วอนคุรุสภาช่วยเหลือครูการศึกษาพิเศษ 53 ราย หลังสอบบรรจุครูได้แต่ไม่มีตั๋วครูไปยื่น เหตุเพราะ กม.สภาครูฯ ไม่ถือว่าศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นสถานศึกษา ขณะที่ ผอ.สำนักบริหารฯ เผย คุรุสภารับจะช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ระบุอาจต้องแก้ กม.ที่เกี่ยวข้องให้ป้องกันปัญหาที่อาจจะกระทบครูอีกกว่า 1,000 คน ที่ต้องต่อใบอนุญาตในอนาคต
นายพะโยม ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเพื่อขอให้ช่วยเหลือครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 53 คนที่กำลับประสบปัญหาภายหลังสอบบรรจุครู ได้แต่ติดขัด เพราะครูการศึกษาพิเศษกลุ่มนี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และไม่สามารถขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่คุรุสภายึดเป็นกรอบการพิจารณาการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ไม่ได้ถือว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษนั้น มีสถานะเป็นสถานศึกษา ขณะเดียวกัน คุรุสภาก็เกณฑ์การพิจารณาด้วยว่าสถานศึกษาจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกโดยหน่วยงาน เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) แต่ศูนย์การศึกษาพิเศษไม่เคยมีการประเมินมาก่อน ด้วยเหตุนี้ทำให้ครูศูนย์การศึกษาพิเศษไม่สามารถขอใบอนุญาตฯ ทั้งนี้ ทางคุรุสภารับปากจะไปดูแลเป็นพิเศษ โดยจะให้คณะอนุกรรมการกฎหมายคุรุสภาไปดูรายละเอียด และนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภาที่จะมีในครั้งต่อไป
“ตอนนี้ประสบปัญหาเพียง 53 คน แต่ในอนาคตระยะยาวเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบถึงข้าราชการครูที่สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีอยู่ประมาณ 1,000 กว่าคน ที่จะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตฯ เพราะว่าการตีความสถานะของศูนย์ในกฎหมายต่างกัน คุรุสภาไม่มองว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษา คนที่จบครูมา หรือจบสาขาอื่นแต่ไปเรียนวิชาชีพครูเพิ่มเติมพอมาฝึกสอนที่ศูนย์ฯ เสร็จไปขอใบอนุญาตฯก็ไม่ได้เพราะบอกว่าไม่ใช่สถานศึกษา ขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ บอกว่า ศูนย์การศึกษามีสถานะเป็นสถานศึกษา และ พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ระบุว่าข้าราชการครูจะต้องมีใบอนุญาตฯ เพื่อประโยชน์ในการประเมินความก้าวหน้าตรงนี้จึงยังเป็นจุดขัดแย้งกัน ดังนั้น อาจจะต้องมาหารือเพื่อแก้ไขปัญหา หรือต่อไปอาจจะต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน” นายพะโยม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมได้รับแจ้งว่า เวลา 09.00 น.ครูศูนย์การศึกษาพิเศษจำนวน 200 คนจะเดินทางเข้าพบ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.เพื่อร้องเรียนกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการสอบบรรจุครูผู้ช่วย แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับไม่มีกลุ่มครูมาพบเลขาธิการ กพฐ.แต่อย่างใด เมื่อสอบถามจึงทราบว่าได้มีการประสานทำความเข้าใจแล้วกลุ่มครูจึงยกเลิกการเดินทาง
นายพะโยม ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเพื่อขอให้ช่วยเหลือครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 53 คนที่กำลับประสบปัญหาภายหลังสอบบรรจุครู ได้แต่ติดขัด เพราะครูการศึกษาพิเศษกลุ่มนี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และไม่สามารถขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่คุรุสภายึดเป็นกรอบการพิจารณาการอนุมัติใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ไม่ได้ถือว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษนั้น มีสถานะเป็นสถานศึกษา ขณะเดียวกัน คุรุสภาก็เกณฑ์การพิจารณาด้วยว่าสถานศึกษาจะต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกโดยหน่วยงาน เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) แต่ศูนย์การศึกษาพิเศษไม่เคยมีการประเมินมาก่อน ด้วยเหตุนี้ทำให้ครูศูนย์การศึกษาพิเศษไม่สามารถขอใบอนุญาตฯ ทั้งนี้ ทางคุรุสภารับปากจะไปดูแลเป็นพิเศษ โดยจะให้คณะอนุกรรมการกฎหมายคุรุสภาไปดูรายละเอียด และนำเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภาที่จะมีในครั้งต่อไป
“ตอนนี้ประสบปัญหาเพียง 53 คน แต่ในอนาคตระยะยาวเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบถึงข้าราชการครูที่สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีอยู่ประมาณ 1,000 กว่าคน ที่จะต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตฯ เพราะว่าการตีความสถานะของศูนย์ในกฎหมายต่างกัน คุรุสภาไม่มองว่า ศูนย์การศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษา คนที่จบครูมา หรือจบสาขาอื่นแต่ไปเรียนวิชาชีพครูเพิ่มเติมพอมาฝึกสอนที่ศูนย์ฯ เสร็จไปขอใบอนุญาตฯก็ไม่ได้เพราะบอกว่าไม่ใช่สถานศึกษา ขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ บอกว่า ศูนย์การศึกษามีสถานะเป็นสถานศึกษา และ พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ระบุว่าข้าราชการครูจะต้องมีใบอนุญาตฯ เพื่อประโยชน์ในการประเมินความก้าวหน้าตรงนี้จึงยังเป็นจุดขัดแย้งกัน ดังนั้น อาจจะต้องมาหารือเพื่อแก้ไขปัญหา หรือต่อไปอาจจะต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน” นายพะโยม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เดิมได้รับแจ้งว่า เวลา 09.00 น.ครูศูนย์การศึกษาพิเศษจำนวน 200 คนจะเดินทางเข้าพบ นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.เพื่อร้องเรียนกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการสอบบรรจุครูผู้ช่วย แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับไม่มีกลุ่มครูมาพบเลขาธิการ กพฐ.แต่อย่างใด เมื่อสอบถามจึงทราบว่าได้มีการประสานทำความเข้าใจแล้วกลุ่มครูจึงยกเลิกการเดินทาง