“จุรินทร์” เตรียมความพร้อมทีมแพทย์ หากได้รับการประสานจากกระทรวงการต่างประเทศ กรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น สั่งการสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่อาจจะเสี่ยง เตรียมความพร้อมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
บ่ายวันนี้ (11 มี.ค.) ที่จังหวัดภูเก็ต นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า ได้มอบหมายให้นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมทีมแพทย์ พยาบาล 3-4 ทีม เพื่อเตรียมความพร้อม หากได้รับการประสานงานจากกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะให้ไปช่วยดูแลในส่วนของการช่วยเหลือที่ประเทศญี่ปุ่นก็ยินดี แต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ต้องเตรียมความพร้อมของประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แต่ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งมีศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นผู้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนในเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ขณะนี้มีความพร้อมและมีศักยภาพที่ดีอยู่แล้ว เพราะมีประสบการณ์เรื่องการรับอุบัติภัยและภัยพิบัติหลายครั้ง และในช่วงหลังมีการพัฒนาเรื่องประสิทธิภาพและการเตรียมพร้อมดีขึ้น ขณะนี้มีหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเกือบ 10,000 หน่วย มีบุคลากรในระบบ ประมาณ 100,000 คน และมีแพทย์พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉินอีกกว่า 6,000 คน รวมทั้งมีการจัดระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
บ่ายวันนี้ (11 มี.ค.) ที่จังหวัดภูเก็ต นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า ได้มอบหมายให้นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมทีมแพทย์ พยาบาล 3-4 ทีม เพื่อเตรียมความพร้อม หากได้รับการประสานงานจากกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะให้ไปช่วยดูแลในส่วนของการช่วยเหลือที่ประเทศญี่ปุ่นก็ยินดี แต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ต้องเตรียมความพร้อมของประเทศเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่อาจเป็นพื้นที่เสี่ยงเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แต่ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งมีศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นผู้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนในเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ขณะนี้มีความพร้อมและมีศักยภาพที่ดีอยู่แล้ว เพราะมีประสบการณ์เรื่องการรับอุบัติภัยและภัยพิบัติหลายครั้ง และในช่วงหลังมีการพัฒนาเรื่องประสิทธิภาพและการเตรียมพร้อมดีขึ้น ขณะนี้มีหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเกือบ 10,000 หน่วย มีบุคลากรในระบบ ประมาณ 100,000 คน และมีแพทย์พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉินอีกกว่า 6,000 คน รวมทั้งมีการจัดระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ