กรมควบคุมโรค ตั้งเป้า 10 ปี ยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในไทย ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศ ภายในปี 2563
วันนี้ (14 ก.ค. ) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นายแพทย์ มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมทศวรรษมุ่งสู่การยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย (2554-2563)” ว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 พบอัตราป่วยทั่วประเทศ 0.36 ต่อ 1,000 ประชากร มีจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วย 23 จังหวัด และจังหวัดที่มีอัตราป่วยมากกว่า 1 ต่อ 1,000 ประชากร เพียง 11 จังหวัด มีอำเภอที่ไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียจำนวน 702 อำเภอ จะเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะดำเนินโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียตามนโยบายองค์การอนามัยโลกได้ การประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 170 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารกรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 1-12 ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง และหน่วยงานอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทราบถึงกลยุทธ์ กลวิธี เครื่องมือ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย รวมถึงพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย อันจะทำให้การดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภายในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2554-2563) กรมควบคุมโรค ตั้งเป้าหมายการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียอย่างถาวร และให้คลอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศ โดยเป้าหมายแรกเริ่มของการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดปี 2559 จะเพิ่มพื้นที่ยับยั้งการแพร่เชื้อ (elimination) เป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ และลดอัตราป่วยให้เหลือไม่เกิน 0.2 ต่อประชากร 1,000 คน (API) ลดอัตราตายให้เหลือไม่เกิน 0.05 ต่อประชากร 100,000 คน โดยจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ชายแดนและประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษ เช่น กลุ่มคนกรีดยางในสวนยาง กลุ่มที่ทำไร่สับปะรด เป็นต้น
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของโครงการดังกล่าว คือ 1.เพื่อลดพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรีย ให้มีการแพร่เชื้ออยู่ในพื้นที่จำกัดเท่านั้น 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมาลาเรียทุกรายเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐานและได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 3.เพื่อลดปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาหลายขนานและลดการแพร่กระจายของเชื้อจากต้นกำเนิดไปสู่พื้นที่อื่น 4.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษและผู้อยู่ในพื้นที่ชายแดนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงตามแนวทางมาตรฐานแห่งชาติ และ 5.เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคมาลาเรีย
วันนี้ (14 ก.ค. ) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นายแพทย์ มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมทศวรรษมุ่งสู่การยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย (2554-2563)” ว่า สถานการณ์โรคมาลาเรียลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 พบอัตราป่วยทั่วประเทศ 0.36 ต่อ 1,000 ประชากร มีจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วย 23 จังหวัด และจังหวัดที่มีอัตราป่วยมากกว่า 1 ต่อ 1,000 ประชากร เพียง 11 จังหวัด มีอำเภอที่ไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรียจำนวน 702 อำเภอ จะเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะดำเนินโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียตามนโยบายองค์การอนามัยโลกได้ การประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนกว่า 170 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารกรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 1-12 ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง และหน่วยงานอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทราบถึงกลยุทธ์ กลวิธี เครื่องมือ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินโครงการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียในประเทศไทย รวมถึงพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย อันจะทำให้การดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรียมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภายในระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2554-2563) กรมควบคุมโรค ตั้งเป้าหมายการยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียอย่างถาวร และให้คลอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศ โดยเป้าหมายแรกเริ่มของการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดปี 2559 จะเพิ่มพื้นที่ยับยั้งการแพร่เชื้อ (elimination) เป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ และลดอัตราป่วยให้เหลือไม่เกิน 0.2 ต่อประชากร 1,000 คน (API) ลดอัตราตายให้เหลือไม่เกิน 0.05 ต่อประชากร 100,000 คน โดยจะเฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ชายแดนและประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษ เช่น กลุ่มคนกรีดยางในสวนยาง กลุ่มที่ทำไร่สับปะรด เป็นต้น
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของโครงการดังกล่าว คือ 1.เพื่อลดพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อมาลาเรีย ให้มีการแพร่เชื้ออยู่ในพื้นที่จำกัดเท่านั้น 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมาลาเรียทุกรายเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐานและได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 3.เพื่อลดปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาหลายขนานและลดการแพร่กระจายของเชื้อจากต้นกำเนิดไปสู่พื้นที่อื่น 4.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงพิเศษและผู้อยู่ในพื้นที่ชายแดนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงตามแนวทางมาตรฐานแห่งชาติ และ 5.เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการวินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคมาลาเรีย