงการประชุม Regional Meeting of National EFA coordinators โดยมี ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ และผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการเป็นคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนความก้าวหน้าของการดำเนินงานของแต่ละประเทศสมาชิกองค์กร UNESCO เกี่ยวกับปฏิญญาการศึกษาเพื่อปวงชน โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์แต่ละประเทศ ได้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน 6 ประการ
ได้แก่ 1.การขยายโอกาสทางการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียน 2.การประกันโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ 3.การตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ 4.การพัฒนาคุณภาพของการส่งเสริมการรู้หนังสือให้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 ของกลุ่มประชากรผู้ไม่รู้หนังสือ 5.การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของชายและหญิงในการได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมวิชาและมัธยมศึกษา และ 6.การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ดร.ชัยยศกล่าวต่อไปว่า นอกจากเป้าหมายสำคัญทั้ง 6 ประการข้างต้นแล้ว ในการประชุมดังกล่าวยังได้อภิปรายกันถึงแนวโน้มในอนาคต (ปี พ.ศ. 2558) ว่าผลการดำเนินงานจะบรรลุผลอย่างไรและควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่คาดว่าปัญหาต่างๆ ทางการศึกษาของโลกยังไม่หมดไปง่ายๆ และยังจะต้องเพิ่มความเข้มข้นของการทำงานให้บรรลุเป้าหมายมากขึ้น โดยเฉพาะด้านคุณภาพการศึกษา
นอกเหนือจากการประชุมดังกล่าวแล้วยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถาบันพัฒนาการศึกษาของเกาหลี (Korea Education Development Institute หรือ KEDI) และสถาบันวิจัยแห่งเกาหลีเพื่อการศึกษาด้านอาชีพและการฝึกอบรม (Korea Research Institute for Vocational Education and Training หรือ KRIVET) ซึ่งเป็นสถาบันที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตของเกาหลี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่จะส่งผลต่อการพัฒนารายได้ของประชาชน รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่สำนักงาน กศน.ของไทยควรจะได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่าง 2 สถาบันด้วย