สพฐ.สนองแนวคิด รมว.ศธ.เตรียมทำหลักสูตรสำเร็จรูป แบ่งเป็น 5 ออปชันให้โรงเรียนเลือกใช้ โดยแบ่งสัดส่วนการเรียนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติแตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการปั้นเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งในต่างจังหวัดที่มีอัตราเรียนต่อน้อยอาจกำหนดสัดส่วนเรียนวิชาการแค่ ร้อยละ 30
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิกาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ขณะนี้ สพฐ.เตรียมปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดให้ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ต้องการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และให้การจัดการศึกษาตอบสนองบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่ง สพฐ.เห็นว่า สิ่งที่จะพอดำเนินการได้ทันทีภายใต้โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันโดยไม่ต้องไปเสียเวลาเป็นปีเพื่อปรับรื้อหลักสูตร คือ การปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ออกมาเป็น 5 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหลักสูตรฉบับปัจจุบันกำหนดสัดส่วนเวลาเรียนโดยแบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน ร้อยละ 70 และการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน ร้อยละ 30 ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับโรงเรียนในชนบท นักเรียนตามชนบทเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมแล้วไม่ได้มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยทุกคนเหมือนนักเรียนของโรงเรียนในเมือง ไม่จำเป็นต้องเรียนวิชาการมากเกินจำเป็น แต่ควรเน้นฝึกปฏิบัติเพื่อให้เขามีทักษะความรู้ติดตัวสามารถใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้หลังจบการศึกษา
เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงเตรียมที่จะแตกหลักสูตรแกนกลางออกมาเป็น 5 ออปชัน ซึ่งมีสัดส่วนเวลาเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและภาคปฏิบัตินอกห้องเรียนลดหลั่นกันไป เริ่มตั้งแต่ 70-30 และจะทยอยลงสัดส่วนการเรียนวิชาการลงจนเหลือ 30-70 ในออปชันสุดท้าย วางการลดเวลาเรียนวิชาการลงก็เพื่อเพิ่มเวลาให้กับการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการลดเวลาเรียนวิชาการลง อาจต้องบูรณาการการเรียน 8 กลุ่มสาระวิชาไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดชั่วโมงเรียน จาก 8 กลุ่มสาระวิชาอาจเหลือบูรณาการเหลือแค่ 5 กลุ่มในบางออปชัน ทั้งนี้ โรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณาเลือกเองว่าจะจัดการเรียนการสอนตามออปชันใด เพื่อให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่โรงเรียน ครู มากขึ้นไป สพฐ.ได้มอบให้สำนักวิชาการและมารตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สวก.) ไปจัดทำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของแต่ละออฟชั่นออกมาเป็นแนวทางให้โรงเรียนนำไปประยุกต์ใช้ โดยจะทำเป็นคู่มือแจกไปตามสถานศึกษา และเตรียมดำเนินการตามนโยบายนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
“ ต่อไปโรงเรียนแต่ละแห่งจะจัดการสอนไม่เหมือนกัน แตกต่างไปตามเป้าหมายของนักเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่จริงๆ แล้ว ความคาดหวังของ ศธ.นั้น ไม่ได้ต้องการให้นักเรียนที่จบมัธยม มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยทุกคน แต่ต้องการให้สามารถนำเอาความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น รูปแบบการจัดการศึกษาต้องมีความหลากหลาย เราไม่ต้องการให้เด็กเรียนอยู่ในบล็อกเดียวกัน คือ เน้นเรียนวิชาการเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและเป็นการลงทุนทางการศึกษาที่ไม่คุ้มค่า เด็กต้องเรียนไปเพื่อทำงานไม่ใช่เรียนจบไปรองาน” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิกาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ขณะนี้ สพฐ.เตรียมปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดให้ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ต้องการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และให้การจัดการศึกษาตอบสนองบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่ง สพฐ.เห็นว่า สิ่งที่จะพอดำเนินการได้ทันทีภายใต้โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันโดยไม่ต้องไปเสียเวลาเป็นปีเพื่อปรับรื้อหลักสูตร คือ การปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ออกมาเป็น 5 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างหลักสูตรฉบับปัจจุบันกำหนดสัดส่วนเวลาเรียนโดยแบ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน ร้อยละ 70 และการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน ร้อยละ 30 ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับโรงเรียนในชนบท นักเรียนตามชนบทเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมแล้วไม่ได้มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยทุกคนเหมือนนักเรียนของโรงเรียนในเมือง ไม่จำเป็นต้องเรียนวิชาการมากเกินจำเป็น แต่ควรเน้นฝึกปฏิบัติเพื่อให้เขามีทักษะความรู้ติดตัวสามารถใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้หลังจบการศึกษา
เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงเตรียมที่จะแตกหลักสูตรแกนกลางออกมาเป็น 5 ออปชัน ซึ่งมีสัดส่วนเวลาเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและภาคปฏิบัตินอกห้องเรียนลดหลั่นกันไป เริ่มตั้งแต่ 70-30 และจะทยอยลงสัดส่วนการเรียนวิชาการลงจนเหลือ 30-70 ในออปชันสุดท้าย วางการลดเวลาเรียนวิชาการลงก็เพื่อเพิ่มเวลาให้กับการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน อย่างไรก็ตามเมื่อมีการลดเวลาเรียนวิชาการลง อาจต้องบูรณาการการเรียน 8 กลุ่มสาระวิชาไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดชั่วโมงเรียน จาก 8 กลุ่มสาระวิชาอาจเหลือบูรณาการเหลือแค่ 5 กลุ่มในบางออปชัน ทั้งนี้ โรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณาเลือกเองว่าจะจัดการเรียนการสอนตามออปชันใด เพื่อให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่โรงเรียน ครู มากขึ้นไป สพฐ.ได้มอบให้สำนักวิชาการและมารตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สวก.) ไปจัดทำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของแต่ละออฟชั่นออกมาเป็นแนวทางให้โรงเรียนนำไปประยุกต์ใช้ โดยจะทำเป็นคู่มือแจกไปตามสถานศึกษา และเตรียมดำเนินการตามนโยบายนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
“ ต่อไปโรงเรียนแต่ละแห่งจะจัดการสอนไม่เหมือนกัน แตกต่างไปตามเป้าหมายของนักเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่จริงๆ แล้ว ความคาดหวังของ ศธ.นั้น ไม่ได้ต้องการให้นักเรียนที่จบมัธยม มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยทุกคน แต่ต้องการให้สามารถนำเอาความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น รูปแบบการจัดการศึกษาต้องมีความหลากหลาย เราไม่ต้องการให้เด็กเรียนอยู่ในบล็อกเดียวกัน คือ เน้นเรียนวิชาการเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและเป็นการลงทุนทางการศึกษาที่ไม่คุ้มค่า เด็กต้องเรียนไปเพื่อทำงานไม่ใช่เรียนจบไปรองาน” นายชินภัทร กล่าว