ข่าวในแวดวงการศึกษาช่วงนี้ คงไม่มีอะไรน่าสนใจเท่าการเดินขบวนประท้วงคนระดับผู้บริหารของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ “คณบดี” ที่กำลังผุดตามกันมาเป็นดอกเห็ด ซึ่งปรากฏการณ์นี้มันแสดงให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของ “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” ที่เปลี่ยนจากครู มาเป็นนักบริหาร และเปลี่ยนสถาบันการศึกษา เป็นสถาบันการศึกษาแบบ Business Unit ไปด้วย เพราะคณะทุกคณะจะต้องหาเงินมาหมุนบริหารตัวเอง และนั่นหมายความว่า “ผู้บริหาร” ที่ไม่เก่งจริง และไม่มีธรรมาภิบาล จะถูกต่อต้าน และตรวจสอบอย่างหนัก
กรณี คณะศึกษาศาสตร์ และคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีนักศึกษาทำการแห่โลงศพคณบดี และแต่งดำเรียกร้องให้คณบดีลาออกจากตำแหน่ง ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ถอดถอนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์แล้ว เหลือเพียงแต่คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน ที่จะมีผลการสอบสวนออกมาในวันที่ 20 ส.ค.ที่จะถึง เป็นคำตอบเรื่องนี้ได้อย่างดี!
งบ 3 ส่วนวัดกึ๋นผู้บริหาร
รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรอิสระเรื่องจริยธรรมและธรรมาภิบาลสื่อมวลชน กล่าวว่า การบริหารงานในมหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบนั้น ทำให้มีความยากในการบริหารงานมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ได้แก่
1.งบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจัดสรรให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยังคงได้รับงบประมาณในส่วนนี้อยู่ แต่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอเพราะส่วนใหญ่เป็นงบที่หนักไปทางเงินเดือน และค่าบุคลากรทางการศึกษาและอีกส่วนหนึ่งเป็นงบลงทุน
2.เงินรายได้ที่เก็บจากค่าธรรมเนียมในการศึกษา จะเป็นค่าหน่วยกิต อย่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีบางคณะจัดเก็บหน่วยกิตละ 40 บาท หรือหน่วยกิตแบบเหมาจ่าย (Package) ซึ่งเนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค การเก็บค่าหน่วยกิจแบบเหมาจ่ายจะยังคงให้มีจำนวนที่น้อยกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนทั่วไป แต่กระนั้นสำหรับคนฐานะไม่ดี แม้สอบเข้าไปได้ แต่ก็ลำบากมาก เพราะต้องกู้หนี้ยืมสินมาเรียน
3.รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ในการบริหารแบบ Business Unit เช่น ศูนย์บริการวิชาการต่างๆ ที่แต่ละคณะจะใช้ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มาเปิดศูนย์ให้บริการประชาชน เพื่อนำรายได้มาใช้ในประโยชน์ทางการศึกษาได้ หมวดนี้น่าสนใจว่า บางคณะยังมีปัญหาในการหารายได้จากลักษณะวิชาที่ไม่สามารถหารายได้ จึงยังต้องอาศัยงบประมาณแผ่นดินอยู่มาก การเลี้ยงตัวเองจริงๆ ของมหาวิทยาลัยในกำกับ ตอนนี้จึงเป็นเรื่องค่อนข้างลำบาก
อย่างไรก็ดี การบริหารงบประมาณแบบใหม่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้นำองค์กร นอกจากจะต้องมีธรรมาภิบาลแล้วยังต้องเป็นคนเก่งในด้านการบริหารองค์กรด้วย เพราะทุกขั้นตอนสำคัญมาก ตั้งแต่การขอรับงบประมาณ แม้ได้งบฯมาแล้ว ผู้บริหารก็ต้องมีความโปร่งใส และต้องใช้ให้ทันเวลาที่กำหนดในปีนั้นๆ ด้วย เพราะถ้าไม่ได้เบิกจ่าย เงินก้อนนั้นก็จะกลับคืนสู่มหาวิทยาลัย ปัญหาคืองบบางอย่างถ้ามาเร่งใช้ตอนหลังจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาเช่น งบครุภัณฑ์ ถ้าเร่งรีบใช้ภายใน 2-3 เดือนก่อนหน้าจะหมดปีงบประมาณ ก็จะมีการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีคุณภาพ ไม่คุ้มทุน หรือเกิดการทุจริตได้ง่าย ผลเสียก็ตกอยู่กับนักศึกษา ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะถูกเรียกร้องขอความเป็นธรรม ดังที่จะเห็นจากการเคลื่อนไหวของบรรดาคณาจารย์ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเวลานี้
สกอ.ชี้ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเก่งรอบด้าน
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้องมีทั้งความสามารถในการบริหารงานและการบริหารวิชาการ โดยการบริหารงานจะรวมตั้งแต่การบริหารเงินไปจนถึงการบริหารคน
“ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องสำคัญที่สภามหาวิทยาลัยจะต้องกำหนดเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการ แม้ว่าการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่สามารถดูได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องของจิตใจและสภาวะความเป็นผู้นำ และจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในบริบทโดยรวมของการบริหาร คุณสมบัติของการบริหารคนจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารวิชาการ ส่วนคนที่จะบริหารเงิน นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบการเงินและบัญชีแล้ว ยังต้องเข้าใจระบบวิธีการตรวจสอบ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในระบบด้วย”
จึงไม่แปลกที่เวลานี้จึงมีปรากฎการณ์เดินขบวนขอให้ถอดถอนคณบดี ในปัญหาธรรมาภิบาลผุดกันมาเป็นโดมิโน
กรณีนี้เลขาธิการ สกอ.ยืนยันว่า สกอ.เป็นห่วง แต่สุดท้ายต้องเป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่ต้องตัดสิน หากผู้เรียกร้องไม่พอใจ ก็สามารถฟ้องศาลปกครอง ศาลอาญา หรือศาลอื่นๆ ต่อไปได้
กรณี คณะศึกษาศาสตร์ และคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีนักศึกษาทำการแห่โลงศพคณบดี และแต่งดำเรียกร้องให้คณบดีลาออกจากตำแหน่ง ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ถอดถอนคณบดีคณะศึกษาศาสตร์แล้ว เหลือเพียงแต่คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน ที่จะมีผลการสอบสวนออกมาในวันที่ 20 ส.ค.ที่จะถึง เป็นคำตอบเรื่องนี้ได้อย่างดี!
งบ 3 ส่วนวัดกึ๋นผู้บริหาร
รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรอิสระเรื่องจริยธรรมและธรรมาภิบาลสื่อมวลชน กล่าวว่า การบริหารงานในมหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ หรือมหาวิทยาลัยนอกระบบนั้น ทำให้มีความยากในการบริหารงานมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ได้แก่
1.งบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจัดสรรให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐยังคงได้รับงบประมาณในส่วนนี้อยู่ แต่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอเพราะส่วนใหญ่เป็นงบที่หนักไปทางเงินเดือน และค่าบุคลากรทางการศึกษาและอีกส่วนหนึ่งเป็นงบลงทุน
2.เงินรายได้ที่เก็บจากค่าธรรมเนียมในการศึกษา จะเป็นค่าหน่วยกิต อย่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีบางคณะจัดเก็บหน่วยกิตละ 40 บาท หรือหน่วยกิตแบบเหมาจ่าย (Package) ซึ่งเนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค การเก็บค่าหน่วยกิจแบบเหมาจ่ายจะยังคงให้มีจำนวนที่น้อยกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนทั่วไป แต่กระนั้นสำหรับคนฐานะไม่ดี แม้สอบเข้าไปได้ แต่ก็ลำบากมาก เพราะต้องกู้หนี้ยืมสินมาเรียน
3.รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ในการบริหารแบบ Business Unit เช่น ศูนย์บริการวิชาการต่างๆ ที่แต่ละคณะจะใช้ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ มาเปิดศูนย์ให้บริการประชาชน เพื่อนำรายได้มาใช้ในประโยชน์ทางการศึกษาได้ หมวดนี้น่าสนใจว่า บางคณะยังมีปัญหาในการหารายได้จากลักษณะวิชาที่ไม่สามารถหารายได้ จึงยังต้องอาศัยงบประมาณแผ่นดินอยู่มาก การเลี้ยงตัวเองจริงๆ ของมหาวิทยาลัยในกำกับ ตอนนี้จึงเป็นเรื่องค่อนข้างลำบาก
อย่างไรก็ดี การบริหารงบประมาณแบบใหม่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้นำองค์กร นอกจากจะต้องมีธรรมาภิบาลแล้วยังต้องเป็นคนเก่งในด้านการบริหารองค์กรด้วย เพราะทุกขั้นตอนสำคัญมาก ตั้งแต่การขอรับงบประมาณ แม้ได้งบฯมาแล้ว ผู้บริหารก็ต้องมีความโปร่งใส และต้องใช้ให้ทันเวลาที่กำหนดในปีนั้นๆ ด้วย เพราะถ้าไม่ได้เบิกจ่าย เงินก้อนนั้นก็จะกลับคืนสู่มหาวิทยาลัย ปัญหาคืองบบางอย่างถ้ามาเร่งใช้ตอนหลังจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาเช่น งบครุภัณฑ์ ถ้าเร่งรีบใช้ภายใน 2-3 เดือนก่อนหน้าจะหมดปีงบประมาณ ก็จะมีการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีคุณภาพ ไม่คุ้มทุน หรือเกิดการทุจริตได้ง่าย ผลเสียก็ตกอยู่กับนักศึกษา ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะถูกเรียกร้องขอความเป็นธรรม ดังที่จะเห็นจากการเคลื่อนไหวของบรรดาคณาจารย์ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเวลานี้
สกอ.ชี้ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเก่งรอบด้าน
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กล่าวถึงคุณสมบัติสำคัญของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้องมีทั้งความสามารถในการบริหารงานและการบริหารวิชาการ โดยการบริหารงานจะรวมตั้งแต่การบริหารเงินไปจนถึงการบริหารคน
“ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องสำคัญที่สภามหาวิทยาลัยจะต้องกำหนดเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการ แม้ว่าการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่สามารถดูได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องของจิตใจและสภาวะความเป็นผู้นำ และจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในบริบทโดยรวมของการบริหาร คุณสมบัติของการบริหารคนจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารวิชาการ ส่วนคนที่จะบริหารเงิน นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบการเงินและบัญชีแล้ว ยังต้องเข้าใจระบบวิธีการตรวจสอบ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในระบบด้วย”
จึงไม่แปลกที่เวลานี้จึงมีปรากฎการณ์เดินขบวนขอให้ถอดถอนคณบดี ในปัญหาธรรมาภิบาลผุดกันมาเป็นโดมิโน
กรณีนี้เลขาธิการ สกอ.ยืนยันว่า สกอ.เป็นห่วง แต่สุดท้ายต้องเป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่ต้องตัดสิน หากผู้เรียกร้องไม่พอใจ ก็สามารถฟ้องศาลปกครอง ศาลอาญา หรือศาลอื่นๆ ต่อไปได้