สั่ง อย.ออกระเบียบเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี เพิ่มกฎเข้มบังคับให้พืชผัก-ผลไม้ นำเข้าจาก 12 จังหวัด บนเกาะฮอนชู และรอบๆ ฟูกูชิมะ-โตเกียว ต้องมีใบรับรองผลการตรวจสารกัมมันตรังสีกำกับด้วย คาดดีเดย์ 6 เม.ย.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ ว่า จากที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่ประเทศญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ติดตามเฝ้าระวังอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้เก็บอาหารส่งตรวจตั้งแต่ 16 มีนาคม - 4 เมษายน 2554 ส่งตรวจ 204 ตัวอย่าง ได้รับผลแล้ว 141 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ที่ส่งตรวจเป็นปลาสดมากที่สุด 115 ตัวอย่าง ได้รับผล 89 ตัวอย่าง รอผล 26 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นกุ้ง หอย ปลาหมึก สาหร่าย และสตรอเบอร์รี่
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้ให้ อย.ออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา ว่าด้วยมาตรการการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี โดยให้อาหารที่มีต้นกำเนิดหรือส่งผ่านมาจากจังหวัดฟูกูชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และ ชิบะ ที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ อย.กำหนด พร้อมกับต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการของรัฐหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองไอเอสโอ 17025 (ISO17025) โดยแจ้งด่านนำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
“ส่วนอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากพื้นที่ที่ได้ประกาศไป 12 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์ ที่มีการเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงในเขตดังกล่าวจากรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการเฝ้าระวัง และมีการประกาศ ว่า มีการปนเปื้อนอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองผลการตรวจจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็จะต้องมีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยมาตรการใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ ว่า จากที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่ประเทศญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ติดตามเฝ้าระวังอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยได้เก็บอาหารส่งตรวจตั้งแต่ 16 มีนาคม - 4 เมษายน 2554 ส่งตรวจ 204 ตัวอย่าง ได้รับผลแล้ว 141 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ที่ส่งตรวจเป็นปลาสดมากที่สุด 115 ตัวอย่าง ได้รับผล 89 ตัวอย่าง รอผล 26 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นกุ้ง หอย ปลาหมึก สาหร่าย และสตรอเบอร์รี่
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังได้ให้ อย.ออกระเบียบสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา ว่าด้วยมาตรการการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี โดยให้อาหารที่มีต้นกำเนิดหรือส่งผ่านมาจากจังหวัดฟูกูชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยากิ ยามากาตะ นิอิกาตะ นากาโนะ ยามานาชิ ไซตามะ โตเกียว และ ชิบะ ที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ อย.กำหนด พร้อมกับต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการของรัฐหรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองไอเอสโอ 17025 (ISO17025) โดยแจ้งด่านนำเข้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
“ส่วนอาหารที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นอกจากพื้นที่ที่ได้ประกาศไป 12 จังหวัด ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดของสินค้า ประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม และเนื้อสัตว์ ที่มีการเพาะปลูกและเพาะเลี้ยงในเขตดังกล่าวจากรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่ได้มีการเฝ้าระวัง และมีการประกาศ ว่า มีการปนเปื้อนอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองผลการตรวจจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็จะต้องมีการสุ่มตรวจอาหารนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นต่อไป โดยมาตรการใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป” นายจุรินทร์ กล่าว