บีบีซีนิวส์ – งานวิจัยเผยผู้หญิงสูงมีแนวโน้มมากขึ้น 1 ใน 3 ที่จะเป็นมะเร็งบางชนิด เชื่อสาเหตุอาจมาจากการที่คนสูงมีฮอร์โมนกระตุ้นเนื้อร้ายมากกว่าคนเตี้ย
การศึกษาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า ความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น 16% จากความสูงทุกๆ 4 เซนติเมตร
นักวิจัยศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความสูงกับมะเร็งที่พบทั่วไป 10 ชนิด เช่น มะเร็งเต้านม ลำไส้ ไต มดลูก รังไข่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาลของผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษ 1.3 ล้านคน ระหว่างปี 1996-2001
นักวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่สูง 173 เซนติเมตรซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ มีแนวโน้มเป็นมะเร็งมากกว่าผู้หญิงที่สูง 150 เซนติเมตรกว่า 33%
นักวิจัยระบุในรายงานที่อยู่ในวารสารแลนสิต ออนโคโลจี้ ว่า เหตุผลหนึ่งสำหรับความเชื่อมโยงนี้คือ ผู้หญิงสูงมักแตกเนื้อสาวเร็วกว่า ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจำนวนมาก ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่รู้กันว่ากระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย
นอกจากนี้ นักวิจัยยังเชื่อว่า ฮอร์โมนการเติบโต เช่น insulin-like growth factors อาจเป็นคำอธิบายของเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือยิ่งมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ร่างกายมีเซลล์มากขึ้นเท่านั้น จึงเพิ่มโอกาสที่จะมีเซลล์ที่กลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย หรือฮอร์โมนดังกล่าวอาจเพิ่มอัตราการแบ่งเซลล์และส่งผลให้ความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น
ดร.เจน กรีน ผู้นำการวิจัยจากแคนเซอร์ เอพิเดมิโอโลจี้ ยูนิตของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า แม้ความสูงโดยตัวของมันเองไม่ได้ส่งผลต่อมะเร็ง แต่อาจเป็นตัวบ่งชี้บางอย่างได้
“ข้อเท็จจริงที่ว่า มะเร็งหลายชนิดทีเดียวมีความเชื่อมโยงบ่อยครั้งกับความสูง บ่งชี้ว่าอาจมีกลไกร่วมกันที่บางทีเริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของชีวิตขณะเจริญเติบโต”
“แน่นอนคนเราเปลี่ยนความสูงไม่ได้” เธอบอก แต่ก็ชี้ว่าการเป็นคนสูงก็มีด้านบวก เป็นต้นว่าความสูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ตลอดจนยังเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับมะเร็งที่ลดลงหรือถูกจำกัดไปเลยในหมู่ผู้สูบบุหรี่
ซารา ไฮโอม ผู้อำนวยการแผนกข้อมูลสุขภาพของแคนเซอร์ รีเสิร์ช ยูเค ขานรับว่า คนสูงไม่ควรตกอกตกใจกับงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้สูงกว่าเฉลี่ย ดังนั้น ความสูงจึงมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งของแต่ละคนน้อยมาก พร้อมบอกว่า ควรมีการวิจัยต่อไปเพื่อทำความเข้าใจกลไกที่แท้จริงของความเชื่อมโยงนี้
นอกจากนั้น การศึกษานี้ยังจำกัดกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงเท่านั้น จึงไม่เป็นที่ชัดจนว่าผู้ชายสูงจะมีความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ กระนั้น งานวิจัยในอดีตได้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงกับโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอัณฑะที่เพิ่มขึ้น
การศึกษาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า ความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น 16% จากความสูงทุกๆ 4 เซนติเมตร
นักวิจัยศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างความสูงกับมะเร็งที่พบทั่วไป 10 ชนิด เช่น มะเร็งเต้านม ลำไส้ ไต มดลูก รังไข่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาลของผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษ 1.3 ล้านคน ระหว่างปี 1996-2001
นักวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่สูง 173 เซนติเมตรซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ มีแนวโน้มเป็นมะเร็งมากกว่าผู้หญิงที่สูง 150 เซนติเมตรกว่า 33%
นักวิจัยระบุในรายงานที่อยู่ในวารสารแลนสิต ออนโคโลจี้ ว่า เหตุผลหนึ่งสำหรับความเชื่อมโยงนี้คือ ผู้หญิงสูงมักแตกเนื้อสาวเร็วกว่า ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจำนวนมาก ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่รู้กันว่ากระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย
นอกจากนี้ นักวิจัยยังเชื่อว่า ฮอร์โมนการเติบโต เช่น insulin-like growth factors อาจเป็นคำอธิบายของเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือยิ่งมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ร่างกายมีเซลล์มากขึ้นเท่านั้น จึงเพิ่มโอกาสที่จะมีเซลล์ที่กลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย หรือฮอร์โมนดังกล่าวอาจเพิ่มอัตราการแบ่งเซลล์และส่งผลให้ความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น
ดร.เจน กรีน ผู้นำการวิจัยจากแคนเซอร์ เอพิเดมิโอโลจี้ ยูนิตของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า แม้ความสูงโดยตัวของมันเองไม่ได้ส่งผลต่อมะเร็ง แต่อาจเป็นตัวบ่งชี้บางอย่างได้
“ข้อเท็จจริงที่ว่า มะเร็งหลายชนิดทีเดียวมีความเชื่อมโยงบ่อยครั้งกับความสูง บ่งชี้ว่าอาจมีกลไกร่วมกันที่บางทีเริ่มทำงานตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของชีวิตขณะเจริญเติบโต”
“แน่นอนคนเราเปลี่ยนความสูงไม่ได้” เธอบอก แต่ก็ชี้ว่าการเป็นคนสูงก็มีด้านบวก เป็นต้นว่าความสูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ตลอดจนยังเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับมะเร็งที่ลดลงหรือถูกจำกัดไปเลยในหมู่ผู้สูบบุหรี่
ซารา ไฮโอม ผู้อำนวยการแผนกข้อมูลสุขภาพของแคนเซอร์ รีเสิร์ช ยูเค ขานรับว่า คนสูงไม่ควรตกอกตกใจกับงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้สูงกว่าเฉลี่ย ดังนั้น ความสูงจึงมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งของแต่ละคนน้อยมาก พร้อมบอกว่า ควรมีการวิจัยต่อไปเพื่อทำความเข้าใจกลไกที่แท้จริงของความเชื่อมโยงนี้
นอกจากนั้น การศึกษานี้ยังจำกัดกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงเท่านั้น จึงไม่เป็นที่ชัดจนว่าผู้ชายสูงจะมีความเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ กระนั้น งานวิจัยในอดีตได้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความสูงกับโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอัณฑะที่เพิ่มขึ้น