สพฉ. จับมือ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ ลงนามบันทึกความร่วมมือ จัดฝึกอบรมลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น เพิ่มเติม 3 รุ่น หวังพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์กับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยาน
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการจัดอบรมหลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น ประจำปี 2554 (Basic Aeromedical Evacuation Course) โดยมี นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ พลอากาศตรีธีระภาพ เสนะวงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมลงนาม และมี นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สพฉ. นพ.บริบูรณ์ ไทยานันท์ รองผู้อำนวยสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นพ.ชาตรี กล่าวว่า บันทึกความร่วมมือนี้ ทำให้การสนับสนุนการดำเนินงานระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานบรรลุตามเป้าประสงค์ เพื่อดำเนินงานช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคม พื้นที่ทุรกันดารและพื้นที่พิเศษ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อร่วมการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน ให้มีความรู้ความสามารถประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้น ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยขั้นพื้นฐานขณะลำเลียงผู้ป่วยด้วยอากาศยาน ซึ่งในการอบรมจะมีการฝึกในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง
“โครงการอบรมหลักสูตรลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น (Basic Aeromedical Evacuation Course) ถือเป็นการฝึกอบรมบุคลากร พัฒนาเพิ่มทักษะ ให้บริการผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และให้บริการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยานไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสม โดยทางสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ จะสนับสนุนการอบรม ให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาล หรือหน่วยงานต่างๆ จำนวน 3 รุน รุ่นละ 36 คน รวมทั้งสิ้น 108 คน” นพ.ชาตรีกล่าว
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยทาง สพฉ.เล็งเห็นว่าการจัดระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานในพื้นที่พิเศษ โดยทีมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้มีการฝึกอบรมบุคลกรเพิ่มเติม เพื่อให้การดำเนินการมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์โลกขณะนี้มีความไม่แน่นอน การเตรียมพร้อมในเรื่องทีมแพทย์ฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพไทย ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่องการจัดอบรมหลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น ประจำปี 2554 (Basic Aeromedical Evacuation Course) โดยมี นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ พลอากาศตรีธีระภาพ เสนะวงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมลงนาม และมี นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการ สพฉ. นพ.บริบูรณ์ ไทยานันท์ รองผู้อำนวยสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นพ.ชาตรี กล่าวว่า บันทึกความร่วมมือนี้ ทำให้การสนับสนุนการดำเนินงานระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานบรรลุตามเป้าประสงค์ เพื่อดำเนินงานช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคม พื้นที่ทุรกันดารและพื้นที่พิเศษ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อร่วมการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน ให้มีความรู้ความสามารถประเมินสภาพผู้ป่วยเบื้องต้น ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยขั้นพื้นฐานขณะลำเลียงผู้ป่วยด้วยอากาศยาน ซึ่งในการอบรมจะมีการฝึกในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง
“โครงการอบรมหลักสูตรลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น (Basic Aeromedical Evacuation Course) ถือเป็นการฝึกอบรมบุคลากร พัฒนาเพิ่มทักษะ ให้บริการผู้ป่วยบาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และให้บริการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยานไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสม โดยทางสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ จะสนับสนุนการอบรม ให้แก่บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินจากโรงพยาบาล หรือหน่วยงานต่างๆ จำนวน 3 รุน รุ่นละ 36 คน รวมทั้งสิ้น 108 คน” นพ.ชาตรีกล่าว
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยทาง สพฉ.เล็งเห็นว่าการจัดระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานในพื้นที่พิเศษ โดยทีมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้มีการฝึกอบรมบุคลกรเพิ่มเติม เพื่อให้การดำเนินการมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์โลกขณะนี้มีความไม่แน่นอน การเตรียมพร้อมในเรื่องทีมแพทย์ฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งสำคัญ