ปลัดแรงงานเตรียมชงร่าง พ.ร.บ.จัดตั้ง สปส.เป็นองค์การมหาชนรัฐบาลหน้า แจงบริหารจัดการ-จัดซื้อง่ายขึ้น จ้างมืออาชีพมาบริหารลงทุนคล่องกว่า ส่วนสิทธิการรักษา คกก.การแพทย์ดูแลเหมือนเดิม ด้านการลงทุนไม่เน้นความเสี่ยงสูง ชี้ ลงทุนหวือหวาอาจกระทบเงินบำเหน็จ
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคมกล่าวถึงการปรับโครงสร้างสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) เสร็จแล้ว และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สปส.แล้ว โดยจะเสนอต่อรัฐบาลชุดหน้าเพื่อพิจารณานำเข้าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนสถานะของ สปส.จากที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานรัฐไปเป็นองค์การมหาชน อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่นเดิม
"การที่ สปส.ปรับเปลี่ยนไปเป็นองค์การมหาชน หรือองค์กรอิสระมีข้อดี จะทำให้ สปส.สามารถสรรหาคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งบริหารจัดการและจัดซื้อจัดจ้างด้านพัสดุ รวมทั้งจ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาบริหารเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคมได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลยังคงมีคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ดูแลเหมือนเดิม” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนกว่า 8.4 แสนล้าน โดยในช่วง 3 ปีนี้ ได้ผลกำไรอยู่ที่ 2-3 หมื่นล้านบาทต่อปี ไม่ถือว่าน้อยเกินไปและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการลงทุนของกองทุนต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมเน้นการลงทุนที่มีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงทั้งที่จริงแล้วกองทุนประกันสังคมสามารถลงทุนแบบหวือหวาได้เพราะมีรายได้แน่นอนจากเงินสมทบของรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง
“แม้การลงทุนที่มีความเสี่ยงจะได้ผลกำไรมากแต่ผลกำไรก็ไม่แน่นอน ซึ่งระยะยาว 5-10 ปีข้างหน้า หากมานั่งคำนวณดูตัวเลขภาพรวมระหว่างเงินลงทุนกับผลกำไร อาจจะขาดทุนก็ได้ อีกทั้ง สปส.ไม่อยากให้ผู้ประกันตนที่รับเงินบำเหน็จชราภาพ จะต้องมานั่งลุ้นใจหายใจคว่ำ หากลงทุนแบบหวือหวา บางปีได้กำไรน้อย จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จน้อยตามไปด้วย” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคมกล่าวถึงการปรับโครงสร้างสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) เสร็จแล้ว และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สปส.แล้ว โดยจะเสนอต่อรัฐบาลชุดหน้าเพื่อพิจารณานำเข้าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนสถานะของ สปส.จากที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานรัฐไปเป็นองค์การมหาชน อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่นเดิม
"การที่ สปส.ปรับเปลี่ยนไปเป็นองค์การมหาชน หรือองค์กรอิสระมีข้อดี จะทำให้ สปส.สามารถสรรหาคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งบริหารจัดการและจัดซื้อจัดจ้างด้านพัสดุ รวมทั้งจ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาบริหารเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคมได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลยังคงมีคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ดูแลเหมือนเดิม” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันมีเงินกองทุนกว่า 8.4 แสนล้าน โดยในช่วง 3 ปีนี้ ได้ผลกำไรอยู่ที่ 2-3 หมื่นล้านบาทต่อปี ไม่ถือว่าน้อยเกินไปและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการลงทุนของกองทุนต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมเน้นการลงทุนที่มีความมั่นคงทางการเงินมากกว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงทั้งที่จริงแล้วกองทุนประกันสังคมสามารถลงทุนแบบหวือหวาได้เพราะมีรายได้แน่นอนจากเงินสมทบของรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง
“แม้การลงทุนที่มีความเสี่ยงจะได้ผลกำไรมากแต่ผลกำไรก็ไม่แน่นอน ซึ่งระยะยาว 5-10 ปีข้างหน้า หากมานั่งคำนวณดูตัวเลขภาพรวมระหว่างเงินลงทุนกับผลกำไร อาจจะขาดทุนก็ได้ อีกทั้ง สปส.ไม่อยากให้ผู้ประกันตนที่รับเงินบำเหน็จชราภาพ จะต้องมานั่งลุ้นใจหายใจคว่ำ หากลงทุนแบบหวือหวา บางปีได้กำไรน้อย จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จน้อยตามไปด้วย” ประธานคณะกรรมการ สปส.กล่าว