xs
xsm
sm
md
lg

แพทย์ชี้ “มะเร็งเม็ดเลือดขาว-มะเร็งชนิดจีสต์” น่าห่วง เหตุยารักษาแพง ชม “จีแพป” ช่วยคนจนเข้าถึงยามากขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
แพทย์ชี้สถานการณ์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังยังน่าห่วง คาด “กัมมันตรังสี” เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อัตราป่วยสูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า ขณะมะเร็งในระบบทางเดินอาหารชนิดจีสต์ ป่วยปีละ 150 ราย ชม โครงการ “จีแพป” เพิ่มการเข้าถึงยาแก่คนยากไร้

วันนี้ (22 ก.ค.) ศ.พญ. แสงสุรีย์ จูฑา ประธานชมรมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ กล่าวในการแถลงข่าว ครบรอบ 8 ปี โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป (GPAP) ที่จัดขึ้นโดยบริษัมโนวาติส ว่า จาก สถานการณ์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง หรือ ซีเอ็มแอล (Chronic myeloid leukemia : CML) มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยราว 1-2 คน ต่อแสนประชากร อายุเฉลี่ยประมาณ 36-45 ปี และพบมากในเพศชายมากกว่าหญิง ที่อันตราย คือไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบเพียงความปัจจัยเสี่ยงเท่านั้น ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคดังกล่าว คือ สารกัมมันตรังสี โดยผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่ได้รับสารอะตอมมิกบอม นั้นมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังสูงกว่าคนปกติถึง 4-5 เท่า
 
“อาการของโรคนี้ เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง น้ำหนักลด อึดอัดแน่นท้อง คลำพบก้อนที่ชายโครงซ้าย บางรายอาจไม่มีอาการเลย แต่ตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงจากการตรวจสุขภาพทั่วไป คือ ในคนปกติพบราว 4-5 หมื่น แต่ในคนป่วยโรคซีเอ็มแอลจะพบ 5-8 แสน มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังมีหลายวิธี ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคนี้ คือ การรับประทานยา” ศ.พญ.แสงสุรีย์ กล่าว
 
 
ศ.พญ.แสงสุรีย์ กล่าวด้วยว่า ระยะของโรคนี้จะมี 3 ระยะ คือ 1.ระยะเรื้อรัง 2.ระยะลุกลาม และ 3.ระยะเฉียบพลัน โดยระยะสุดท้ายก็จะอันตรายสุดไม่สามารถรักษาได้ สำหรับการรักษานั้นปัจจุบันทำได้โดยการให้ยารักษา ซึ่งยาที่เป็นที่ยอมรับในการรักษามะเร็งชนิดคือ ยา อิมมาตินิบ (Imatinib) แต่ในสหรัฐอเมริกา พบว่า มีการใช้ยาที่ประสิทธิภาพสูงกว่า ยาอิมมาตินิบ แต่ราคาแพงกว่า คือ ยานิโลตินิบ (Nilotinib) ซึ่งเป็นยาขั้นที่ 2 ใช้รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ยาตัวแรกไม่ได้ผลและต้องการยาที่แรงขึ้น ต่อมาพบว่า ในผู้ป่วบางรายสามารถใช้ยานิโลตินิบได้ในครั้งแรกเลย แต่ยาดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็นยาตัวแรกในประเทศไทย เหมือนในอเมริกา ทั้งนี้ ในอนาคตหากพิสูจน์ได้ว่าคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงจริงก็จะคงจะใช้ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการรักษาโรคดังกล่าวนั้น มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อมีโครงการจีแพป เข้ามาก็ถือว่าช่วยให้ผู้ป่วยที่ยากไร้ได้เข้าถึงยามากขึ้น
 
 
พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรคมะเร็งทางเดินอาหาร ชนิดจีสต์ (GIST) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในช่องท้อง โดยแตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารอื่น คือ มะเร็งจีสต์เกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ เพราะฉะนั้น จึงสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆ ของระบบ ทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ กระเพาะอาหาร มะเร็งจีสต์ ถือได้ว่าเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น สำหรับอุบัติการณ์โรคนี้ในสหรัฐฯ พบราว 5,000 รายต่อปี ในส่วนของประเทศไทยพบผู้ป่วยใหม่ด้วยโรคมะเร็งจีสต์ประมาณ 150 รายต่อปี ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งจีสต์ แต่อย่างไรก็ตามจะพบมากในผู้ทีมีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
 
"สำหรับอาการของมะเร็งจีสต์นั้น พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะไม่มีอาการ โดยอาการของมะเร็งจีสต์จะคล้ายกับมะเร็งทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง ซึ่งหากมีก้อนมะเร็งจีสต์อยู่ในกระเพาะอาหาร ก็อาจจะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยเลือด จะปะปนออกมากับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีดำ สำหรับการรักษาเนื่องจากมะเร็งจีสต์เป็นโรคที่ตอบสนองต่อเคมีบำบัดน้อยมาก จึงได้มีการพัฒนายา Targeted Therapy หรือยาที่มุ่งเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ยาอิมมาตินิบขึ้น โดยทางการแพทย์พบว่า ยากลุ่มนี้สามารถควบคุมโรคได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่า 5 ปี และในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้” พญ.สุดสวาท กล่าว
 
 
นายริชาร์ด เอเบลา ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท โนวาร์ตีส มุ่งเน้น ให้ความสำคัญของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้าถึงยาของผู้ป่วย จึงได้จัด “โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 โดยมอบยาอิมมาตินิบให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังและมะเร็งจีสต์ ที่มีปัญหาด้านการเงินโดยไม่คิดมูลค่า มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการกว่า 44,000 คน ในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโครงการจีแพป จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ซึ่งตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า 2,500 ราย และยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่กำลังจะเข้าร่วมโครงการในอนาคต ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและศูนย์การรักษาพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจีแพปในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 49 แห่ง และมีแพทย์เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 138 ท่าน โดยการประสานงาน ผ่านทางมูลนิธิแมกซ์ (ประเทศไทย)
 
นายริชาร์ด กล่าวว่า นอกจากโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป (GIPAP) แล้ว บริษัท โนวาร์ตีส ยังมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติทีแพป (TIPAP) ซึ่งเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเงิน ที่ป่วยเป็นมะเร็ง เม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังที่ดื้อต่อยาอิมมาตินิบ หรือไม่สามารถทนต่อการรักษาด้วยยาอิมมาตินิบ ด้วยการบริจาคยา นิโลตินิบโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ซึ่งโครงการนี้จัดขึ้นในปี พ.ศ.2551 ปัจจุบันได้ช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 260
กำลังโหลดความคิดเห็น