ผอ.วิจัยทีดีอาร์ไอ จี้ กรมสวัสดิการฯทำงานเชิงรุก ประสานสภาทนายฯ ให้ความรู้ กม.แรงงานแก่ลูกจ้าง ห่วงนโยบาย 300 บ.กระทบลูกจ้าง ตกงานแน่นอนกว่า 2 แสนคน เสี่ยงเกือบ 7 แสน ชี้ “โฮยา” เป็นเพียงตัวอย่าง สถานประกอบการหันใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน-ใช้ลูกจ้างเหมาช่วงแทนประจำ แกนนำแรงงาน ชี้ ก.แรงงาน ต้องเข้าอุ้ม ให้ความเป็นธรรมลูกจ้าง หวั่นนายจ้างอื่นทำตาม ด้านอธิบดีกรมสวัสดิการ แจง “โฮยา” เลิกจ้าง เหตุออเดอร์ลด มอบสวัสดิการฯจังหวัดไกล่เกลี่ยแล้ว
วันนี้ (7 ธ.ค.) จากกรณีที่มีการเลิกจ้างพนักงานบริษัท โฮยา กลาส ดิสก์ ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน กว่า 2,000 คน เมื่อวันที่ 11 พ.ย.-30 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยทางบริษัทอ้างว่าไม่มีออเดอร์และขาดทุน แต่จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ตัวเลขผลกำไรของบริษัท ที่ผ่านมา ล่าสุด ปี 2553 มีกำไร 591 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม ทำให้กลุ่มสหภาพแรงงานตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นการหลีกเลี่ยงนโยบายการเพิ่มค่าจ้าง 40% ให้พนักงาน ที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้นในปี 2555 โดยใช้เครื่องจักรใหม่มาแทนกำลังคน เนื่องจากมีการขนย้ายเครื่องจักรเข้าออกโรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากข้อตกลงสภาพการจ้างเดิม บริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มตามส่วนต่างของค่าจ้างขั้นต่ำหากมีการปรับขึ้น
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินหรือลงทุนเพื่อซื้อเครื่องจักรมาแทนแรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว เพราะต้นทุนด้านแรงงานจะเพิ่มขึ้น 5-6% หากมีการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำขึ้น 40% ทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ทั้งนี้ ทางรัฐต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานและไม่ให้เป็นแบบอย่างแก่สถานประกอบการอื่นๆ
ดร.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า คงไม่เฉพาะบริษัท โฮยา เพราะที่ได้ประเมินไว้จะมีแรงงานกว่า 6-7 แสนคน ที่อยู่ในบัญชีเสี่ยงตกงาน ซึ่งประมาณ 20-30% หรือประมาณ 1.4-2 แสนคน จะตกงานแน่นอน เนื่องจากบริษัท หรือเอสเอ็มอี ที่ฐานไม่แน่นพอ จะอยู่ไม่ได้ ทำสถานประกอบการอาจมีการปรับตัวไปใช้คนงานเหมาช่วง 70% ส่วนคนงานประจำใช้ 30% เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เพราะในระยะยาวจะประหยัดต้นทุนกว่า เหมาะกับสภาพการสั่งผลิตสินค้าที่ไม่แน่นอน ในตลาดการแข่งขันสูง
“สิ่งเหล่านี้ทำให้แรงงานมีความเครียด เพราะขาดความมั่นคง ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต้องทำงานเชิงรุก ไม่ใช่รอให้เกิดปัญหาก่อน เช่น เข้าไปให้ความรู้กับแรงงาน ร่วมกับสมาคมทนายความ ด้านแรงงาน ด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของแรงงาน โดยประสานการทำงานร่วมกับกรมการจัดหางานในการหาตำแหน่งงานรองรับและเคลื่อนย้ายแรงงานไปในภาคส่วนที่ยังขาดแคลนอยู่ เช่น ภาคตะวันออก หรือแถวจ.นครราชสีมา” ดร.ยงยุทธ กล่า
ดร.ยงยุทธ กล่าวเพิ่มเติม ว่า ส่วนบริษัทที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอยากให้ทางรัฐประสานกับสถานประกอบการเพื่อให้ข้อมูลกับแรงงานทุกอาทิตย์ โดยอาจจะให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบมาลงทะเบียนไว้ แล้วทางรัฐจะประสานงานให้ เพื่อให้แรงงานทราบอนาคตการทำงานของตัวเอง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า อยากให้ทางกระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบถึงข้อเท็จจริงที่แรงงานต้องถูกไล่ออกและสถานประกอบการต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย เพื่อไม่ให้ลุกลามตัวอย่างให้กับที่อื่น
“สิ่งสำคัญคือ ข้อเท็จจริงว่าทำไมแรงงานต้องถูกไล่ออก เพราะตอนนี้แรงงานส่วนใหญ่ที่ถูกไล่ออกมักจะถูกฉวยโอกาสจากข้ออ้างว่าน้ำท่วม ดังนั้นทางกระทรวงแรงงานต้องเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากผลกระทบไม่ได้เกิดจากแรงงานเพียง 2 พันคน แต่ต้องรวมถึงครอบครัวของแรงงานเหล่านั้นด้วย” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า บริษัท โฮยา มีพนักงานอยู่ 4,500 คน และประสบปัญหาคำสั่งซื้อลดลง ทำให้ต้องลดพนักงานลงส่วนหนึ่ง ซึ่งบริษัทก็ได้ประกาศเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมายโดยให้มีการเออรี่รีไทร์ตามสมัครใจและจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย ส่วนที่มีสหภาพแรงงานออกมาประท้วง อาจจะเป็นเพราะความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งได้มอบหมายสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ลำพูนเข้าไปไกล่เกลี่ยแล้ว อย่างไรก็ตาม หากสหภาพแรงงานรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กสร.ได้
วันนี้ (7 ธ.ค.) จากกรณีที่มีการเลิกจ้างพนักงานบริษัท โฮยา กลาส ดิสก์ ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน กว่า 2,000 คน เมื่อวันที่ 11 พ.ย.-30 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยทางบริษัทอ้างว่าไม่มีออเดอร์และขาดทุน แต่จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ตัวเลขผลกำไรของบริษัท ที่ผ่านมา ล่าสุด ปี 2553 มีกำไร 591 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม ทำให้กลุ่มสหภาพแรงงานตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นการหลีกเลี่ยงนโยบายการเพิ่มค่าจ้าง 40% ให้พนักงาน ที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้นในปี 2555 โดยใช้เครื่องจักรใหม่มาแทนกำลังคน เนื่องจากมีการขนย้ายเครื่องจักรเข้าออกโรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากข้อตกลงสภาพการจ้างเดิม บริษัทจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มตามส่วนต่างของค่าจ้างขั้นต่ำหากมีการปรับขึ้น
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินหรือลงทุนเพื่อซื้อเครื่องจักรมาแทนแรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว เพราะต้นทุนด้านแรงงานจะเพิ่มขึ้น 5-6% หากมีการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำขึ้น 40% ทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ทั้งนี้ ทางรัฐต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานและไม่ให้เป็นแบบอย่างแก่สถานประกอบการอื่นๆ
ดร.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า คงไม่เฉพาะบริษัท โฮยา เพราะที่ได้ประเมินไว้จะมีแรงงานกว่า 6-7 แสนคน ที่อยู่ในบัญชีเสี่ยงตกงาน ซึ่งประมาณ 20-30% หรือประมาณ 1.4-2 แสนคน จะตกงานแน่นอน เนื่องจากบริษัท หรือเอสเอ็มอี ที่ฐานไม่แน่นพอ จะอยู่ไม่ได้ ทำสถานประกอบการอาจมีการปรับตัวไปใช้คนงานเหมาช่วง 70% ส่วนคนงานประจำใช้ 30% เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เพราะในระยะยาวจะประหยัดต้นทุนกว่า เหมาะกับสภาพการสั่งผลิตสินค้าที่ไม่แน่นอน ในตลาดการแข่งขันสูง
“สิ่งเหล่านี้ทำให้แรงงานมีความเครียด เพราะขาดความมั่นคง ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต้องทำงานเชิงรุก ไม่ใช่รอให้เกิดปัญหาก่อน เช่น เข้าไปให้ความรู้กับแรงงาน ร่วมกับสมาคมทนายความ ด้านแรงงาน ด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของแรงงาน โดยประสานการทำงานร่วมกับกรมการจัดหางานในการหาตำแหน่งงานรองรับและเคลื่อนย้ายแรงงานไปในภาคส่วนที่ยังขาดแคลนอยู่ เช่น ภาคตะวันออก หรือแถวจ.นครราชสีมา” ดร.ยงยุทธ กล่า
ดร.ยงยุทธ กล่าวเพิ่มเติม ว่า ส่วนบริษัทที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอยากให้ทางรัฐประสานกับสถานประกอบการเพื่อให้ข้อมูลกับแรงงานทุกอาทิตย์ โดยอาจจะให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบมาลงทะเบียนไว้ แล้วทางรัฐจะประสานงานให้ เพื่อให้แรงงานทราบอนาคตการทำงานของตัวเอง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า อยากให้ทางกระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบถึงข้อเท็จจริงที่แรงงานต้องถูกไล่ออกและสถานประกอบการต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย เพื่อไม่ให้ลุกลามตัวอย่างให้กับที่อื่น
“สิ่งสำคัญคือ ข้อเท็จจริงว่าทำไมแรงงานต้องถูกไล่ออก เพราะตอนนี้แรงงานส่วนใหญ่ที่ถูกไล่ออกมักจะถูกฉวยโอกาสจากข้ออ้างว่าน้ำท่วม ดังนั้นทางกระทรวงแรงงานต้องเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากผลกระทบไม่ได้เกิดจากแรงงานเพียง 2 พันคน แต่ต้องรวมถึงครอบครัวของแรงงานเหล่านั้นด้วย” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า บริษัท โฮยา มีพนักงานอยู่ 4,500 คน และประสบปัญหาคำสั่งซื้อลดลง ทำให้ต้องลดพนักงานลงส่วนหนึ่ง ซึ่งบริษัทก็ได้ประกาศเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมายโดยให้มีการเออรี่รีไทร์ตามสมัครใจและจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย ส่วนที่มีสหภาพแรงงานออกมาประท้วง อาจจะเป็นเพราะความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งได้มอบหมายสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ลำพูนเข้าไปไกล่เกลี่ยแล้ว อย่างไรก็ตาม หากสหภาพแรงงานรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กสร.ได้