xs
xsm
sm
md
lg

ชู “หมอเสม” เป็นปูชนียบุคคลด้านการแพทย์ไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

137 องค์กรร่วมจัดงานครบรอบ 100 ปี “หมอเสม” ชูเป็นปูชนียบุคคลด้านการแพทย์ไทย ทำงานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เสนอให้แพทย์รุ่นปัจจุบันยึดเป็นแบบอย่าง

วันนี้ (31 พ.ค.) องค์กรด้านสาธารณสุขกว่า 137 องค์กร อาทิ กระทรวงสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว มูลนิธิแพทย์ชนบท มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดงานครบรอบอายุ 100 ปี ภายใต้งาน “หนึ่งคนยืนหยัด หนึ่งศตวรรษ เสม พริ้งพวงแก้ว” แพทย์ผู้เป็นต้นแบบ และมีคุณูปการต่อสังคมไทยในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม.

โดยนายอนันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงงานด้านการบริหารจัดการและนิติบัญญัติ ของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ว่า คุณหมอเป็นปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุข ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคุณหมอมีบทบาทและมีคุณค่าต่อสังคมตลอดมา ซึ่งคุณหมอเคยตั้งปณิธาน 2 ข้อคือ ทำงานเพื่ออนาคตส่วนร่วมเพื่อชาติและสังคม อุทิศตนให้แก่บ้านเมือง โดยเริ่มจากท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งอุดมการณ์นี้ต้องมาจากความอดทน และต้องเป็นคนดี ไม่เช่นนั้นไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งสำคัญ 3 ประเภท คือ คำสั่งสอนของมารดาที่ว่า ชีวิตที่ลำบาก คือ ชีวิตที่เจริญ และควรมีเมตตากับคนที่ลำบาก ประการที่ 2 สมัยที่คุณหมอเด็ก และประการสุดท้าย ระหว่างปิดเรียนภาคฤดูร้อนได้มีโอกาสเยี่ยมเยียนชนบท ทำให้เห็นว่าคนบ้านนอกลำบากกว่าคนในกรุง จึงตั้งใจว่า หากเรียนจบจะต้องไปช่วยเหลือคนในชนบท เพราะพวกเขาลำบากและต้องการเรา

หมอเสม คือ ผู้ที่อุทิศตนในการจัดตั้งสถานพยบาล ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และนำแนวคิดการทำงานด้านสาธารณสุขแบบอาสาสมัครสู่บุคคลากรในชขุมชนเพื่อสร้างจิตสำนึกการช่วยเหลือบุคคลอย่างมีเงื่อนไข” นายอานันท์ กล่าว

นพ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวถึงงานด้านสาธารณสุขและสังคม ว่า ศ.นพ.เสม เป็นปูชนียบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ด้านการแพทย์และสาธารณุขด้วยการบริการจากหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งแพทย์ทุกคนพึงมี และเป็นผู้ริเริ่มในการขยายโอกาสการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนในชนบทให้เท่าเทียมกับชีวิตคนเมือง รวมทั้งจัดหาบุคลากรในการเข้าประจำการตามโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างเท่าเทียม การเป็นผู้นำที่ดีและมีอุดมการณ์ทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง จึงสมควรที่แพทย์รุ่นปัจจุบันควรนำไปเป็นตัวอย่าง

ทั้งนี้ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2454 จบการศึกษาแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และได้รับเกียรติบัตรทางการศึกษาจำนวนมาก เช่น ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางการแพทย์ จุฬาฯ ปริญยาดุษฎีบัณฑิตทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น และหลังจากศึกษาจบยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขถึง 3 สมัย ตั้งแต่ปี 2516-2526 โดยเป็นหมอชนบทรุ่นแรกๆที่ทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ตั้งแต่การทำหน้าที่แพทย์ที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และอยู่เบื้องหลังในการผลักดันเรื่องการขยายโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2490 ที่สำคัญยังเป็นผู้บุกเบิกในการสร้างตำนานแพทย์ชนบทที่จ.เชียงราย โดยได้รับความวางใจเข้าเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งชาวบ้านช่วยสร้างโรงพยาบาลเป็นผลสำเร็จจนได้ชื่อว่า “โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์” ด้วยโรงพยาบาลที่สร้างมาด้วยเงินของประชาชน ทำให้ศ.นพ.เสม ไม่ยอมส่งเงินคืนหลวง แต่เอามาใช้ซื้อยา อุปกรณ์และพัฒนาโรงพยาบาล จนกระทรวงการคลังไม่ยอม เพราะถือว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้สุดท้ายกระทรวงการคลังออกระเบียบใหม่ไม่ต้องส่งเงินคืนคลัง แต่ให้เป็นเงินบำรุงโรงพยาบาลแทน เป็นต้น

ภายในงานยังได้รับเกียรติจากแฝดสยาม ซึ่งศ.นพ.เสม พิร้งพวงแก้ว เป็นผู้ผ่าตัดให้ครั้งแรกที่โรงพยาบาลเด็ก หรือสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้เข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น