ทีมแพทย์จาก “รพ.จิตเวช-ศูนย์สุขภาพจิต” โคราช เตรียมเดินทางกลับ หลังจากลงพื้นที่เยียวยาผู้ป่วยเครียด-ซึมเศร้า-เสี่ยงฆ่าตัวตาย จากเหตุปะทะไทย-เขมร ใน สุรินทร์ และ บุรีรัมย์
วันนี้ (13 พ.ค.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สถานการณ์เหตุปะทะกันที่เขตชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณ จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ทางทีมแพทย์ฉุกเฉินที่ สธ.ได้ส่งไปประจำการก็เริ่มทยอยเดินทางกลับ โดยหน่วยแพทย์ที่ลงพื้นที่ไปบริการดูแลและรักษาผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต จ.สุรินทร์ จะเดินทางกลับภายในวันนี้ ซึ่งมีอยู่ 2 ทีม คือ ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจิตเวช และศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 จ.นครราชสีมา โดยใน 2 ทีมนี้มีบุคลากรประจำทีมทั้งจิตแพทย์ พยาบาล และนักจิตวิทยารวมกันราว 15 คน
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตนั้น ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เริ่มปะทะกัน กระทั่งถึงวันที่ 11 พ.ค.พบผู้ป่วยมีความเครียดสูงจำนวน 365 ราย ซึมเศร้า 362 ราย ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายช่วงแรกมีจำนวน 112 ราย แต่หลังจากที่แพทย์ได้ลงพื้นที่ดูแลเยียวยา พบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ยังคงเสี่ยงฆ่าตัวตาย เหลือเพียง 59 ราย เป็นชาวสุรินทร์ 54 ราย และชาวบุรีรัมย์ 5 ราย ซึ่งแพทย์ต้องเยียวยาเพิ่มเติม โดยกรมสุขภาพจิตได้สั่งการให้บุคลากรในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลแล้ว หลังจากนี้กรมสุขภาพจิตคงต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบดูแลเยียวยาผู้ป่วยให้เร็วกว่าเดิม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่แน่นอน โดยใช้ประสบการณ์จากการลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติทั้งน้ำท่วม และเหตุปะทะซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“อย่างไรก็ตาม สำหรับการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่นั้น บุคลากรทางสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมายงานนั้น ได้ดูแลทั้งสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา และยังได้ติดตามดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตในช่วงวิกฤติดังกล่าวในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ด้วย โดยแบ่งเป็นครอบครัวของทหารที่เสียชีวิต 7 นาย และของพลเรือน 4 ราย ส่วนรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ลงพื้นที่นั้นเนื่องจากติดปัญหาว่าญาติของผู้เสียชีวิตบางรายไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่แต่ต้องประกอบอาชีพอื่นต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ” นพ.อภิชัย กล่าว
วันนี้ (13 พ.ค.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สถานการณ์เหตุปะทะกันที่เขตชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณ จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ทางทีมแพทย์ฉุกเฉินที่ สธ.ได้ส่งไปประจำการก็เริ่มทยอยเดินทางกลับ โดยหน่วยแพทย์ที่ลงพื้นที่ไปบริการดูแลและรักษาผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต จ.สุรินทร์ จะเดินทางกลับภายในวันนี้ ซึ่งมีอยู่ 2 ทีม คือ ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจิตเวช และศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 จ.นครราชสีมา โดยใน 2 ทีมนี้มีบุคลากรประจำทีมทั้งจิตแพทย์ พยาบาล และนักจิตวิทยารวมกันราว 15 คน
นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตนั้น ขณะนี้มีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เริ่มปะทะกัน กระทั่งถึงวันที่ 11 พ.ค.พบผู้ป่วยมีความเครียดสูงจำนวน 365 ราย ซึมเศร้า 362 ราย ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายช่วงแรกมีจำนวน 112 ราย แต่หลังจากที่แพทย์ได้ลงพื้นที่ดูแลเยียวยา พบว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ยังคงเสี่ยงฆ่าตัวตาย เหลือเพียง 59 ราย เป็นชาวสุรินทร์ 54 ราย และชาวบุรีรัมย์ 5 ราย ซึ่งแพทย์ต้องเยียวยาเพิ่มเติม โดยกรมสุขภาพจิตได้สั่งการให้บุคลากรในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลแล้ว หลังจากนี้กรมสุขภาพจิตคงต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบดูแลเยียวยาผู้ป่วยให้เร็วกว่าเดิม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่แน่นอน โดยใช้ประสบการณ์จากการลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติทั้งน้ำท่วม และเหตุปะทะซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
“อย่างไรก็ตาม สำหรับการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่นั้น บุคลากรทางสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมายงานนั้น ได้ดูแลทั้งสุขภาพจิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา และยังได้ติดตามดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตในช่วงวิกฤติดังกล่าวในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ด้วย โดยแบ่งเป็นครอบครัวของทหารที่เสียชีวิต 7 นาย และของพลเรือน 4 ราย ส่วนรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ลงพื้นที่นั้นเนื่องจากติดปัญหาว่าญาติของผู้เสียชีวิตบางรายไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่แต่ต้องประกอบอาชีพอื่นต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ” นพ.อภิชัย กล่าว