การประชุมถอดบทเรียนน้ำท่วมและดินถล่มภาคใต้ในประเทศไทย กับการแพทย์ฉุกเฉิน น.พ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์นายแพทย์สาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากพื้นที่น้ำท่วม ทั้งทางรถและทางเรือค่อนข้างลำบาก เพราะการเดินทางผ่านอำเภอต่างๆ ถูกตัดขาดเกือบทั้งหมด ขณะที่โรงพยาบาลไม่สามารถประเมินระดับน้ำที่ท่วมได้ ระบบไฟฟ้า ประปาใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศถึง 30 ครั้ง
ขณะที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และการขนส่งเวชภัณฑ์จากส่วนกลาง ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ได้ ที่สำคัญคือระบบการสั่งการในภาพรวมของจังหวัด ที่ไม่เอื้ออำนวยในการสั่งการ เนื่องจากไม่มีประสบการณ์รับมือน้ำท่วมสูงขนาดนี้ และไม่มีการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ขณะที่ หัวหน้าสำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า นอกจากระบบการสื่อสาร และระบบสาธารณูปโภคที่มีปัญหาแล้ว ยังมีความท้าทายเรื่องการเยียวยาจิตใจที่ต้องเร่งให้การช่วยเหลือ เพราะผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มักจะบอกว่า ตัวเองไม่เป็นอะไร ขณะที่ความหวังของชาวบ้านแทบไม่มี
ด้าน น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า จากบทเรียนครั้งนี้ ทุกหน่วยงานต้องเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น โดยเฉพาะ สพฉ. และจะเพิ่มชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็ว จากเดิม 10 หน่วย เป็น 20 หน่วย พร้อมเสริมทีมแพทย์พยาบาลและกู้ชีพ โดยไม่ให้เป็นภาระกับพื้นที่ ทั้งนี้ ชุดปฏิบัติการจะเข้าไปพร้อมปัจจัย 4 เพื่อช่วยเหลือภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเกิดเหตุ พร้อมกันนี้ ต้นเดือนพฤษภาคมจะลงนามร่วมมือกับกรมเจ้าท่า ในการขอใช้เรือและซื้อแผนกู้ภัยทางน้ำ
ขณะที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และการขนส่งเวชภัณฑ์จากส่วนกลาง ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ได้ ที่สำคัญคือระบบการสั่งการในภาพรวมของจังหวัด ที่ไม่เอื้ออำนวยในการสั่งการ เนื่องจากไม่มีประสบการณ์รับมือน้ำท่วมสูงขนาดนี้ และไม่มีการซ้อมแผนรับมือภัยพิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ขณะที่ หัวหน้าสำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า นอกจากระบบการสื่อสาร และระบบสาธารณูปโภคที่มีปัญหาแล้ว ยังมีความท้าทายเรื่องการเยียวยาจิตใจที่ต้องเร่งให้การช่วยเหลือ เพราะผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มักจะบอกว่า ตัวเองไม่เป็นอะไร ขณะที่ความหวังของชาวบ้านแทบไม่มี
ด้าน น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการ สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า จากบทเรียนครั้งนี้ ทุกหน่วยงานต้องเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น โดยเฉพาะ สพฉ. และจะเพิ่มชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่เร็ว จากเดิม 10 หน่วย เป็น 20 หน่วย พร้อมเสริมทีมแพทย์พยาบาลและกู้ชีพ โดยไม่ให้เป็นภาระกับพื้นที่ ทั้งนี้ ชุดปฏิบัติการจะเข้าไปพร้อมปัจจัย 4 เพื่อช่วยเหลือภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเกิดเหตุ พร้อมกันนี้ ต้นเดือนพฤษภาคมจะลงนามร่วมมือกับกรมเจ้าท่า ในการขอใช้เรือและซื้อแผนกู้ภัยทางน้ำ