“จุรินทร์” ลงนามร่วม 8 หน่วยงาน เดินหน้าโครงการผลิตวัคซีนใช้เองในประเทศ ด้าน กรมวิทย์ เตรียมชงของบ ส่วนของการสร้างคลังเก็บเชื้อสำหรับผลิตวัคซีน
วันนี้ (21 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งมีหน่วยงานที่ลงนามร่วมกันทั้งหมด 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และบริษัท โอเนท-เอเชีย จำกัด
โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าโครงการสำคัญ 10 โครงการ เกี่ยวกับด้านการผลิตวัคซีน 9 ชนิด สำหรับป้องกันโรค 7 โรค โดยความคืบหน้าของเรื่องนี้หลังจาก คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบในโครงการแล้ว สธ.และหน่วยงานที่ร่วมมือก็จะเดินหน้าโครงการต่อไป โดยตั้งเป้าว่า ภายใน 10 ปีจะต้องสามารถผลิตวัคซีนใช้เองและแบ่งขายไปยังประเทศใกล้เคียงได้ ซึ่งจะมีทั้งในส่วนของการตั้งโรงงานผลิต คลังเก็บวัคซีน ตลอดจนการตั้งทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดราว 5,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณจากภาครัฐ 4,000 ล้านบาท และเอกชน 1,000 ล้านบาท คาดว่า จะสามารถประหยัดงบประมาณการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้ราว 3,000 ล้านบาท
“ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 เมษายน ครม.ได้เห็นชอบผ่าน พ.ร.บ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติด้วย และหลังจากนี้สธ.ยังจะมีนโยบายยกระดับสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นสถาบันวัคซีนแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งใน 2 ปีแรก จะเร่งการผลิตวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักให้สำเร็จในปี 2556 และอีก 5 ปี จึงจะมีการพัฒนาวัคซีนที่เหลือ ส่วนโรงงานผลิตวัคซีนนั้น จะมีทั้งแบบอุตสาหกรรม และกึ่งอุตสาหกรรม โดยใช้โรงงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย” นายจุรินทร์ กล่าว
ด้าน นพ.สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์ฯได้เตรียมพร้อมจัดตั้งคลังเก็บเชื้อเพื่อผลิตวัคซีนแห่งใหม่ คาดว่า จะใช้พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะของบประมาณในการพัฒนาปี 2555 และในระหว่างนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่า หากไม่มีปัญหาอะไรจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 3 ปี โดยคลังเก็บเชื้อดังกล่าว จะทำการรวบรวมเชื้อทุกชนิดสำหรับการผลิตวัคซีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ โดยจะเป็นคลังเก็บเชื้อแห่งเดียวของประเทศ หากหน่วยงานใดต้องการผลิตวัคซีนจะต้องมาขอเชื้อตั้งต้นจากกรมวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คลังเก็บเชื้อจะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ฯ ในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีการขยาย โดยจะมีการก่อตั้งใหม่ แต่มีมาตรฐานเหมือนเดิม โดยเชื้อทุกชนิดถูกเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม จึงไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพ
อนึ่ง วัคซีนที่จะทำการผลิต ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันไอกรนชนิดเซลล์ ป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี ป้องกันไข้เลือดออก วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น
วันนี้ (21 เม.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งมีหน่วยงานที่ลงนามร่วมกันทั้งหมด 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย และบริษัท โอเนท-เอเชีย จำกัด
โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าโครงการสำคัญ 10 โครงการ เกี่ยวกับด้านการผลิตวัคซีน 9 ชนิด สำหรับป้องกันโรค 7 โรค โดยความคืบหน้าของเรื่องนี้หลังจาก คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบในโครงการแล้ว สธ.และหน่วยงานที่ร่วมมือก็จะเดินหน้าโครงการต่อไป โดยตั้งเป้าว่า ภายใน 10 ปีจะต้องสามารถผลิตวัคซีนใช้เองและแบ่งขายไปยังประเทศใกล้เคียงได้ ซึ่งจะมีทั้งในส่วนของการตั้งโรงงานผลิต คลังเก็บวัคซีน ตลอดจนการตั้งทีมบริหารที่มีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดราว 5,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณจากภาครัฐ 4,000 ล้านบาท และเอกชน 1,000 ล้านบาท คาดว่า จะสามารถประหยัดงบประมาณการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้ราว 3,000 ล้านบาท
“ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 เมษายน ครม.ได้เห็นชอบผ่าน พ.ร.บ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติด้วย และหลังจากนี้สธ.ยังจะมีนโยบายยกระดับสถาบันวัคซีนแห่งชาติเป็นสถาบันวัคซีนแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งใน 2 ปีแรก จะเร่งการผลิตวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักให้สำเร็จในปี 2556 และอีก 5 ปี จึงจะมีการพัฒนาวัคซีนที่เหลือ ส่วนโรงงานผลิตวัคซีนนั้น จะมีทั้งแบบอุตสาหกรรม และกึ่งอุตสาหกรรม โดยใช้โรงงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สถานเสาวภา สภากาชาดไทย” นายจุรินทร์ กล่าว
ด้าน นพ.สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์ฯได้เตรียมพร้อมจัดตั้งคลังเก็บเชื้อเพื่อผลิตวัคซีนแห่งใหม่ คาดว่า จะใช้พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะของบประมาณในการพัฒนาปี 2555 และในระหว่างนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ คาดว่า หากไม่มีปัญหาอะไรจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 3 ปี โดยคลังเก็บเชื้อดังกล่าว จะทำการรวบรวมเชื้อทุกชนิดสำหรับการผลิตวัคซีนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ โดยจะเป็นคลังเก็บเชื้อแห่งเดียวของประเทศ หากหน่วยงานใดต้องการผลิตวัคซีนจะต้องมาขอเชื้อตั้งต้นจากกรมวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คลังเก็บเชื้อจะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ฯ ในพื้นที่ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีการขยาย โดยจะมีการก่อตั้งใหม่ แต่มีมาตรฐานเหมือนเดิม โดยเชื้อทุกชนิดถูกเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม จึงไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพ
อนึ่ง วัคซีนที่จะทำการผลิต ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โรคตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันวัณโรค วัคซีนป้องกันไอกรนชนิดเซลล์ ป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี ป้องกันไข้เลือดออก วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น