กสร.-สภาทนายความ แจงตาม กม.แรงงาน ระบุแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในไทยทั้งถูก กม.-ผิด กม.ต้องได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แนะรัฐบาลใหม่ดูแลสถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวตามค่าจ้างขั้นต่ำ คุมเข้มใช้แรงงานเถื่อน ด้าน กสร.เผยสุ่มสำรวจพบต่างด้าวส่วนใหญ่ถูกเบี้ยวค่าจ้างขั้นต่ำ
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ กลุ่มที่จดทะเบียนแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับคนไทย ซึ่งที่ผ่านมามีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากฟ้องศาลเพราะไม่ได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและชนะคดี
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน จะต้องครอบคลุมไปถึงแรงงานต่างด้าวด้วย ซึ่งการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เป็นจริงซึ่งขณะนี้ตัวเลขค่าจ้างจริงๆ อยู่ที่กว่า 400 บาทต่อวันแล้ว
“อยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้สถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับคนไทย รวมทั้งเอาจริงเอาจังในการปราบปรามการใช้แรงงานเถื่อนและกดค่าแรงไม่จ่ายตามค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ปล่อยให้สถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายแล้วจ่ายค่าจ้างถูกกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อหนีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อหวังลดต้นทุน ทั้งนี้ การจ้างแรงงานต่างด้าวโดยถูกกฎหมายจะเป็นผลดีต่อประเทศไทยในระยะยาวเพราะจะลดปัญหาเรื่องการใช้แรงงานเถื่อนและการค้ามนุษย์ ทำให้ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในเรื่องการจ้างงาน” นายสุรพงษ์ กล่าว
นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น แรงงานต่างด้าวทุกกลุ่มทั้งที่เข้ามาทำงานในไทย ไม่ว่าเข้ามาโดยถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย เมื่อเข้าสู่ระบบนายจ้างและลูกจ้างจะได้ค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนคนไทยทุกประการ แต่ในส่วนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในไทยโดยผิดกฎหมายจะมีความผิดข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย
“ที่ผ่านมา แรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็ไม่กล้าเข้ามาร้องเรียนเพราะกลัวถูกจับข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปี กสร.ได้สุ่มตรวจแรงงานต่างด้าวจำนวน 6-7 พันคน และพบว่า มีแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ และพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งทางกสร.ได้ตักเตือนนายจ้างและออกคำสั่งให้ดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” นางอัมพร กล่าว
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ กลุ่มที่จดทะเบียนแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่ได้จดทะเบียนได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับคนไทย ซึ่งที่ผ่านมามีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากฟ้องศาลเพราะไม่ได้รับค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและชนะคดี
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน จะต้องครอบคลุมไปถึงแรงงานต่างด้าวด้วย ซึ่งการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำนั้นต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เป็นจริงซึ่งขณะนี้ตัวเลขค่าจ้างจริงๆ อยู่ที่กว่า 400 บาทต่อวันแล้ว
“อยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้สถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับคนไทย รวมทั้งเอาจริงเอาจังในการปราบปรามการใช้แรงงานเถื่อนและกดค่าแรงไม่จ่ายตามค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ปล่อยให้สถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายแล้วจ่ายค่าจ้างถูกกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อหนีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อหวังลดต้นทุน ทั้งนี้ การจ้างแรงงานต่างด้าวโดยถูกกฎหมายจะเป็นผลดีต่อประเทศไทยในระยะยาวเพราะจะลดปัญหาเรื่องการใช้แรงงานเถื่อนและการค้ามนุษย์ ทำให้ประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในเรื่องการจ้างงาน” นายสุรพงษ์ กล่าว
นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น แรงงานต่างด้าวทุกกลุ่มทั้งที่เข้ามาทำงานในไทย ไม่ว่าเข้ามาโดยถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย เมื่อเข้าสู่ระบบนายจ้างและลูกจ้างจะได้ค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนคนไทยทุกประการ แต่ในส่วนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในไทยโดยผิดกฎหมายจะมีความผิดข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย
“ที่ผ่านมา แรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็ไม่กล้าเข้ามาร้องเรียนเพราะกลัวถูกจับข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปี กสร.ได้สุ่มตรวจแรงงานต่างด้าวจำนวน 6-7 พันคน และพบว่า มีแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ และพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับค่าตอบแทนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งทางกสร.ได้ตักเตือนนายจ้างและออกคำสั่งให้ดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” นางอัมพร กล่าว