“ศศิธารา” ลั่นฟ้องศาลปกครองหากอาชีวะเสียหาย ยันไม่เคยว่าเกณฑ์ประเมินไม่ดี เพียงแต่มีปัญหาการตีความของ กก.ประเมิน แฉ ผู้บริหาร วท.บางคนมุ่งแต่เรื่องประเมินส่งหนังสือแจ้งปิดวิทยาลัยหวังเอาคะแนนไปใช้ทำ ผลงานประเมินวิทยฐานะ ชี้ สมศ.ไม่ใช้ผู้บังคับบัญชา สอศ.ไม่มีอำนาจบอกว่าการไม่รับประเมินจะมีผลต่องบประมาณและการจัดสรรเงินกู้ กยศ.พร้อมย้ำการทำนหนังสือชะลอเป็นอำนาจสั่งการในฐานะผู้บังคับบัญชาของ วท.เผย เตรียมเชิญ สมศ.หารือร่วมกันอีกครั้ง 25 ก.ค.นี้
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวถึงกรณีที่ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ยืนยันจะเดินหน้าประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 3 (พ.ศ.2554-2558) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่เหลืออีก 78 แห่ง ต่อไป และ สมศ.ได้ส่งหนังสือยืนยันการประเมินส่งมายังเลขาธิการ กอศ.เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่า ตนยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าวจากทาง สมศ.แต่ขอยืนยันว่า จะให้วิทยาลัยชะลอการประเมินออกไปก่อน ทั้งนี้ อย่างที่เคยชี้แจงไปแต่แรกว่าได้รับฟังความเห็นของผู้บริหารวิทยาลัยบางท่าน ที่ผ่านการประเมินไปแล้วในกลุ่ม 30 วิทยาลัย พบว่า กรรมการที่เข้าประเมินบางท่านยังมีการตีความหลักเกณฑ์แตกต่างกันส่งผลกระทบ ในหลายด้าน เพราะฉะนั้น ตนและผู้บริหาร สอศ.เห็นตรงกันว่า ควรจะหารือกับ สมศ.เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขก่อนจึงได้มีคำสั่งให้ชะลอการประเมิน
โดยในวันนี้ (21 ก.ค.) มอบให้ นายวิมล จำนงบุตร รองเลขาธิการ กอศ.ไปเชิญผู้บริหารวิทยาลัยทั้ง 108 แห่ง มาร่วมให้ความเห็นและสรุปข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาไปเสนอต่อ สมศ.ซึ่งตนได้ทำหนังสือเชิญร่วมประชุมในวันที่ 25 ก.ค.นี้ เชื่อว่า เมื่อได้พูดคุยกัน สมศ.จะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นของ สอศ.และคาดว่า น่าจะมีผลให้ สมศ.กลับไปประเมินวิทยาลัย 3 แห่งที่ปฏิเสธเข้ารับการประเมิน เพราะปฏิบัติตามคำสั่งหนังสือชะลอการประเมิน ด้วย ขอยืนยันอีกครั้งว่าเกณฑ์ประเมินดีเพียงแต่การตีความมีปัญหา ดังนั้น เราเป็นราชการเหมือนกันเราต้องมาคุยกันแก้ปัญหาร่วมกัน
“นอกจากปัญหาการตีความ ยังพบว่า ผู้บริหารวิทยาลัยหลายคนกำลังเข้าใจปรัชญาของการประเมินผิด แทนที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือให้ความสนใจกันเด็กอย่างเต็มที่ต่อเนื่อง กลับมามุ่งแต่จะเร่งพัฒนาในช่วงที่ สมศ.จะเข้าประเมินเพราะจะเอาคะแนนเหล่านี้มาทำผลงานขอประเมินวิทยฐานะ ซึ่งขณะนี้มีผู้บริหารหลายวิทยาลัยทำหนังสือแจ้งขอปิดวิทยาลัยเพื่อเตรียมการรับการประเมินซึ่งไม่สมควร อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ สมศ.ระบุว่า หากวิทยาลัยไม่รับการประเมินจะมีผลต่อการของบประมาณและการจัดสรรเงิน กู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตรงนี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ สมศ.เพราะไม่ใช่หน่วยเหนือของ สอศ.ซึ่งคนที่มีอำนาจเป็นหน่วยเหนือของ สอศ.ที่แท้จริงคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อีกทั้งยืนยันด้วยว่าหนังสือคำสั่งชะลอการประเมินนั้นดิฉันในฐานะผู้บังคับ บัญชาสามารถสั่งการได้ ถ้าดิฉันสั่งการลูกน้องไม่ได้แล้วจะให้ใครสั่ง ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหานี้คาดว่าใช้เวลาประมาณ 10-15 วันก็แล้วเสร็จ ดังนั้น จึงมีเวลาเพียงพอที่ สมศ.เข้าทำการประเมินวิทยาลัยได้ แต่หากกระบวนการถึงที่สุดแล้วเกิดปัญหาอาชีวศึกษาได้รับความเสียหายดิฉันก็จะอาศัยกระบวนการทางกฎหมายฟ้องร้องศาลปกครองต่อไป” น.ส.ศศิธารา กล่าว
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวถึงกรณีที่ ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ยืนยันจะเดินหน้าประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 3 (พ.ศ.2554-2558) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่เหลืออีก 78 แห่ง ต่อไป และ สมศ.ได้ส่งหนังสือยืนยันการประเมินส่งมายังเลขาธิการ กอศ.เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่า ตนยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าวจากทาง สมศ.แต่ขอยืนยันว่า จะให้วิทยาลัยชะลอการประเมินออกไปก่อน ทั้งนี้ อย่างที่เคยชี้แจงไปแต่แรกว่าได้รับฟังความเห็นของผู้บริหารวิทยาลัยบางท่าน ที่ผ่านการประเมินไปแล้วในกลุ่ม 30 วิทยาลัย พบว่า กรรมการที่เข้าประเมินบางท่านยังมีการตีความหลักเกณฑ์แตกต่างกันส่งผลกระทบ ในหลายด้าน เพราะฉะนั้น ตนและผู้บริหาร สอศ.เห็นตรงกันว่า ควรจะหารือกับ สมศ.เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขก่อนจึงได้มีคำสั่งให้ชะลอการประเมิน
โดยในวันนี้ (21 ก.ค.) มอบให้ นายวิมล จำนงบุตร รองเลขาธิการ กอศ.ไปเชิญผู้บริหารวิทยาลัยทั้ง 108 แห่ง มาร่วมให้ความเห็นและสรุปข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาไปเสนอต่อ สมศ.ซึ่งตนได้ทำหนังสือเชิญร่วมประชุมในวันที่ 25 ก.ค.นี้ เชื่อว่า เมื่อได้พูดคุยกัน สมศ.จะเข้าใจเหตุผลความจำเป็นของ สอศ.และคาดว่า น่าจะมีผลให้ สมศ.กลับไปประเมินวิทยาลัย 3 แห่งที่ปฏิเสธเข้ารับการประเมิน เพราะปฏิบัติตามคำสั่งหนังสือชะลอการประเมิน ด้วย ขอยืนยันอีกครั้งว่าเกณฑ์ประเมินดีเพียงแต่การตีความมีปัญหา ดังนั้น เราเป็นราชการเหมือนกันเราต้องมาคุยกันแก้ปัญหาร่วมกัน
“นอกจากปัญหาการตีความ ยังพบว่า ผู้บริหารวิทยาลัยหลายคนกำลังเข้าใจปรัชญาของการประเมินผิด แทนที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือให้ความสนใจกันเด็กอย่างเต็มที่ต่อเนื่อง กลับมามุ่งแต่จะเร่งพัฒนาในช่วงที่ สมศ.จะเข้าประเมินเพราะจะเอาคะแนนเหล่านี้มาทำผลงานขอประเมินวิทยฐานะ ซึ่งขณะนี้มีผู้บริหารหลายวิทยาลัยทำหนังสือแจ้งขอปิดวิทยาลัยเพื่อเตรียมการรับการประเมินซึ่งไม่สมควร อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ สมศ.ระบุว่า หากวิทยาลัยไม่รับการประเมินจะมีผลต่อการของบประมาณและการจัดสรรเงิน กู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตรงนี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ สมศ.เพราะไม่ใช่หน่วยเหนือของ สอศ.ซึ่งคนที่มีอำนาจเป็นหน่วยเหนือของ สอศ.ที่แท้จริงคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อีกทั้งยืนยันด้วยว่าหนังสือคำสั่งชะลอการประเมินนั้นดิฉันในฐานะผู้บังคับ บัญชาสามารถสั่งการได้ ถ้าดิฉันสั่งการลูกน้องไม่ได้แล้วจะให้ใครสั่ง ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหานี้คาดว่าใช้เวลาประมาณ 10-15 วันก็แล้วเสร็จ ดังนั้น จึงมีเวลาเพียงพอที่ สมศ.เข้าทำการประเมินวิทยาลัยได้ แต่หากกระบวนการถึงที่สุดแล้วเกิดปัญหาอาชีวศึกษาได้รับความเสียหายดิฉันก็จะอาศัยกระบวนการทางกฎหมายฟ้องร้องศาลปกครองต่อไป” น.ส.ศศิธารา กล่าว