สาธารณสุข ส่งทีมแพทย์ฉุกเฉินดูแลผู้บาดเจ็บ 3 รายจากเหตุโรงงานไอศกรีมที่ซอยเรวดี 22 จ.นนทบุรี ไฟไหม้และระเบิดเมื่อเช้าวันนี้ มี 1 ราย บาดเจ็บสาหัส ถูกไฟไหม้ทั้งตัว อยู่ในห้องไอ.ซี.ยู.โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ประเมินผลกระทบจากสารเคมีรั่วไหลจากเหตุการณ์ เบื้องต้นพบสารเคมี 2 ชนิด ระบุมีอันตรายน้อยกับประชาชนใกล้เคียง
จากเหตุโรงงานผลิตไอศกรีม ในซอยเรวดี 22 อ.เมือง จ.นนทบุรี ไฟไหม้และระเบิดเมื่อเช้าวันนี้ (12 ก.ค.) ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งหน่วยแพทย์กู้ชีพฉุกเฉินจากโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ไปดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่จุดเกิดเหตุ พบผู้บาดเจ็บ 3 ราย เป็นชายทั้งหมด ส่งตัวรักษาที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยมีอาการสาหัส 1 ราย มีแผลไฟไหม้ทั้งตัว อยู่ในไอ.ซี.ยู.แพทย์เตรียมนำเข้าห้องผ่าตัดเพื่อล้างแผลไฟไหม้ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเต็มที่ อีก 2 ราย ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ทำแผลและกลับบ้านแล้ว 1 ราย อีก 1 ราย ถูกไฟไหม้ที่แขนและใบหน้า ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แพทย์ได้ล้างทำความสะอาดบาดแผลและให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการประมาณ 1-2 วัน นอกจากนี้ ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคประมาณ 5 คน ลงไปร่วมประเมินสถานการณ์ และผลกระทบจากสารเคมีที่อยู่ในโรงงาน เบื้องต้นนี้แนะนำให้กันเขตควบคุมอันตราย เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ทางด้านนายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เหตุเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ในเบื้องต้นพบสารเคมี 2 ชนิด อยู่ในกลุ่มของสารออร์แกนิก เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxide) ซึ่งเป็นสารที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ได้แก่ สารเทรท-เอมิล เปอร์ออกซี่-2 เอทธิล เฮกซะโนเอท ( tert-amyl peroxy -2 ethyl hexanoate) และสาร 1,1,3,3 เตตระ เมทิล บิวทิล เปอร์ออกซี่ นีโอ เดคคะโนเอท (1,1,3,3 - Tetramethyl butyl peroxy neodecanoate) สารทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความรุนแรงน้อย โดยมีโอกาสระเบิด เนื่องจากความร้อน อาจเกิดการติดไฟอย่างต่อเนื่องเมื่อสัมผัสกับอากาศ หากสารเกิดการลุกไหม้ จะก่อให้เกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง หรือเป็นพิษ หากถูกผิวหนังหรือตาจำนวนมาก อาจทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเป็นแผลไหม้ได้ แต่หากไม่ได้สัมผัสโดยตรงและปริมาณไม่มาก อาจมีผลแค่การระคายเคืองเล็กน้อย ความเป็นพิษไม่รุนแรง ฉะนั้นผู้ที่เสี่ยงสัมผัสสารดังกล่าว ได้แก่ ผู้ที่ทำการดับไฟ หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ อยู่ใกล้ชิดกับจุดเกิดเหตุ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานที่ไฟไหม้ครั้งนี้ หากเกิดอาการระคายเคืองตา ผิวหนัง หรือบริเวณอื่นๆ ขอให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และไปพบแพทย์ ส่วนเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว เช่นหอบหืด ภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติเช่นหายใจขัด แน่นหน้าอก ให้ไปพบแพทย์ และขอให้ติดตามข่าวและคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากทางราชการ นอกจากนี้ควรต้องระวังน้ำที่ใช้ดับไฟ ไม่ให้ไหลปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ
ทางด้านนายแพทย์สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้จัดเขตความปลอดภัยอพยพชาวบ้านประมาณ 30 -40 หลังคาเรือนออกจากพื้นที่ ในรัศมี 100 เมตรจากจุดเกิดเหตุ และจัดหน่วยปฐมพยาบาลพร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มที่ จะให้บริการจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขนย้ายสารเคมีที่เหลืออีกประมาณ 8,000 ลิตรออกนอกพื้นที่
จากเหตุโรงงานผลิตไอศกรีม ในซอยเรวดี 22 อ.เมือง จ.นนทบุรี ไฟไหม้และระเบิดเมื่อเช้าวันนี้ (12 ก.ค.) ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งหน่วยแพทย์กู้ชีพฉุกเฉินจากโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ไปดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่จุดเกิดเหตุ พบผู้บาดเจ็บ 3 ราย เป็นชายทั้งหมด ส่งตัวรักษาที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยมีอาการสาหัส 1 ราย มีแผลไฟไหม้ทั้งตัว อยู่ในไอ.ซี.ยู.แพทย์เตรียมนำเข้าห้องผ่าตัดเพื่อล้างแผลไฟไหม้ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเต็มที่ อีก 2 ราย ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ทำแผลและกลับบ้านแล้ว 1 ราย อีก 1 ราย ถูกไฟไหม้ที่แขนและใบหน้า ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แพทย์ได้ล้างทำความสะอาดบาดแผลและให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการประมาณ 1-2 วัน นอกจากนี้ ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคประมาณ 5 คน ลงไปร่วมประเมินสถานการณ์ และผลกระทบจากสารเคมีที่อยู่ในโรงงาน เบื้องต้นนี้แนะนำให้กันเขตควบคุมอันตราย เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ทางด้านนายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เหตุเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ในเบื้องต้นพบสารเคมี 2 ชนิด อยู่ในกลุ่มของสารออร์แกนิก เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxide) ซึ่งเป็นสารที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ได้แก่ สารเทรท-เอมิล เปอร์ออกซี่-2 เอทธิล เฮกซะโนเอท ( tert-amyl peroxy -2 ethyl hexanoate) และสาร 1,1,3,3 เตตระ เมทิล บิวทิล เปอร์ออกซี่ นีโอ เดคคะโนเอท (1,1,3,3 - Tetramethyl butyl peroxy neodecanoate) สารทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความรุนแรงน้อย โดยมีโอกาสระเบิด เนื่องจากความร้อน อาจเกิดการติดไฟอย่างต่อเนื่องเมื่อสัมผัสกับอากาศ หากสารเกิดการลุกไหม้ จะก่อให้เกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง หรือเป็นพิษ หากถูกผิวหนังหรือตาจำนวนมาก อาจทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรงหรือเป็นแผลไหม้ได้ แต่หากไม่ได้สัมผัสโดยตรงและปริมาณไม่มาก อาจมีผลแค่การระคายเคืองเล็กน้อย ความเป็นพิษไม่รุนแรง ฉะนั้นผู้ที่เสี่ยงสัมผัสสารดังกล่าว ได้แก่ ผู้ที่ทำการดับไฟ หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ อยู่ใกล้ชิดกับจุดเกิดเหตุ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานที่ไฟไหม้ครั้งนี้ หากเกิดอาการระคายเคืองตา ผิวหนัง หรือบริเวณอื่นๆ ขอให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และไปพบแพทย์ ส่วนเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว เช่นหอบหืด ภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติเช่นหายใจขัด แน่นหน้าอก ให้ไปพบแพทย์ และขอให้ติดตามข่าวและคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากทางราชการ นอกจากนี้ควรต้องระวังน้ำที่ใช้ดับไฟ ไม่ให้ไหลปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ
ทางด้านนายแพทย์สมพงษ์ บุญสืบชาติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้จัดเขตความปลอดภัยอพยพชาวบ้านประมาณ 30 -40 หลังคาเรือนออกจากพื้นที่ ในรัศมี 100 เมตรจากจุดเกิดเหตุ และจัดหน่วยปฐมพยาบาลพร้อมรถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเต็มที่ จะให้บริการจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขนย้ายสารเคมีที่เหลืออีกประมาณ 8,000 ลิตรออกนอกพื้นที่