“จุรินทร์” เผย สธ.กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสารกัมมันตรังสีอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นเพิ่ม 2 เรื่อง คาดจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ เผยผลการตรวจอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นถึง 6 เม.ย.รวม 227 ตัวอย่าง พบอยู่ในเกณฑ์ปกติ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับมาตรการการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังกำหนดเกณฑ์มาตรฐานใหม่เพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง คือ 1.จะกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนรังสี ได้แก่ ซีเซียม 134, ซีเซียม 137 และไอโอดีน 131 เพื่อให้มีความเหมาะสมว่าการปนเปื้อนรังสีต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดเท่าใด โดยวันนี้คณะกรรมการอาหารและยาจะประชุมพิจารณาเรื่องนี้ 2.จะมีการออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อที่จะบังคับใช้ในการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นที่ด่าน อย.ทุกแห่ง
“สำหรับแนวทางที่จะออกเป็นระเบียบใหม่ ก็คือ จะควบคุมผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์เป็นหลัก โดยระบุ ผักผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจาก 12 จังหวัด บนเกาะฮอนชู และรอบๆ จ.ฟูกูชิมะ และโตเกียว จะต้องมีใบรับรองการตรวจสารกัมมันตรังสีกำกับมาด้วย โดยแล็บที่ อย.ยอมรับ จะต้องเป็นแล็บที่ได้ไอเอสโอ (ISO) 17025 จากประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีใบรับรองกำกับมาด้วย อย.ก็จะยังคงมาตรการสุ่มตรวจต่อไป และทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องออกเป็นระเบียบอย.และออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่า ในวันจันทร์นี้จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป” นายจุรินทร์ กล่าว
สำหรับการผลการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 16 มีนาคม-6 เมษายน 2554 จำนวน 28 รายการ รวม 227 ตัวอย่าง ทราบผลตรวจแล้ว 156 ตัวอย่าง ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังรอผลอีก 71 ตัวอย่าง อาทิเช่น ปลาสด 130 ตัวอย่าง ทราบผล 95 ตัวอย่าง รอผล 35 ตัวอย่าง 7 ตัวอย่าง ทราบผล 2 ตัวอย่าง รอผล 15 ตัวอย่าง แป้ง 12 ตัวอย่าง ทราบผลทั้งหมด หอย 10 ตัวอย่าง ทราบผล 8 ตัวอย่าง รอผล 2 ตัวอย่าง เป็นต้น
อนึ่ง 12 จังหวัดของญี่ปุ่นที่ระเบียบใหม่จะควบคุมผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์นำเข้า ได้แก่ ฟูกูชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และชิบะ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับมาตรการการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังกำหนดเกณฑ์มาตรฐานใหม่เพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง คือ 1.จะกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนรังสี ได้แก่ ซีเซียม 134, ซีเซียม 137 และไอโอดีน 131 เพื่อให้มีความเหมาะสมว่าการปนเปื้อนรังสีต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดเท่าใด โดยวันนี้คณะกรรมการอาหารและยาจะประชุมพิจารณาเรื่องนี้ 2.จะมีการออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อที่จะบังคับใช้ในการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นที่ด่าน อย.ทุกแห่ง
“สำหรับแนวทางที่จะออกเป็นระเบียบใหม่ ก็คือ จะควบคุมผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์เป็นหลัก โดยระบุ ผักผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจาก 12 จังหวัด บนเกาะฮอนชู และรอบๆ จ.ฟูกูชิมะ และโตเกียว จะต้องมีใบรับรองการตรวจสารกัมมันตรังสีกำกับมาด้วย โดยแล็บที่ อย.ยอมรับ จะต้องเป็นแล็บที่ได้ไอเอสโอ (ISO) 17025 จากประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีใบรับรองกำกับมาด้วย อย.ก็จะยังคงมาตรการสุ่มตรวจต่อไป และทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องออกเป็นระเบียบอย.และออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่า ในวันจันทร์นี้จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป” นายจุรินทร์ กล่าว
สำหรับการผลการตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ 16 มีนาคม-6 เมษายน 2554 จำนวน 28 รายการ รวม 227 ตัวอย่าง ทราบผลตรวจแล้ว 156 ตัวอย่าง ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังรอผลอีก 71 ตัวอย่าง อาทิเช่น ปลาสด 130 ตัวอย่าง ทราบผล 95 ตัวอย่าง รอผล 35 ตัวอย่าง 7 ตัวอย่าง ทราบผล 2 ตัวอย่าง รอผล 15 ตัวอย่าง แป้ง 12 ตัวอย่าง ทราบผลทั้งหมด หอย 10 ตัวอย่าง ทราบผล 8 ตัวอย่าง รอผล 2 ตัวอย่าง เป็นต้น
อนึ่ง 12 จังหวัดของญี่ปุ่นที่ระเบียบใหม่จะควบคุมผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์นำเข้า ได้แก่ ฟูกูชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และชิบะ