คสรท.ยื่นหนังสือ “ยิ่งลักษณ์” 18 ส.ค.นี้ วอนหนุนร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับของแรงงาน ดัน สปส.เป็นองค์กรอิสระขึ้นอยู่กับสำนักนายกฯ เพิ่มตัวแทนฝ่ายแรงงาน หวังมีระบบตรวจสอบมากขึ้น หลังร่างกฎหมายสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คาอยู่ในวุฒิสภา แนะถอนร่างกฎหมายออกหรือปล่อยให้ตกไป
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยถึงผลประชุมคสรท.เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าที่ประชุมได้มีการหารือถึงการผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยมีเป้าหมายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เป็นองค์กรอิสระ ซึ่งก่อนหน้านี้ ขบวนการแรงงานได้มีการล่ารายชื่อเพื่อผลักดันให้แก้ไขกฎหมายตามความต้องการของผู้ประกันตน โดยมีผู้ร่วมลงชื่อ 1.5 หมื่นรายชื่อ แต่ภายหลังการตรวจสอบของสภาผู้แทนฯพบว่ามีรายชื่อที่สมบูรณ์ 1.4 หมื่นรายชื่อโดยก่อนที่จะมีการยุบสภาของรัฐบาลชุดที่แล้ว นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้ลงนามในการนำเสนอร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานนี้
นายชาลี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้เสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม โดยผ่านชั้นสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เพราะต้องการแก้ไขประเด็นต่างๆ ตามที่รัฐบาลต้องการก่อนยุบสภา ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวค้างอยู่ในวุฒิสภา แต่ในประเด็นสำคัญที่ลูกจ้างเสนอให้สปส.เป็นองค์กรอิสระนั้น รัฐบาลไม่ได้เสนอแก้ไข อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สภาได้ตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้แรงงานที่เสนอแก้ไขกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
“ร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด จึงควรยึดถือร่าง พ.ร.บ.ฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่อยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภาออกมา หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไป หากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่พรรคเพื่อไทย หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขึ้นมาพิจารณา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสัดส่วนเป็นกรรมาธิการถึง 13 คน หรือ 1ใน 3 ของจำนวนกมธ.ทั้งคณะ แตกต่างจากครั้งก่อนที่มีผู้แทนของคนงานเข้าไปเป็นกรรมาธิการเพียง 2 คน” ประธาน คสรท.กล่าว
ประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า สำหรับร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด ดังนั้น ควรยึดถือร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่างในวุฒิออก หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไปหากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 สิงหาคม คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย
นายชาลี กล่าวด้วยว่า สาระสำคัญของร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงานเสนอไป นั้นคือ ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะมองว่าการขึ้นอยู่กับกระทรวงแรงงานหรือระบบราชการทุกวันนี้ ทำให้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ และที่มาของคณะกรรมการไตรภาคี นอกจากนี้ ควรเพิ่มบอร์ดฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างจากฝ่ายละ 5 คน เป็น 8 คน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิควรมาจากการสรรหา แทนที่จะมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีซึ่งกลายเป็นระบบพวกพ้องมากกว่า เช่นเดียวกับคณะกรรมการแพทย์ควรมีภาคแรงงานและนายจ้างเข้าไปนั่งรับรู้ด้วยแทนที่จะมีแพทย์อย่างเดียวเพราะอาจจะมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ได้
“อนาคตกองทุนประกันสังคมจะเติบโตมากกว่า 9 แสนล้านบาท หากได้คนดีเข้าไปทำงานจะทำให้มีผลประโยชน์กลับถึงผู้ประกันตนมากขึ้น แทนที่จะให้อยู่ในมือราชการ เพราะกองทุนนี้ไม่ใช่เงินของราชการ สิ่งที่ คสรท.ทำ คือ ต้องการให้ทุกภาคส่วนช่วยกันตรวจสอบดูแล เราไม่รู้ว่าคนมีอำนาจวันนี้จะเอาเงินของเราไปใช้หรือไม่” นายชาลี กล่าว
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยถึงผลประชุมคสรท.เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าที่ประชุมได้มีการหารือถึงการผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยมีเป้าหมายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เป็นองค์กรอิสระ ซึ่งก่อนหน้านี้ ขบวนการแรงงานได้มีการล่ารายชื่อเพื่อผลักดันให้แก้ไขกฎหมายตามความต้องการของผู้ประกันตน โดยมีผู้ร่วมลงชื่อ 1.5 หมื่นรายชื่อ แต่ภายหลังการตรวจสอบของสภาผู้แทนฯพบว่ามีรายชื่อที่สมบูรณ์ 1.4 หมื่นรายชื่อโดยก่อนที่จะมีการยุบสภาของรัฐบาลชุดที่แล้ว นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้ลงนามในการนำเสนอร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานนี้
นายชาลี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้เสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม โดยผ่านชั้นสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เพราะต้องการแก้ไขประเด็นต่างๆ ตามที่รัฐบาลต้องการก่อนยุบสภา ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวค้างอยู่ในวุฒิสภา แต่ในประเด็นสำคัญที่ลูกจ้างเสนอให้สปส.เป็นองค์กรอิสระนั้น รัฐบาลไม่ได้เสนอแก้ไข อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สภาได้ตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้แรงงานที่เสนอแก้ไขกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
“ร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด จึงควรยึดถือร่าง พ.ร.บ.ฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่อยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภาออกมา หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไป หากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่พรรคเพื่อไทย หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขึ้นมาพิจารณา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสัดส่วนเป็นกรรมาธิการถึง 13 คน หรือ 1ใน 3 ของจำนวนกมธ.ทั้งคณะ แตกต่างจากครั้งก่อนที่มีผู้แทนของคนงานเข้าไปเป็นกรรมาธิการเพียง 2 คน” ประธาน คสรท.กล่าว
ประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า สำหรับร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด ดังนั้น ควรยึดถือร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่างในวุฒิออก หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไปหากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 สิงหาคม คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย
นายชาลี กล่าวด้วยว่า สาระสำคัญของร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงานเสนอไป นั้นคือ ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะมองว่าการขึ้นอยู่กับกระทรวงแรงงานหรือระบบราชการทุกวันนี้ ทำให้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ และที่มาของคณะกรรมการไตรภาคี นอกจากนี้ ควรเพิ่มบอร์ดฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างจากฝ่ายละ 5 คน เป็น 8 คน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิควรมาจากการสรรหา แทนที่จะมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีซึ่งกลายเป็นระบบพวกพ้องมากกว่า เช่นเดียวกับคณะกรรมการแพทย์ควรมีภาคแรงงานและนายจ้างเข้าไปนั่งรับรู้ด้วยแทนที่จะมีแพทย์อย่างเดียวเพราะอาจจะมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ได้
“อนาคตกองทุนประกันสังคมจะเติบโตมากกว่า 9 แสนล้านบาท หากได้คนดีเข้าไปทำงานจะทำให้มีผลประโยชน์กลับถึงผู้ประกันตนมากขึ้น แทนที่จะให้อยู่ในมือราชการ เพราะกองทุนนี้ไม่ใช่เงินของราชการ สิ่งที่ คสรท.ทำ คือ ต้องการให้ทุกภาคส่วนช่วยกันตรวจสอบดูแล เราไม่รู้ว่าคนมีอำนาจวันนี้จะเอาเงินของเราไปใช้หรือไม่” นายชาลี กล่าว