นิด้า จัดเสวนา “ชำแหละนโยบายสิ่งแวดล้อมจริงใจหรือหาเสียง” “คุณหญิงกัลยา” ยันจริงใจแก้ปัญหา เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียว แก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ด้าน “ปลอดประสพ” จ่อถมทะเลสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ด้าน นักวิชาการ ค้าน ถมทะเล ชี้ จะเกิดผลกระทบมหาศาล อัดนโยบายหาเสียงแฝงผลประโยชน์
วันนี้ (5 มิ.ย.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า จัดเสวนาเรื่อง “ชำแหละนโยบายสิ่งแวดล้อมจริงใจหรือหาเสียง” โดยมี คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์)นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารการจัดการน้ำแบบบูรณาการ และนายชาญชัย ลิมปิยากร ผู้อำนวยการสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
คุณหญิง กัลยา กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมที่พรรคประชาธิปัตย์ “จริงใจ” มียุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในอดีตบ้านเราสูญเสียพื้นที่ป่า 70% เหลือพื้นที่ป่าไม่ถึง 30% เรามีโครงการปลูกเฉลิมพระเกียรติ 5 ล้านไร่ ซึ่งรัฐได้ป่ากลับคืนมา ประชาชนได้เงิน เพราะมีรายได้จากการดูแลป่า สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง เรามีโครงการเมกะโปรเจกต์ มีการบริหารจัดการน้ำ มีวิธีกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ส่วนการแก้ปัญหามลพิษด้านอุตสาหกรรม ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ แต่ปัญหาก็คือขาดคนที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมากว่า 25 ปี และเคยเรียนเรื่องนิวเคลียร์ เชื่อว่าเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
นายปลอดประสพ กล่าวว่า พรรคจะเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูทะเล ถมทะเลสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยจะต้องเข้าไปแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ส่วนการฟื้นฟูทะเลไทยนั้นโดยจะขยายเขตการทำประมงออกไปอีก พร้อมกันนี้มีนโยบายไม่เอานิวเคลียร์ จะไม่มีการสร้างอย่างแน่นอนแต่จะมองหาพลังงานทดแทน อย่างพลังงานแสงอาทิตย์
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ชำแหละนโยบายสิ่งแวดล้อมจริงใจหรือหาเสียงตนเองขอเพิ่ม “เพ้อฝัน” โดยโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา แฝงการคอรัปชันแถมไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ส่วนนโยบายใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย กระตุ้นให้คนใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟื่อย ส่วนโครงการถมทะเล ไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะมีปัญหาอื่นตามมา ที่สำคัญ ก่อนมีนโยบายอะไรออกมาควรถามประชาชนซะก่อนว่าเขาต้องการหรือไม่ เพราะรัฐบาลหลายชุดไม่เคยถามประชาชนเลย
“ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่นโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง มักจะใช้นโยบายหาเสียงเชิงประชานิยม ที่เคลือบ “ยาพิษ” ประชาชนรู้ไม่เท่าทัน อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกตั้งควรศึกษานโยบายของแต่ละพรรคก่อนตัดสินใจด้วย” นายศรีสุวรรณ กล่าว
ด้านนายหาญณรงค์ ถามว่า มีผลการศึกษารึยังว่าจะถมทะเลเพื่อสร้างแนวเขื่อนนั้น จะมีผลดีผลเสียอย่างไร ส่วนตัวมองว่าจะมีผลกระทบอย่างมหาศาล น้ำอาจเปลี่ยนแปลงทิศ และแทนที่จะป้องกันน้ำท่วมกับจะทำให้น้ำท่วมขังซะมากกว่า เพราะไม่มีทางระบายน้ำ หรือมีทางระบายน้ำน้อยเพื่อปล่อยสู่ทะเลในช่วงที่ฝนตก ที่สำคัญ การถมและสร้างเขื่อนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผมขอยกตัวอย่าง บางขุนเทียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะแล้วเราหาวิธีการแก้ปัญหา วันนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลยว่าจะใช้ไม้ไผ่หรือเขื่อนคอนกรีต
“ไม่ว่าพรรคไหนจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ก่อนจะทำอะไรควรทำประชาพิจารณ์สอบถามชาวบ้านซะก่อนว่าเขาต้องการรึเปล่า ไม่ใช่ไปยัดเหยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการ” นายหาญณรงค์ กล่าว
หลังจากเสวนาให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถาม ส่วนใหญ่จะซักถาม เรื่องสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นายปลอดประสพ ระบุชัดเจน ไม่สร้าง ขณะที่ คุณหญิง กัลยา ขอศึกษาข้อดีข้อเสีย นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ภาคอุตสาหกรรม สร้างโรงไฟฟ้าใช้เอง ส่วนห้างสรรพสินค้า ให้หาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ เนื่องจากอุตสาหกรรมและห้างสรรพสินค้าใช้ไฟจำนวนมาก ยกตัวอย่าง พารากอน ใช้ไฟฟ้ามากกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้ทั้งจังหวัด
วันนี้ (5 มิ.ย.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า จัดเสวนาเรื่อง “ชำแหละนโยบายสิ่งแวดล้อมจริงใจหรือหาเสียง” โดยมี คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์)นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารการจัดการน้ำแบบบูรณาการ และนายชาญชัย ลิมปิยากร ผู้อำนวยการสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม
คุณหญิง กัลยา กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมที่พรรคประชาธิปัตย์ “จริงใจ” มียุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในอดีตบ้านเราสูญเสียพื้นที่ป่า 70% เหลือพื้นที่ป่าไม่ถึง 30% เรามีโครงการปลูกเฉลิมพระเกียรติ 5 ล้านไร่ ซึ่งรัฐได้ป่ากลับคืนมา ประชาชนได้เงิน เพราะมีรายได้จากการดูแลป่า สำหรับการแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง เรามีโครงการเมกะโปรเจกต์ มีการบริหารจัดการน้ำ มีวิธีกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ส่วนการแก้ปัญหามลพิษด้านอุตสาหกรรม ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ แต่ปัญหาก็คือขาดคนที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมากว่า 25 ปี และเคยเรียนเรื่องนิวเคลียร์ เชื่อว่าเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
นายปลอดประสพ กล่าวว่า พรรคจะเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูทะเล ถมทะเลสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยจะต้องเข้าไปแก้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ไม่เอื้อต่อการแก้ปัญหา ส่วนการฟื้นฟูทะเลไทยนั้นโดยจะขยายเขตการทำประมงออกไปอีก พร้อมกันนี้มีนโยบายไม่เอานิวเคลียร์ จะไม่มีการสร้างอย่างแน่นอนแต่จะมองหาพลังงานทดแทน อย่างพลังงานแสงอาทิตย์
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ชำแหละนโยบายสิ่งแวดล้อมจริงใจหรือหาเสียงตนเองขอเพิ่ม “เพ้อฝัน” โดยโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา แฝงการคอรัปชันแถมไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ส่วนนโยบายใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วย กระตุ้นให้คนใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟื่อย ส่วนโครงการถมทะเล ไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะมีปัญหาอื่นตามมา ที่สำคัญ ก่อนมีนโยบายอะไรออกมาควรถามประชาชนซะก่อนว่าเขาต้องการหรือไม่ เพราะรัฐบาลหลายชุดไม่เคยถามประชาชนเลย
“ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ขณะที่นโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง มักจะใช้นโยบายหาเสียงเชิงประชานิยม ที่เคลือบ “ยาพิษ” ประชาชนรู้ไม่เท่าทัน อย่างไรก็ตาม ก่อนเลือกตั้งควรศึกษานโยบายของแต่ละพรรคก่อนตัดสินใจด้วย” นายศรีสุวรรณ กล่าว
ด้านนายหาญณรงค์ ถามว่า มีผลการศึกษารึยังว่าจะถมทะเลเพื่อสร้างแนวเขื่อนนั้น จะมีผลดีผลเสียอย่างไร ส่วนตัวมองว่าจะมีผลกระทบอย่างมหาศาล น้ำอาจเปลี่ยนแปลงทิศ และแทนที่จะป้องกันน้ำท่วมกับจะทำให้น้ำท่วมขังซะมากกว่า เพราะไม่มีทางระบายน้ำ หรือมีทางระบายน้ำน้อยเพื่อปล่อยสู่ทะเลในช่วงที่ฝนตก ที่สำคัญ การถมและสร้างเขื่อนต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผมขอยกตัวอย่าง บางขุนเทียน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะแล้วเราหาวิธีการแก้ปัญหา วันนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลยว่าจะใช้ไม้ไผ่หรือเขื่อนคอนกรีต
“ไม่ว่าพรรคไหนจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ก่อนจะทำอะไรควรทำประชาพิจารณ์สอบถามชาวบ้านซะก่อนว่าเขาต้องการรึเปล่า ไม่ใช่ไปยัดเหยียดสิ่งที่เขาไม่ต้องการ” นายหาญณรงค์ กล่าว
หลังจากเสวนาให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถาม ส่วนใหญ่จะซักถาม เรื่องสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นายปลอดประสพ ระบุชัดเจน ไม่สร้าง ขณะที่ คุณหญิง กัลยา ขอศึกษาข้อดีข้อเสีย นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ภาคอุตสาหกรรม สร้างโรงไฟฟ้าใช้เอง ส่วนห้างสรรพสินค้า ให้หาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ เนื่องจากอุตสาหกรรมและห้างสรรพสินค้าใช้ไฟจำนวนมาก ยกตัวอย่าง พารากอน ใช้ไฟฟ้ามากกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้ทั้งจังหวัด