เป็นโรคที่ครองอันดับ 1 แห่งความน่ากลัวมาโดยตลอดสำหรับ “มะเร็ง” ซึ่งในปัจจุบันมะเร็งหลายๆ ชนิดยอมสยบกับวิธีการรักษาที่ทันสมัยได้ กรณีที่แพทย์ทราบสาเหตุที่ชัดเจน และสามารถตรวจพบในระยะต้นๆ เฉกเช่นสำหรับมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ (Gastrointestinal Stromal Tumor : GIST) ที่ พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ยังไม่มีใครสามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งชนิดนี้ได้ ทราบแต่เพียงว่า เกิดขึ้นภายในช่องท้อง และมีอัตราการป่วยราวปีละ 150 ราย ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ซึ่งถือว่าน้อยกว่ามะเร็งทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งหลอดอาหาร ที่น่ากลัวคือ ผู้ป่วยมีโอกาสหายยากมาก และเพราะหาสาเหตุที่แท้จริงยังไม่เจอก็ยากที่จะระบุวิธีป้องกันได้ชัดเจน
“มะเร็งจีสต์เกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ กระเพาะอาหาร เกิดราวร้อยละ 40 ลำไส้ใหญ่ ราวร้อยละ 15 และลำไส้เล็ก ร้อยละ 20-40 ที่สำคัญ แพทย์จะตรวจเจอ เพราะความบังเอิญในผู้ป่วยที่มีอาการหนักแล้ว เช่น มีเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายโผล่ออกมาราว 2-3 เซนติเมตร และที่น่าห่วงมากคือ ร้อยละ 14-47 ของผู้ป่วยเชื้อแพร่ลามไปยังตับ เยื่อบุท้อง ซึ่งจัดว่าอันตรายมาก โดยอาการของโรคนี้ เริ่มแรกจะปวด คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง เมื่อเวลาผ่านไปราว 4-5 เดือน จะปรากฏอาการอื่นๆ ตามมา เช่น พบเลือดออกในกระเพาะอาหารได้โดยเลือด และบางครั้งจะปะปนออกมากับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีดำ” พญ.สุดสวาท กล่าวเสริม
สำหรับการรักษานั้น กรณีที่มีเนื้องอกขนาดเล็กก็ใช้วิธีผ่าตัด แต่ส่วนมากใช้ยา Targeted Therapy หรือยาที่มุ่งเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ยา “อิมมาตินิบ” (Imatinib) โดยทางการแพทย์ พบว่า ยากลุ่มนี้สามารถควบคุมโรคได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่า 5 ปี และในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้
ด้วยเพราะมะเร็งชนิดจิสต์ เป็นโรคที่รักษายาก และต้องรับยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แต่ละรายเสียค่าใช้จ่ายสูง ราว 120,000 บาทต่อคน ประเทศไทยจึงเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ และหาทางให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากที่สุด ได้มีความร่วมมือจากโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป ที่ให้การสนับสนุนยาอิมมาตินิบแก่ผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นการต่ออายุที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาใน ปัจจุบัน
โดยนายริชาร์ด เอเบลา ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะองค์กรผู้ก่อตั้งโครงการดังกล่าว เล่าถึงโครงการการช่วยเหลือสั้นๆ ว่า ทางบริษัท ได้มอบยาอิมมาตินิบให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังและมะเร็งจีสต์ในไทย มายาวนาน 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2546 โดยได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า 2,500 ราย และยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่กำลังจะเข้าร่วมโครงการในอนาคต ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและศูนย์การรักษาพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจีแพปในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 49 แห่ง
“มะเร็งจีสต์เกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ กระเพาะอาหาร เกิดราวร้อยละ 40 ลำไส้ใหญ่ ราวร้อยละ 15 และลำไส้เล็ก ร้อยละ 20-40 ที่สำคัญ แพทย์จะตรวจเจอ เพราะความบังเอิญในผู้ป่วยที่มีอาการหนักแล้ว เช่น มีเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายโผล่ออกมาราว 2-3 เซนติเมตร และที่น่าห่วงมากคือ ร้อยละ 14-47 ของผู้ป่วยเชื้อแพร่ลามไปยังตับ เยื่อบุท้อง ซึ่งจัดว่าอันตรายมาก โดยอาการของโรคนี้ เริ่มแรกจะปวด คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง เมื่อเวลาผ่านไปราว 4-5 เดือน จะปรากฏอาการอื่นๆ ตามมา เช่น พบเลือดออกในกระเพาะอาหารได้โดยเลือด และบางครั้งจะปะปนออกมากับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีดำ” พญ.สุดสวาท กล่าวเสริม
สำหรับการรักษานั้น กรณีที่มีเนื้องอกขนาดเล็กก็ใช้วิธีผ่าตัด แต่ส่วนมากใช้ยา Targeted Therapy หรือยาที่มุ่งเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ยา “อิมมาตินิบ” (Imatinib) โดยทางการแพทย์ พบว่า ยากลุ่มนี้สามารถควบคุมโรคได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่า 5 ปี และในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้
ด้วยเพราะมะเร็งชนิดจิสต์ เป็นโรคที่รักษายาก และต้องรับยาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แต่ละรายเสียค่าใช้จ่ายสูง ราว 120,000 บาทต่อคน ประเทศไทยจึงเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ และหาทางให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากที่สุด ได้มีความร่วมมือจากโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป ที่ให้การสนับสนุนยาอิมมาตินิบแก่ผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นการต่ออายุที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาใน ปัจจุบัน
โดยนายริชาร์ด เอเบลา ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะองค์กรผู้ก่อตั้งโครงการดังกล่าว เล่าถึงโครงการการช่วยเหลือสั้นๆ ว่า ทางบริษัท ได้มอบยาอิมมาตินิบให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังและมะเร็งจีสต์ในไทย มายาวนาน 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2546 โดยได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า 2,500 ราย และยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่กำลังจะเข้าร่วมโครงการในอนาคต ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและศูนย์การรักษาพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจีแพปในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 49 แห่ง