xs
xsm
sm
md
lg

“อภิสิทธิ์” ส่ายหน้า พท.ฝันจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ 3 จว.ชายแดนใต้ แค่เกมหาเสียง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี สับนโยบายเขตปกครองพิเศษ 3 จว.ชายแดนใต้ เป็นเรื่องไร้สาระ ชี้ยิ่งเพิ่มความขัดแย้ง เย้ยแค่ลมปากหาเสียงเชิงสัญลักษณ์ เชื่อ คนใต้ไม่เอาด้วย ยกหาง ปชป.เน้นเศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

วันนี้ (15 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับ 1 พรรคเพื่อไทย ชูการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดให้เป็นเขตปกครองพิเศษ ว่า เรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายกระจายอำนาจและคนในพื้นที่มีส่วนร่วมมาก ขึ้นเป็นทิศทางที่เราเดินหน้ามาตลอด โครงสร้างศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ใหม่ มีสภาที่ปรึกษาจากตัวแทนทุกภาคส่วน ขณะเดียวกัน องค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องได้รับอำนาจมากขึ้น และสามารถตกลงกันเอง

โดยมีการยุบรวมกันเองได้โดยมีการยุบรวม หรือมีข้อเสนอของคนในพื้นที่ขึ้นมาเราจะพิจารณา แต่การกระโดดไปเป็นองค์กรรูปแบบพิเศษทันทีอย่างเมืองพัทยานั้น ตนต้องบอกว่า 1.อบจ.อบต.ทุกแห่งที่นั่นหายไปทันที เพราะเป็นแนวทางของการทำองค์กรท้องถิ่นของท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2.ตนสันนิษฐานเอาว่า องค์นี้จะตั้งอยู่ที่ปัตตานีตนถามว่าคนที่อยู่เบตง สุไหงโก-ลก จากเดิมที่มี อบต.เทศบาล อบจ.ที่ค่อนข้างใกล้พื้นที่ของตัวเองต่อไปต้องไปขึ้นอยู่ที่ปัตตานีหมด

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เป็นว่าแนวทางของพรรคเพื่อไทย มันไปตอบโจทย์ของการที่จะให้ทุกคนได้ รับการดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร ตนว่ามันเป็นเพียงการพูดเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่จะเป็นการตอบโจทย์ชีวิตจริง ของพรรคประชาธิปัตย์ตอบโจทย์ เพราะอบต.เทศบาล อบจ.จะได้รับอำนาจมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทางพิเศษในการนำเสนอนโยบายผ่านสภา ที่ปรึกษาตามโครงสร้าง ศอ.บต.ใหม่และเขามีโครงการที่สามารถที่จะนำเสนอได้ ผ่านกลไกของคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดภาคใต้ (กพต.) ดำเนินการกันอยู่ในขณะนี้ และที่ผ่านมา เราพิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อเหตุการณ์มันคลี่คลายได้เราสามารถที่ จะยกเลิกกฎหมายพิเศษ อย่างที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี หรือใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้ และเราไม่ย้อนกลับไป แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศก็ยอมรับว่าทำผิดพลาดเอาไว้

ผู้สื่อข่าวถามว่า สิ่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เน้น จะมีการพัฒนาพื้นที่โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมเข้าไป ประชาธิปัตย์ชูอะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประชาธิปัตย์เราชูการทำเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ดังนั้นโครงการที่เราเข้าไปทำตอนนี้โครงการ"พนม.พนพ.พนอ." หลายพื้นที่ประสบควาามสำเร็จมากเพราะเสนอจากพื้นที่เอง อย่าไปคิดแทนเขาเพราะบางทีการนำอุตสาหกรรมบางอย่างเข้าไปกลายเป็นไปเพิ่ม ความขัดแย้งกับคนในพื้นที่ เช่น พูดถึงอุตสาหกรรมปิโตรน้ำมันอะไรต่างๆต้องไปฟังชาวประมงพื้นบ้านที่ปัตตานี ด้วย เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์พูดถึงเศรษฐกิจพิเศษที่อาจจะไปดำเนินการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกฎหมายที่เราทดลองนำร่องที่ อ.แม่สอด จ.ตากก่อน ความจริงที่แม่สอดมีทั้งเศรษฐกิจพิเศษ และรูปแบบการปกครองพิเศษซึ่งเป็นวิธีการเขียนกฎหมายใหม่ ขณะนี้ออกมาแล้วเราจะเดินหน้าเสนอกฎหมายถ้าเป็นรูปแบบที่เห็นได้ชัดว่าทำได้ แล้วเราจะทำกฎหมายอื่นกับพื้นที่อื่นๆ พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษการค้าชายแดน รวมทั้ง 3 จังหวัดด้วย ตนว่าคนในพื้นที่เขารู้ และเข้าใจ เพราะว่าในการจัดดีเบตในหลายเวทีที่ผ่านมา ที่มีเรื่องของ 3 จังหวัดภาคใต้พอเขาได้รับรู้ว่าแปลว่าเขาเสียการลงคะแนนอบต.อบจ.เศบาล แปลว่าต่อไปหน่วยงานที่ดูแลเขาอยู่ไกลออกไปแทนที่จะอยู่ใกล้กับตำบล หรือจังหวัดของเขาตนว่าเป็นซึ่งเขากังวลเหมือนกัน

ต่อข้อถามว่า มีการเลือกตั้งครั้งหนึ่งที่คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคปฏิเสธพรรคไทยรักไทยทั้งหมด คิดว่า จะเกิดลักษณะอย่างนี้ในสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนตอบยากประชาชน 3 จังหวัดต้องเป็นผู้ตอบ แต่มันชัดเจนว่า ปี 48 เป็นการปฏิเสธการแก้ปัญหา ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์อย่าง มัสยิดกรือเซะ หรือที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อย่างชัดเจน เมื่อถามว่า เมื่อทักษิณคิดเพื่อไทยทำจะมีอะไรแตกต่างไปจากการแก้ปัญหาในภาคใต้ได้บ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนตอบแทนไม่ได้ ต้องไปถามว่าคุณทักษิณคิดอะไร เมื่อถามว่า กลัวว่า นโยบายเขตปกครองพิเศษจะดึงคะแนนพรรคประชาธิปัตย์ไปหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่กลัวเหมือนกับที่ไปโฆษณาเรื่องแลนด์บริดจ์จะเอาอุตสาหกรรมหนักเข้าไปตน บอกว่าเราไม่เอา คนภาคใต้ควรจะมีแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีหลักประกันว่าไม่เจอความเสี่ยงจากการที่ทรัพย์สินตรงนั้นถูกทำลาย โดยอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรืออะไรก็ตามจากการที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรืออุตสาหกรรมหนักเข้าไป
กำลังโหลดความคิดเห็น