**สนามเลือกตั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ยะลา-ปัตตานี-นราธิวาส” ที่มีส.ส.เขตรวมกันทั้งสิ้น 11 คน แยกเป็นปัตตานี 4 คน นราธิวาส 4 คน ยะลา 3 คน เวลานี้ยังยากจะตัดสินได้ว่า พรรคไหนจะคว้าที่นั่งในระบบเขต และคะแนนเสียงในระบบปาร์ตี้ลิสต์ได้มากที่สุด
พรรคมาตุภูมิของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ที่ประกาศความเป็น “พรรคมุสลิม” ก็หวังจะได้ที่นั่งส.ส.ในสามจังหวัดนี้มากที่สุด เพื่อให้เป้าหมายการเป็นพรรคที่มี ส.ส.อย่างน้อย 12 คน ไม่พลาดเป้า โดยใน 11 ที่นั่งที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มาตภูมิวางไว้ว่าต้องเป็นพรรคที่ได้มากที่สุด คือ 6 ที่นั่ง
ประกอบด้วย ที่ จ.ปัตตานี รอบนี้ มุข สุไลมาน อดีต ส.ส.ปัตตานี หลายสมัยขอลงแก้มือในเขต 4 หากยังสอบตก โอกาสจะกลับมายากแล้ว อีกหนึ่งคนคือ อนุมัติ ซูสารอ ที่เคยลงแข่งชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้อันดับสอง แต่ก็ได้คะแนน 7 หมื่นกว่าคะแนน ทำให้เป็นผู้สมัครที่พรรคมีความหวังอีกคน
ขณะที่ จ.นราธิวาส พรรคตั้งเป้าไว้คือ เขต 2 สามารถ วาหลง ที่แม้จะเคยแพ้ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ที่ลงกับพรรคพลังประชาชนแล้วได้แค่ 23,773 คะแนน แต่มาครั้งนี้ มาลงในพื้นที่เดิมของ นัจมุดดีน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาสหลายสมัย ทำให้นัจมุดดีน จะลงมาช่วยให้ได้รับชัยชนะแม้เทียบตัวต่อตัวแล้วยังเป็นรองประชาธิปัตย์อยู่
ส่วนตัวนัจมุดดีนเองลงในเขต 3 ก็อาศัยลูกเก๋า น่าจะพอประคองตัวได้ อีกหนึ่งคนที่พลเอกสนธิหมายมั่นปั้นมือก็คือ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ รอบที่แล้ว ลงเพื่อแผ่นดิน ทีมเดียวกับ นพ.แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ หรือ “หมอแว” ได้มา 40,655 คะแนน เมื่อหมอแวไม่ลงเขต ทำให้กมลศักดิ์ เลยเข้าไปเสียบฐานเสียงเดิมของหมอแว ที่สำคัญคือ กมลศักดิ์ เป็นหนึ่งในลูกทีมทนายความของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความขวัญใจชาวไทยมุสลิม ที่ถูกอุ้มฆ่า เลยทำให้ถือเป็นตัวเต็งคนหนึ่งที่ บิ๊กบังเชื่อว่าน่าจะสู้ได้
พื้นที่ จ.ยะลา พรรคหวังไว้ที่ เขต 3 ของว่าที่ ร.ต.อับดุลฮาฟิช หิเล ที่เป็นอดีต ผอ.โรงเรียนอิสลามในพื้นที่เลือกตั้ง
ที่ยกมาคือตัวหลักๆ ของมาตุภูมิ และพรรคเชื่อว่าพอมีสิทธิ์ลุ้นชัยชนะ บนการชูจุดขายในพื้นที่ 2 เรื่องหลักคือ
**จุดขายเรื่องแรก มาตุภูมิ คือพรรคตัวแทนชาวไทยมุสลิม และพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หน.พรรค ก็คืออดีตผู้บัญชาการทหารบก-ผู้นำรัฐประหาร ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยมุสลิม
นอกจากนี้ ผู้สมัครระบบปาร์ตี้ลิสต์อันดับต้นๆ หลายคน ก็เป็นอดีตนักการเมือง-ผู้นำชาวไทยมุสลิม ที่ได้รับการยอมรับจากชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ลำดับ 3 ปาร์ตี้ลิสต์ อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีต ส.ส.นราธิวาส-อดีตส.ส.สัดส่วน , เด่น โต๊ะมีนา อดีต ส.ส.และ สว.ปัตตานี หลายสมัย ทายาทตระกูล หะหยีสุหลง อดีตผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้ลำดับ 8 หรือ ไพศาล ยิ่งสมาน อดีต ส.ส.ยะลา ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับ11 เป็นต้น
**จุดขายเรื่องที่สอง คือการชูจุดขายนโยบายการตั้ง “ทบวง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องภาพรวมจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลปัญหาของพื้นที่ และการพัฒนาด้านต่างๆโดยตรง
แนวคิดนี้จะทำให้งบประมาณและโครงการต่างๆ อยู่ในการดูแลของทบวงดังกล่าวนี้ จะได้มีรัฐมนตรีทบวงนี้ ที่เข้าใจปัญหาในพื้นที่ดีที่สุดไปเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคาร เวลามีปัญหาในพื้นที่ หรือจะผลักดันโครงการพัฒนาต่างๆ จะได้รวมศูนย์ไว้ที่นี้เพียงแห่งเดียว
แม้ว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ทำให้พรรคใหญ่สองพรรค อย่างประชาธิปัตย์ และ เพื่อไทย หนักใจพอสมควร ในการหานโยบายไปสู้กับมาตุภูมิ
โดยเฉพาะประชาธิปัตย์ ที่ยังคงงัวเงียอยู่แต่กับเรื่องผลงานการยกระดับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าเป็นผลงานที่ประชาธิปัตย์ทำสำเร็จมาแล้ว ทั้งที่แม้ตอนนี้ ศอ.บต.จะมีการยกระดับองค์กรให้ใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย เหตุความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นทุกวัน และหนักขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วน เพื่อไทย หลังทักษิณ ชินวัตร ขายแนวคิดเรื่องการให้เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง และการออกมายอมรับว่า มีการทำงานที่ผิดพลาดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนทำให้สถานการณ์ลุกลาม ถึงตอนนี้ เพื่อไทย ก็ยังไม่รับลูกทักษิณ ไปประกาศเป็นนโยบายอย่างจริงจังและยังไม่สามารถสร้างกระแสใดๆ ในพื้นที่ได้
ขณะที่การลงพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หวังจะไปสร้างกระแส “ปูแดงฟีเวอร์” ในพื้นที่ เดิม ยิ่งลักษณ์ มีข่าวว่าจะลงพื้นที่ภาคใต้รวมถึงมีข่าวว่าอาจจะแวะไปใน 3 จังหวัดภาคใต้ แบบเช้าไปเย็นกลับ เพื่อความปลอดภัยในสัปดาห์นี้ แต่ล่าสุดก็มีแนวโน้มว่าจะเลื่อนออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนดที่ชัดเจน
**ทำให้ทีมเลือกตั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ของเพื่อไทย เคว้งคว้างอย่างมาก 3 จังหวัดภาคใต้ จึงเป็นจุดอ่อนของเพื่อไทยอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์กันด้วยหลักความเป็นจริงทางการเมือง การชูจุดขายเรื่องแนวคิดตั้งทบวง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของมาตุภูมิ ก็น่าคิดเช่นกันว่า จะทำได้จริงหรือไม่ เพราะการทำเรื่องนี้ ต้องมีการไปออกกฎหมายในสภาผู้แทนราษฏร ลำพังแค่ยกระดับ ศอ.บต. พรรคประชาธิปัตย์กว่าจะผ่านได้ก็ต้องลัดคิวกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับ
จุดอ่อนของมาตุภูมิ ก็คือ การเป็นพรรคเล็ก ดูแล้วได้ ส.ส.ไม่น่าจะถึง 12 คน แต่การผ่านกฎหมายแค่วาระแรก ก็ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 250 เสียง ถ้าดูสัดส่วนนักการเมืองไทย-มุสลิม ที่เข้าไปเป็น ส.ส.แต่ละครั้งทุกพรรคการเมือง รอบนี้ประเมินให้เต็มที่ทั้งระบบเขต-ปาร์ตี้ลิสต์ ก็ไม่น่าจะเกิน 30 คน เรื่องตั้งทบวงแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต่อให้ส.ส.มุสลิมทั้งหมดเอาด้วย ไม่มีการแบ่งค่ายแบ่งพรรค ก็ยังมีปัญหาว่า พรรคต้นสังกัดจะเอาด้วยหรือเปล่า
เพราะหากมาตุภูมิ ทำเรื่องนี้สำเร็จ ก็จะกลายเป็นผลงานของพลเอกสนธิ และพรรคมาตุภูมิ พรรคอื่นแม้ร่วมสนับสนุน แต่ก็ไม่ใช่นโยบายที่ประกาศไว้ตอนหาเสียง
**ข้อเสียเปรียบของมาตุภูมิอยู่ตรงนี้ นโยบายดี แต่พอถึงเวลาจริงแล้ว ทำไม่ได้
พรรคมาตุภูมิของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ที่ประกาศความเป็น “พรรคมุสลิม” ก็หวังจะได้ที่นั่งส.ส.ในสามจังหวัดนี้มากที่สุด เพื่อให้เป้าหมายการเป็นพรรคที่มี ส.ส.อย่างน้อย 12 คน ไม่พลาดเป้า โดยใน 11 ที่นั่งที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มาตภูมิวางไว้ว่าต้องเป็นพรรคที่ได้มากที่สุด คือ 6 ที่นั่ง
ประกอบด้วย ที่ จ.ปัตตานี รอบนี้ มุข สุไลมาน อดีต ส.ส.ปัตตานี หลายสมัยขอลงแก้มือในเขต 4 หากยังสอบตก โอกาสจะกลับมายากแล้ว อีกหนึ่งคนคือ อนุมัติ ซูสารอ ที่เคยลงแข่งชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้อันดับสอง แต่ก็ได้คะแนน 7 หมื่นกว่าคะแนน ทำให้เป็นผู้สมัครที่พรรคมีความหวังอีกคน
ขณะที่ จ.นราธิวาส พรรคตั้งเป้าไว้คือ เขต 2 สามารถ วาหลง ที่แม้จะเคยแพ้ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ที่ลงกับพรรคพลังประชาชนแล้วได้แค่ 23,773 คะแนน แต่มาครั้งนี้ มาลงในพื้นที่เดิมของ นัจมุดดีน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาสหลายสมัย ทำให้นัจมุดดีน จะลงมาช่วยให้ได้รับชัยชนะแม้เทียบตัวต่อตัวแล้วยังเป็นรองประชาธิปัตย์อยู่
ส่วนตัวนัจมุดดีนเองลงในเขต 3 ก็อาศัยลูกเก๋า น่าจะพอประคองตัวได้ อีกหนึ่งคนที่พลเอกสนธิหมายมั่นปั้นมือก็คือ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ รอบที่แล้ว ลงเพื่อแผ่นดิน ทีมเดียวกับ นพ.แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ หรือ “หมอแว” ได้มา 40,655 คะแนน เมื่อหมอแวไม่ลงเขต ทำให้กมลศักดิ์ เลยเข้าไปเสียบฐานเสียงเดิมของหมอแว ที่สำคัญคือ กมลศักดิ์ เป็นหนึ่งในลูกทีมทนายความของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความขวัญใจชาวไทยมุสลิม ที่ถูกอุ้มฆ่า เลยทำให้ถือเป็นตัวเต็งคนหนึ่งที่ บิ๊กบังเชื่อว่าน่าจะสู้ได้
พื้นที่ จ.ยะลา พรรคหวังไว้ที่ เขต 3 ของว่าที่ ร.ต.อับดุลฮาฟิช หิเล ที่เป็นอดีต ผอ.โรงเรียนอิสลามในพื้นที่เลือกตั้ง
ที่ยกมาคือตัวหลักๆ ของมาตุภูมิ และพรรคเชื่อว่าพอมีสิทธิ์ลุ้นชัยชนะ บนการชูจุดขายในพื้นที่ 2 เรื่องหลักคือ
**จุดขายเรื่องแรก มาตุภูมิ คือพรรคตัวแทนชาวไทยมุสลิม และพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หน.พรรค ก็คืออดีตผู้บัญชาการทหารบก-ผู้นำรัฐประหาร ที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยมุสลิม
นอกจากนี้ ผู้สมัครระบบปาร์ตี้ลิสต์อันดับต้นๆ หลายคน ก็เป็นอดีตนักการเมือง-ผู้นำชาวไทยมุสลิม ที่ได้รับการยอมรับจากชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ลำดับ 3 ปาร์ตี้ลิสต์ อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีต ส.ส.นราธิวาส-อดีตส.ส.สัดส่วน , เด่น โต๊ะมีนา อดีต ส.ส.และ สว.ปัตตานี หลายสมัย ทายาทตระกูล หะหยีสุหลง อดีตผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้ลำดับ 8 หรือ ไพศาล ยิ่งสมาน อดีต ส.ส.ยะลา ปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับ11 เป็นต้น
**จุดขายเรื่องที่สอง คือการชูจุดขายนโยบายการตั้ง “ทบวง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” จะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องภาพรวมจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลปัญหาของพื้นที่ และการพัฒนาด้านต่างๆโดยตรง
แนวคิดนี้จะทำให้งบประมาณและโครงการต่างๆ อยู่ในการดูแลของทบวงดังกล่าวนี้ จะได้มีรัฐมนตรีทบวงนี้ ที่เข้าใจปัญหาในพื้นที่ดีที่สุดไปเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคาร เวลามีปัญหาในพื้นที่ หรือจะผลักดันโครงการพัฒนาต่างๆ จะได้รวมศูนย์ไว้ที่นี้เพียงแห่งเดียว
แม้ว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ทำให้พรรคใหญ่สองพรรค อย่างประชาธิปัตย์ และ เพื่อไทย หนักใจพอสมควร ในการหานโยบายไปสู้กับมาตุภูมิ
โดยเฉพาะประชาธิปัตย์ ที่ยังคงงัวเงียอยู่แต่กับเรื่องผลงานการยกระดับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าเป็นผลงานที่ประชาธิปัตย์ทำสำเร็จมาแล้ว ทั้งที่แม้ตอนนี้ ศอ.บต.จะมีการยกระดับองค์กรให้ใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย เหตุความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นทุกวัน และหนักขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วน เพื่อไทย หลังทักษิณ ชินวัตร ขายแนวคิดเรื่องการให้เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง และการออกมายอมรับว่า มีการทำงานที่ผิดพลาดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนทำให้สถานการณ์ลุกลาม ถึงตอนนี้ เพื่อไทย ก็ยังไม่รับลูกทักษิณ ไปประกาศเป็นนโยบายอย่างจริงจังและยังไม่สามารถสร้างกระแสใดๆ ในพื้นที่ได้
ขณะที่การลงพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หวังจะไปสร้างกระแส “ปูแดงฟีเวอร์” ในพื้นที่ เดิม ยิ่งลักษณ์ มีข่าวว่าจะลงพื้นที่ภาคใต้รวมถึงมีข่าวว่าอาจจะแวะไปใน 3 จังหวัดภาคใต้ แบบเช้าไปเย็นกลับ เพื่อความปลอดภัยในสัปดาห์นี้ แต่ล่าสุดก็มีแนวโน้มว่าจะเลื่อนออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนดที่ชัดเจน
**ทำให้ทีมเลือกตั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ของเพื่อไทย เคว้งคว้างอย่างมาก 3 จังหวัดภาคใต้ จึงเป็นจุดอ่อนของเพื่อไทยอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์กันด้วยหลักความเป็นจริงทางการเมือง การชูจุดขายเรื่องแนวคิดตั้งทบวง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของมาตุภูมิ ก็น่าคิดเช่นกันว่า จะทำได้จริงหรือไม่ เพราะการทำเรื่องนี้ ต้องมีการไปออกกฎหมายในสภาผู้แทนราษฏร ลำพังแค่ยกระดับ ศอ.บต. พรรคประชาธิปัตย์กว่าจะผ่านได้ก็ต้องลัดคิวกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับ
จุดอ่อนของมาตุภูมิ ก็คือ การเป็นพรรคเล็ก ดูแล้วได้ ส.ส.ไม่น่าจะถึง 12 คน แต่การผ่านกฎหมายแค่วาระแรก ก็ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 250 เสียง ถ้าดูสัดส่วนนักการเมืองไทย-มุสลิม ที่เข้าไปเป็น ส.ส.แต่ละครั้งทุกพรรคการเมือง รอบนี้ประเมินให้เต็มที่ทั้งระบบเขต-ปาร์ตี้ลิสต์ ก็ไม่น่าจะเกิน 30 คน เรื่องตั้งทบวงแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต่อให้ส.ส.มุสลิมทั้งหมดเอาด้วย ไม่มีการแบ่งค่ายแบ่งพรรค ก็ยังมีปัญหาว่า พรรคต้นสังกัดจะเอาด้วยหรือเปล่า
เพราะหากมาตุภูมิ ทำเรื่องนี้สำเร็จ ก็จะกลายเป็นผลงานของพลเอกสนธิ และพรรคมาตุภูมิ พรรคอื่นแม้ร่วมสนับสนุน แต่ก็ไม่ใช่นโยบายที่ประกาศไว้ตอนหาเสียง
**ข้อเสียเปรียบของมาตุภูมิอยู่ตรงนี้ นโยบายดี แต่พอถึงเวลาจริงแล้ว ทำไม่ได้