xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่ายเอดส์-โรคเรื้อรัง จี้ อย.เร่งขึ้นทะเบียนยาเอดส์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เครือข่ายผู้ป่วยเอชไอวี-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมทีมบุก อย.จี้เร่งขึ้นทะเบียนยาเอดส์โดยเร็ว วอนเห็นใจผู้ป่วยที่รอการเข้าถึงยา  ด้าน อย.โต้ ข้อมูลยืนยันประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน

วันนี้ (11 พ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์  เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ  จำนวนกว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี   เลขาธิการ อย. เพื่อทวงถามความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนยาชื้อสามัญ กรณียาเอดส์ 3 ชนิด คือ เอฟฟาไวเรนซ์  ทินอฟโฟเวียร์  และยาจีพีโอเวียร์เอส 7  หลังจากที่เครือข่ายฯ พบว่ายาบางตัวนั้นมีความล่าช้าเกินจนน่าสงสัย

 โดย น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า   ในในการเดินทางมาในครั้งต้องการเรียกร้องใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ต้องการให้ อย.ชี้แจงถึงขั้นตอนกระบวนการในการทำงาน  และบอกด้วยว่าระยะเวลาการดำเนินการนั้นนานเพียงใด เนื่องจากยาบางชนิด คือ ยาจีพีโอเวียร์เอส 7   รอการขึ้นทะเบียนนานกว่า 2 ปีแล้ว  2.เนื่อง จากทางเครือข่ายสงสัยว่า หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในคณะกรรมการ(คกก.) พิจารณาการขึ้นทะเบียนยา ซึ่ง อย.ได้จ้างมานั้นอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสมาคมผู้วิจัยและและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) จึงอยากให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากเกรงว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการขัดขวางการเข้าถึงยา   3.อยากให้ชี้แจงว่ามียาจำเป็นอีกกี่ชนิด ที่รอขึ้นทะเบียนยาชื่อสามัญ เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนไม่สามารถรับทราบข้อมูลเหล่านี้  

“เหตุผลที่เราต้องเร่งรัดให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนยาชื่อสามัญโดยเร็วเพื่อให้ยานั้นมีราคาถูก โดยเฉพาะยาต้านไวรัสเอดส์ในเด็กนั้น ขณะนี้มีเด็กที่ป่วยเอชไอวี  จำเป็นต้องใช้ยาประมาณ 9,400 ราย  อยากให้ทาง อย.เร่งดำเนินการโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย” น.ส.สุภัทรากล่าว

นพ.พิพัฒน์  กล่าวว่า  ส่วนตัวเข้าใจและสนับสนุนการเข้าถึงยาของประชาชนทุกคนว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในการขึ้นทะเบียนยาแต่ละครั้งนั้นจะเร่งรัดระยะเวลาอย่างเดียวไม่ได้  จำเป็นจะต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่แน่นอน โดยข้อมูลนั้นต้องมีการยืนยันประสิทธิภาพยาที่ชัดเจน  จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง  แต่เรื่องของความกังวลเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการพิจารณาการขึ้นทะเบียนยานั้นคงต้องรอผลการตรวจสอบก่อนว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนจริงหรือไม่

นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า สำหรับระยะเวลาในการขึ้นทะเบียนยานั้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาราว 110 วันแต่ถ้าเป็นยาที่เร่งด่วนจะต้องเร่งพิจารณาขึ้นทะเบียนภายใน 70 วัน โดยขณะนี้ยาเอฟฟาไวเรนซ์  และทินอฟโฟเวียร์  นั้นมีบางบริษัทขึ้นทะเบียน




กำลังโหลดความคิดเห็น