เครือข่ายนักวิชาการ เสนอ “รัฐบาลปู” ให้ผลักดันเรื่องอาหารและโภชนาการในเด็ก หลังพบเด็กไทยมีไอคิวต่ำ พร้อมแบนสารกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด เพื่อปกป้องสุขภาพจากพิษสารเคมี
วันนี้ (9 ส.ค.) “เครือข่ายนักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก” ประกอบด้วย 4 ภาคส่วน คือ โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงข่าวเกี่ยวกับประเด็นการเสนอนโยบายด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กต่อรัฐบาลใหม่
โดย นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เปิดเผยว่า การที่ต้องเสนอนโยบาย เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองมุ่งเน้นแต่การนำเสนอนโยบายประชานิยม ลด แลก แจก แถม แต่ยังไม่มีการเน้นที่ประเด็นสุขภาพของเด็กไทย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่จำเป็นต้องนำเสนอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กไทยอย่างจริงจัง โดยเสนอ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการผลักดันให้เกิดกฎหมายควบคุมตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (นมผง) ในชื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก 2.ผลักดันให้ออกกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารในสถาบันการศึกษา เพื่อจำกัดการจำหน่ายขนมและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในโรงเรียน 3.ผลักดันให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใหม่ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 ซึ่งจะเป็นตัวกลั่นกรองวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารให้เด็กนักเรียนมีความปลอดภัยมากขึ้น และ 4.การแก้ไขเนื้อหาในพรบ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 เพื่อเพิ่มงบรายหัวอาหารกลางวันเป็น 15 บาทต่อคนและเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ
นายสง่า กล่าวอีกว่า การศึกษาทบทวนข้อมูลพบว่าเด็กที่เตี้ย ผอม จะมีเซลล์สมองบาง ทำให้ไอคิวอยู่ที่ 98 ว่า เด็กกลุ่มอื่น แต่ถ้าเด็กอ้วนก็จะเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและเจ็บป่วยมากกว่า โดยเด็กไทยผอมร้อยละ 8.13 อ้วนร้อยละ 9.70 ขาดสารไอโอดีน 34.8 และเตี้ยร้อยละ 7.73 เกิดจากการที่เด็กไทยยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ แม้ว่าจะมีกองทุนโครงการอาหารกลางวันถึง 6 พันล้านบาท แต่การบริหารขาดประสิทธิภาพ ซึ่งในปี 2552 มีการเพิ่มเงินกองทุนเป็นหัวละ 13 บาท ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ไม่ครอบคลุมเด็กทุกคน ทำให้บางโรงเรียนที่มีเด็กมากต้องเฉลี่ยงบประมาณ ทำให้งบรายหัวต่ำลงอีก ซึ่งอยากให้รัฐบาลใหม่ทำให้กองทุนมีการจัดการที่ดีและเพิ่มงบรายหัวขึ้น
ด้าน พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟ เด็กไทยถือว่าได้รับนมแม่ ในระดับกลุ่มต่ำสุดในเอเชีย อัตราทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 5.4 ทำให้เด็กไทยมีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 3-5 เท่า มีผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นก็ต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันเรื่องนี้
ขณะที่ นางทิพวรรณ ประภามณฑล อาจารย์จากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ผัก ผลไม้ไทยมีสารเคมีตกค้างถึงร้อยละ 37-58 และพบสารเคมีบางชนิดตกค้างสูงเกินมาตรฐานไทย ร้อยละ 15 และจากการตรวจเลือดในเด็กที่มีการสัมผัสสารเคมีในนักเรียน 11-13 ปี 4 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 2,000 คน พบว่า มีสารเคมีปริมาณมากอยู่ในภาวะเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มากกว่าครึ่ง อีกทั้งพบนักเรียนอายุ 12-13 ปี จำนวน 200 คน พบว่า เด็กมีปริมาณสารเคมีตกค้างมากกว่า เด็กนักเรียนในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ถึง 3 เท่า โดยพ่อแม่ของเด็กกลุ่มดังกล่าวไม่ได้เป็นเกษตรกร จึงเชื่อได้ว่า สารเคมีได้กระจายไปในห่วงโซ่อาหาร รัฐจึงควรมีนโยบายด้านการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรง 4 ชนิด คือ อีพีเอ็น เมโทมิน ไดโคโตฟอส และคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน) ทันที เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมในเด็กได้
วันนี้ (9 ส.ค.) “เครือข่ายนักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก” ประกอบด้วย 4 ภาคส่วน คือ โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แถลงข่าวเกี่ยวกับประเด็นการเสนอนโยบายด้านอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กต่อรัฐบาลใหม่
โดย นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เปิดเผยว่า การที่ต้องเสนอนโยบาย เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองมุ่งเน้นแต่การนำเสนอนโยบายประชานิยม ลด แลก แจก แถม แต่ยังไม่มีการเน้นที่ประเด็นสุขภาพของเด็กไทย ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่จำเป็นต้องนำเสนอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กไทยอย่างจริงจัง โดยเสนอ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการผลักดันให้เกิดกฎหมายควบคุมตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (นมผง) ในชื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก 2.ผลักดันให้ออกกฎหมายควบคุมการตลาดอาหารในสถาบันการศึกษา เพื่อจำกัดการจำหน่ายขนมและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในโรงเรียน 3.ผลักดันให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใหม่ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 ซึ่งจะเป็นตัวกลั่นกรองวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารให้เด็กนักเรียนมีความปลอดภัยมากขึ้น และ 4.การแก้ไขเนื้อหาในพรบ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 เพื่อเพิ่มงบรายหัวอาหารกลางวันเป็น 15 บาทต่อคนและเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการ
นายสง่า กล่าวอีกว่า การศึกษาทบทวนข้อมูลพบว่าเด็กที่เตี้ย ผอม จะมีเซลล์สมองบาง ทำให้ไอคิวอยู่ที่ 98 ว่า เด็กกลุ่มอื่น แต่ถ้าเด็กอ้วนก็จะเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและเจ็บป่วยมากกว่า โดยเด็กไทยผอมร้อยละ 8.13 อ้วนร้อยละ 9.70 ขาดสารไอโอดีน 34.8 และเตี้ยร้อยละ 7.73 เกิดจากการที่เด็กไทยยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ แม้ว่าจะมีกองทุนโครงการอาหารกลางวันถึง 6 พันล้านบาท แต่การบริหารขาดประสิทธิภาพ ซึ่งในปี 2552 มีการเพิ่มเงินกองทุนเป็นหัวละ 13 บาท ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ไม่ครอบคลุมเด็กทุกคน ทำให้บางโรงเรียนที่มีเด็กมากต้องเฉลี่ยงบประมาณ ทำให้งบรายหัวต่ำลงอีก ซึ่งอยากให้รัฐบาลใหม่ทำให้กองทุนมีการจัดการที่ดีและเพิ่มงบรายหัวขึ้น
ด้าน พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟ เด็กไทยถือว่าได้รับนมแม่ ในระดับกลุ่มต่ำสุดในเอเชีย อัตราทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 5.4 ทำให้เด็กไทยมีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น 3-5 เท่า มีผลต่อการเสริมสร้างพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นก็ต้องให้ความสำคัญกับการผลักดันเรื่องนี้
ขณะที่ นางทิพวรรณ ประภามณฑล อาจารย์จากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ผัก ผลไม้ไทยมีสารเคมีตกค้างถึงร้อยละ 37-58 และพบสารเคมีบางชนิดตกค้างสูงเกินมาตรฐานไทย ร้อยละ 15 และจากการตรวจเลือดในเด็กที่มีการสัมผัสสารเคมีในนักเรียน 11-13 ปี 4 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 2,000 คน พบว่า มีสารเคมีปริมาณมากอยู่ในภาวะเสี่ยง และไม่ปลอดภัย มากกว่าครึ่ง อีกทั้งพบนักเรียนอายุ 12-13 ปี จำนวน 200 คน พบว่า เด็กมีปริมาณสารเคมีตกค้างมากกว่า เด็กนักเรียนในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี ถึง 3 เท่า โดยพ่อแม่ของเด็กกลุ่มดังกล่าวไม่ได้เป็นเกษตรกร จึงเชื่อได้ว่า สารเคมีได้กระจายไปในห่วงโซ่อาหาร รัฐจึงควรมีนโยบายด้านการควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรง 4 ชนิด คือ อีพีเอ็น เมโทมิน ไดโคโตฟอส และคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน) ทันที เนื่องจากสารเคมีเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมในเด็กได้