เครือข่ายภาคประชาชน บุกแพทยสภา ขอให้ยุติการคัดค้าน “หนังสือแสดงสิทธิการตาย” วอนอย่าเห็นแก่ประโยชน์แอบแฝงของแพทย์ เลขาแพทยสภา ยันเห็นด้วยในเจตนารมณ์ ค้านคำจำกัดความ “วาระสุดท้ายของชีวิต” ไม่ชัดเจน ขอเวลาทบทวน 14 ก.ค.
วันนี้ (12 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิด้านสุขภาพ 4 ภาค รวมตัวกันราว 20 คน ได้เดินทางมายังแพทยสภา เพื่อขอเข้าพบ ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา พร้อมยื่นหนังสือแถลงการณ์ขอให้แพทยสภา สนับสนุนการใช้หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า หนังสือแสดงสิทธิการตาย โดยมีนพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือ แทน
โดยแถลงการณ์ ระบุว่า เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิสุขภาพ 4 ภาค ขอยืนยันตามเจตนารมณ์ในสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลตามมาตรา 32 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ว่าด้วยบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อีกทั้งขอเรียกร้องให้กลุ่มแพทย์ที่กำลังเคลื่อนไหวขัดขวางสิทธิของประชาชนได้หยุดคิดว่า กำลังทำอะไรอยู่ หรือคิดและทำไปโดยมีเรื่องผลประโยชน์จากธุรกิจการแพทย์แอบแฝงที่อาจได้รับจากการยืดการตายของผู้ป่วย ดังนั้น แพทย์กลุ่มดังกล่าวควรหยุดเคลื่อนไหว และหันกลับมาร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลเพื่อรองรับการใช้สิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามวิชาชีพของแพทย์
ด้านนพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า เห็นด้วยที่ประชาชนจะมีสิทธิในการปฏิเสธการรักษา แต่ปัญหาคือ เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งในเรื่องคำจำกัดความของ “วาระสุดท้ายของชีวิต” “ความทรมาน” จะต้องวินิจฉัยกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันเรื่องเอกสาร จะพิสูจน์ว่าจริงเท็จอย่างไร ซึ่งแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ส่วนนี้ ทางที่ดีที่สุดต้องมีหน่วยงานดูแล หรือรับรองเอกสารเพื่อความสบายใจของแพทย์ โดย สช.อาจทำหน้าที่ดังกล่าว แต่สุดท้ายแพทย์ต้องหารือกับญาติให้แน่ชัด ซึ่งหากไม่ได้ข้อยุติสุดท้ายอาจต้องพึ่งศาลตัดสินว่า ตกลงผู้ป่วยเข้าข่ายวาระสุดท้ายหรือไม่
เลขาธิการแพทยสภา กล่าวด้วยว่า การประชุมบอร์ดแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.นี้ จะหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ในการฟ้องศาลปกครอง เนื่องจากความเห็นส่วนหนึ่งมองว่ากฎกระทรวงออกเกินอำนาจของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ หรือไม่ ที่สำคัญหากไม่ชัดเจนเรื่องนี้จะเข้าข่ายกำหนดให้แพทย์ไม่ทำการรักษา หรือถอดเครื่องหายใจ ซึ่งไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องชัดเจน ซึ่งประเด็นการฟ้องร้องนั้น หากมีการฟ้องร้องจริงคงไม่ใช่แพทยสภาเป็นผู้ดำเนินการ แต่อาจเป็นแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน หรือในนามสมาพันธ์ต่างๆ ก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องรอมติจากบอร์ดแพทยสภาก่อน ขณะนี้จึงยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
“ทั้งนี้ หากมีการฟ้องศาลปกครองจริงจะมี 2 แนวทาง คือ ชะลอ หรือทุเลาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนจะพิจารณาอย่างละเอียด ว่า จะตัดสินยกเลิกกฎกระทรวง หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
วันนี้ (12 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิด้านสุขภาพ 4 ภาค รวมตัวกันราว 20 คน ได้เดินทางมายังแพทยสภา เพื่อขอเข้าพบ ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา พร้อมยื่นหนังสือแถลงการณ์ขอให้แพทยสภา สนับสนุนการใช้หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า หนังสือแสดงสิทธิการตาย โดยมีนพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือ แทน
โดยแถลงการณ์ ระบุว่า เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิสุขภาพ 4 ภาค ขอยืนยันตามเจตนารมณ์ในสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลตามมาตรา 32 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ว่าด้วยบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อีกทั้งขอเรียกร้องให้กลุ่มแพทย์ที่กำลังเคลื่อนไหวขัดขวางสิทธิของประชาชนได้หยุดคิดว่า กำลังทำอะไรอยู่ หรือคิดและทำไปโดยมีเรื่องผลประโยชน์จากธุรกิจการแพทย์แอบแฝงที่อาจได้รับจากการยืดการตายของผู้ป่วย ดังนั้น แพทย์กลุ่มดังกล่าวควรหยุดเคลื่อนไหว และหันกลับมาร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลเพื่อรองรับการใช้สิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามวิชาชีพของแพทย์
ด้านนพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า เห็นด้วยที่ประชาชนจะมีสิทธิในการปฏิเสธการรักษา แต่ปัญหาคือ เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งในเรื่องคำจำกัดความของ “วาระสุดท้ายของชีวิต” “ความทรมาน” จะต้องวินิจฉัยกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันเรื่องเอกสาร จะพิสูจน์ว่าจริงเท็จอย่างไร ซึ่งแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ส่วนนี้ ทางที่ดีที่สุดต้องมีหน่วยงานดูแล หรือรับรองเอกสารเพื่อความสบายใจของแพทย์ โดย สช.อาจทำหน้าที่ดังกล่าว แต่สุดท้ายแพทย์ต้องหารือกับญาติให้แน่ชัด ซึ่งหากไม่ได้ข้อยุติสุดท้ายอาจต้องพึ่งศาลตัดสินว่า ตกลงผู้ป่วยเข้าข่ายวาระสุดท้ายหรือไม่
เลขาธิการแพทยสภา กล่าวด้วยว่า การประชุมบอร์ดแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.นี้ จะหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ในการฟ้องศาลปกครอง เนื่องจากความเห็นส่วนหนึ่งมองว่ากฎกระทรวงออกเกินอำนาจของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ หรือไม่ ที่สำคัญหากไม่ชัดเจนเรื่องนี้จะเข้าข่ายกำหนดให้แพทย์ไม่ทำการรักษา หรือถอดเครื่องหายใจ ซึ่งไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องชัดเจน ซึ่งประเด็นการฟ้องร้องนั้น หากมีการฟ้องร้องจริงคงไม่ใช่แพทยสภาเป็นผู้ดำเนินการ แต่อาจเป็นแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน หรือในนามสมาพันธ์ต่างๆ ก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องรอมติจากบอร์ดแพทยสภาก่อน ขณะนี้จึงยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
“ทั้งนี้ หากมีการฟ้องศาลปกครองจริงจะมี 2 แนวทาง คือ ชะลอ หรือทุเลาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนจะพิจารณาอย่างละเอียด ว่า จะตัดสินยกเลิกกฎกระทรวง หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว